นิพพานเป็นอนัตตา

นิพพาน ไม่ใช่ปัญหาอภิปรัชญา

         ที่พูดไปแล้วนั้นเป็นเรื่องความสำคัญของพระไตรปิฎก ต่อไปนี้ย้อนกลับไปพูดเรื่องนิพพานไม่ใช่ปัญหา อภิปรัชญา          เอกสารของวัดพระธรรมกาย กล่าวไว้ว่า
         " . . .
เรื่องซึ่งอยู่พ้นเกินกว่าประสบการณ์ของปุถุชนคนสามัญจะไปถึงหรือเข้าใจได้ เช่น เรื่องนรก
สวรรค์ กฎแห่งกรรม นิพพาน ที่ท่านเรียกว่าเป็นเรื่องอภิปรัชญา หรือเรื่องที่เป็นอจินไตยนั้น หลายๆ
เรื่อง เช่น เรื่องนิพพาน ในทางวิชาการสามารถตีความได้หลายนัย"
         คำกล่าวนั้นไม่ถูกต้อง เพราะนิพพานไม่ใช่ทั้งเรื่องอจินไตย และก็ไม่ใช่เรื่องปัญหาอภิปรัชญาด้วย          อจินไตยมี 4 อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสแสดงว่า
         "ภิกษุทั้งหลาย อจินไตยมี 4 อันไม่พึงคิด (ไม่ได้หมายความว่าห้ามคิด แต่ถ้าคิด จะคิดไม่ออก คือเป็น สิ่งที่ไม่สำเร็จด้วยการคิด หรือไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการคิด) ซึ่งเมื่อคิด จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า จิตเครียด
ไปเปล่า 4 อย่างนั้น คือ
         1. พุทธวิสัย
         2. ฌานวิสัย
         3. กรรมวิบาก
หรือวิบากแห่งกรรม และ
         4. โลกจินตา ความคิดเกี่ยวกับเรื่องโลก" (องฺ.จตุกฺก. 21/77/104)
         
นิพพานไม่อยู่ในอจินไตย 4 นี้ และก็ไม่ได้เป็นปัญหา metaphysics หรือ อภิปรัชญา
        ปัญหา metaphysics หรือ อภิปรัชญานั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ คือไม่ทรงตอบ
หรือ ไม่ทรงเสียเวลาที่จะพยายามทำให้กระจ่างแต่นิพพานนั้น ตรงข้ามกับปัญหา metaphysics เลยที
เดียว
เรื่องนี้เป็นอย่างไรจะไม่ต้องบรรยายยาว ขอให้มาดูคำสอนของพระพุทธเจ้า เรื่องมีว่า
         ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นครสาวัตถี ในวัดพระเชตวัน พระภิกษุชื่อ มาลุงกยบุตร ได้เกิด ความคิด
ขึ้นมาว่า มีแง่ทิฐิที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ คือ เรื่องโลกเที่ยง หรือไม่เที่ยง (โลกในที่นี้คือ จักรภพ หรือ มวลแห่งทุกสิ่งทุก
อย่างที่แวดล้อมตัวมนุษย์เราอยู่) โลกหรือจักรภพนี้มีที่สุด หรือไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอัน เดียวกัน หรือชีวะก็อย่าง
หนึ่งสรีระก็อย่างหนึ่ง ตถาคตหลังจากมรณะแล้วมีอยู่ หรือว่าตถาคตหลังจากมรณะแล้ว ไม่มี หรือว่าตถาคตหลังมรณะ
มีอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่มีอยู่ก็ไม่ใช่ จึงคิดว่าจะไปกราบทูลพระพุทธเจ้าขอให้ทรงตอบ ถ้าพระพุทธเจ้าตรัสตอบก็จะอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ต่อไป แต่ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ตรัสตอบก็จะบอกคืน (ลาสิกขา) เสร็จแล้วก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลความคิด
ของตนอย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ถ้าพระพุทธเจ้าตอบก็จะอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป แต่ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ตอบก็จะ
บอกคืนสิกขา (คือจะลาสึก)
         พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามว่า มาลุงกยบุตร เราได้กล่าวหรือเปล่าว่า มาลุงกยบุตร เธอมานี่นะ มาประพฤติ
พรหมจรรย์ เราจะตอบเรื่องโลกมีที่สุดหรือไม่มีที่สุด เป็นต้นนี้ มาลุงกยบุตรก็กราบทูลว่า พระพุทธเจ้า ไม่ได้ตรัสอย่างนั้น แล้วพระพุทธเจ้าก็ตรัสถามต่อไปว่า แล้วเธอเองล่ะได้บอกเราไว้ไหมว่า เธอจะประพฤติพรหมจรรย์แล้วให้เราตอบเรื่องโลก
เที่ยงหรือโลกไม่เที่ยงนี้ มาลุงกยบุตรก็กราบทูลว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น พระ พุทธเจ้าก็ตรัสว่าแล้วอย่างนี้ใครจะเป็นคนบอก
คืนใครล่ะ แล้วพระองค์ก็ตรัสว่า
         ถ้าใครจะพูดว่า ข้าพเจ้าจะไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า ตราบใดที่พระผู้มี พระภาคเจ้าไม่พยากรณ์ (ไม่ตอบ/ไม่ทำให้กระจ่าง) เรื่องโลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยงเป็นต้นนี้ ถึงคนนั้นจะตาย พระตถาคตก็ยังไม่ได้ตอบ/ยังไม่ได้ทำให้กระจ่าง แล้วพระองค์ก็ตรัสอุปมาว่า
         เปรียบเหมือนว่า คนผู้หนึ่งถูกเขายิงด้วยลูกศรอาบยาพิษที่ร้ายแรง เพื่อนๆ ญาติมิตรสหายก็พาหมอผ่า ตัดมา คนที่ถูกลูกศรนั้นก็บอกว่า ข้าพเจ้าจะไม่ยอมให้ผ่าตัดเอาลูกศรนี้ออก จนกว่าข้าพเจ้าจะรู้ว่าใครเป็นคนยิง ข้าพเจ้า เขาเป็นคนวรรณะกษัตริย์ หรือพราหมณ์ หรือแพศย์ หรือศูทร มีชื่อมีแซ่ว่าอย่างไร เป็นคนสูง เป็นคนร่าง เตี้ย หรือสันทัด เป็นคนดำ หรือคนคล้ำ เขาอยู่หมู่บ้าน นิคม นครไหน และธนูที่ใช้ยิงนี้ เป็นแบบไหน ชนิดไหน หัว ลูกศรทำด้วยอะไร สายธนูทำด้วยอะไร ปลายธนูติดขนนกชนิดไหน ดังนี้ เป็นต้น กว่าคนนั้นจะรู้สิ่งที่เขาถามเหล่า นี้ เขาก็ตายเสียก่อนแล้ว เหมือนกับคนที่มาบวชนี้ ถ้าจะรอให้พระพุทธเจ้าตรัสตอบคำถามอภิปรัชญาเหล่านี้ พระองค์ยังไม่ทัน ได้ตอบให้เขารู้กระจ่าง เขาก็ตายไปก่อนแล้ว
          ไม่ว่าจะมีทิฏฐิว่าโลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ การครองชีวิตประเสริฐก็หาได้เกิดมีขึ้นไม่ ถึงจะมีทิฏฐิ เหล่านี้
หรือไม่ ทุกข์ของคนก็ยังมีอยู่นั่นเอง และทุกข์เหล่านี้แหละคือสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์จะแก้ไขให้เสร็จสิ้น ไปในปัจจุบัน
ฉะนั้น อะไรที่ไม่ทรงพยากรณ์ก็ให้รู้ว่าไม่ทรงพยากรณ์ และอะไรที่ทรงพยากรณ์ก็ให้รู้ว่าทรงพยากรณ์
         เรื่องอย่างที่ว่ามานั้น เป็นปัญหาอภิปรัชญา คือคำถามที่ว่าโลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง มีที่สุดหรือไม่มีที่สุด เป็นต้นนั้น พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เพราะอะไรจึงไม่ทรงพยากรณ์ ก็ตรัสตอบไว้ว่า
         "นี่แน่ะมาลุงกยบุตร ถึงจะมีทิฏฐิว่า โลกเที่ยง (คงอยู่ตลอดไป) การครองชีวิตประเสริฐจะได้มีขึ้นก็หาไม่ ถึงจะ
มีทิฏฐิว่า โลกไม่เที่ยง การครองชีวิตประเสริฐจะได้มีขึ้นก็หาไม่ . . . ถึงจะมีทิฏฐิว่าโลกเที่ยง หรือโลกไม่ เที่ยง ความเกิด
แก่ เจ็บ ตาย โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ความผิดหวังคับแค้นใจ) ก็ยังคงมีอยู่ อันเป็น ทุกข์ที่เราบัญญัติให้แก้ไข
เสียในปัจจุบันนี้ทีเดียว . . ."
         "
อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์? ทิฏฐิว่าโลกเที่ยง . . . โลกไม่เที่ยง . . . โลกมีที่สุด . . . โลกไม่มีที่สุด
. . . ฯลฯ . . . เราไม่พยากรณ์ . . . เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งชีวิตประเสริฐ ไม่เป็นไปเพื่อ นิพพิทา วิราคะ นิโรธ สันติ อภิญญา ความตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน"
         "อะไรเล่าที่เราพยากรณ์? เราพยากรณ์(ตอบ/ทำให้กระจ่าง)ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์)
นี้ ทุกขนิโรธ (ความดับแห่งทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับทุกข์) . . . เพราะประกอบ ด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งชีวิตประเสริฐ เป็นไปเพื่อนิพพิทา วิราคะ นิโรธ สันติ
อภิญญา ความตรัสรู้ นิพพาน"
(ม.ม.13/151-2/150-2)
         จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนหรือทรงพยากรณ์ เรื่องที่จะทำให้ดับทุกข์ได้ คือนิพพานนี้ และ
นิพพาน ก็อยู่ในข้อทุกขนิโรธ ซึ่งเป็นเรื่องที่ตรัสโดยตรง
และเป็นเรื่องตรงข้ามกับอภิปรัชญา
         เพราะฉะนั้น
นิพพานสำหรับชาวพุทธ ไม่ใช่เรื่องอภิปรัชญา แต่นักปรัชญาอาจจะเอาเรื่องนิพพานนี้ไป ถกเถียงในแง่ของปรัชญาของเขาก็ได้ ส่วนใครจะไปร่วมวงถกเถียงเรื่องนิพพานในแง่อภิปรัชญา กับนักปรัชญาก็ แล้วแต่ แต่ถ้ามัวถกเถียงอยู่ก็ไม่ได้ปฏิบัติ และก็ไม่บรรลุนิพพาน
        นิพพานเป็นเรื่องของความไร้ทุกข์ ภาวะที่ปราศจากปัญหา หรือภาวะที่ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ภาวะ แห่งความสงบ สันติ อิสรภาพ เป็นความบริสุทธิ์ เป็นความสะอาด สว่าง สงบ ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันความเป็น จริงของสังขาร หรือโลกและชีวิต ที่เป็นอยู่เฉพาะหน้าตลอดเวลานี้

แหล่งความรู้ที่ชัดเจนมีอยู่ ก็ไม่เอา กลับไปหาทางเดาร่วมกับพวกที่ยังสับสน

         ต่อไป เอกสารของวัดพระธรรมกายเขียนไว้ว่า
        "เรื่องอัตตาและอนัตตานี้ เป็นเรื่องหนึ่งที่มีการถกเถียงกันมากตั้งแต่ยุคโบราณหลังพุทธกาล
เป็นต้นมา และมีมาตลอดประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาแม้ในยุคปัจจุบันก็มีนักวิชาการพระพุทธศาสนา
ทั้งในดินแดน ตะวันตก เช่น ยุโรป อเมริกา และทางตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ถกเถียงกันมาก ประเด็นที่ถกเถียงกันก็มี หลากหลายเช่น . . . "
         ข้อความนี้ถ้าจะให้ถูกต้องและชัดเจน ควรจะพูดใหม่ว่า
        "เรื่องอัตตานี้ การยึดถือกันมามากตั้งแต่ก่อนพุทธกาล โดยเฉพาะในลัทธิศาสนาพราหมณ์ และหลังพุทธกาลแล้วศาสนาฮินดูก็ได้พยายามทำให้มั่นคงยิ่งขึ้น เห็นได้จากหลักเรื่องพรหมัน-อาตมัน หรือปรมาตมัน- ชีวาตมัน แต่ในพุทธศาสนานั้นท่านมีท่าทีที่ชัดเจน คือไม่ยอมรับทฤษฎีอัตตาด้วยประการใดๆ คือ ไม่ยอมรับ อัตตาโดยปรมัตถ์ ซึ่งเป็นท่าทีที่ชัดเจนอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นจึงต้องระวังไม่ให้ลัทธิภายนอก และลัทธิเดิมก่อน พุทธกาลที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธแล้วนั้น กลับแทรกแซงเข้ามา "
         การที่จะยืนยันหลักพุทธศาสนานี้ไว้ได้ จะต้องมีความเข้มแข็งมาก เพราะว่า
         
1. ลัทธิอาตมัน/อัตตาเดิม ก็มีอิทธิพลมากอยู่แล้ว
         2. เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก บุคคลที่เข้ามาในพระพุทธศาสนา แม้มาบวชก็อาจจะนำเอาความคิดเห็นที่ผิด เข้ามาได้
        ลัทธิถืออัตตาว่ามีจริงนี้
ท่านผู้รักษาพระธรรมวินัยในอดีตถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องระวังไม่ให้ แทรกหรือแปลกปลอมเข้ามาในพระพุทธศาสนา
เพราะเป็นลัทธิที่มีกำลังครอบงำสังคมชมพูทวีปอยู่ก่อน
พระพุทธศาสนา เป็นหลักการใหญ่ที่ตรงข้ามกันอยู่ระหว่างพระพุทธศาสนาลัทธิศาสนาเก่า ซึ่งเขาจะต้อง
พยายามแผ่อิทธิพลเข้ามา และเป็นสภาพความเชื่อของมนุษย์ที่แวดล้อมพระพุทธศาสนาอยู่ตลอดมา
         พูดง่ายๆ ว่า พระพุทธศาสนาทั้งทวนกระแสทิฏฐิของลัทธิศาสนาที่มีอิทธิพลใหญ่ และทวนกระแสกิเลส ในใจของมนุษย์ปุถุชน
       อย่างไรก็ตาม พระเถระในอดีตท่านก็มั่นคงยิ่งในหลักการของพระธรรมวินัย
ดังที่ปรากฏว่า หลังจาก พุทธกาลไม่นาน ประมาณ พ.ศ. 235 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระสงฆ์มี พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ
เป็น ประธาน ได้ปรารภเรื่องทิฐิความเห็นแตกแยกแปลกปลอมเข้ามาในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีจำนวนมากมาย แยก กันไปถึง 18 นิกาย ซึ่งจะต้องแก้ไข จึงได้จัดการสังคายนาครั้งที่ 3
ขึ้นในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช
         ในการสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้รวบรวมคำวินิจฉัยขึ้นมาคัมภีร์หนึ่งชื่อว่า กถา วัตถุ อยู่ในพระอภิธรรมปิฎก พิมพ์เป็นพระไตรปิฎกบาลีอักษรไทยเล่มที่ 37 ซึ่งประมวลเอาความเห็นแตกแยก แปลกปลอม
มาตั้งขึ้น 219 หัวข้อ แล้วท่านก็กล่าวแก้
         เรื่องการถืออัตตานี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง ที่เป็นข้อปรารภในการที่ให้ต้องสังคายนา ถึงกับจัด
เป็นหัวข้อแรกของ กถาวัตถุ นี้ เรียกว่า
" ปุคคลกถา "
       คำว่า ปุคคละ ใน " ปุคคลกถา " นี้ ท่านใช้แทนคำทั้งหมดที่เกี่ยวกับการถืออัตตา
อย่างที่ในภาษาไทย ในวงการธรรมเราพูดกันอยู่เสมอจนติดปากว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ดังที่ท่านให้ความหมายไว้ว่า
         ตตฺถ ปุคฺคโลติ อตฺตา สตฺโต ชีโว
(ปญฺจ.อ. 129)
          แปลว่า: "
ในพระบาลีนั้น คำว่าบุคคล ได้แก่ อัตตา สัตว์ ชีวะ "
          และคำว่า
"อนัตตา" ท่านก็ให้ความ หมายไว้ด้วยว่า
         อนตฺตาติ อตฺตนา ชีเวน ปุคคเลน รหิโต (ปญฺจ.อ. 158)
          แปลว่า:
" อนัตตา หมายความว่า ปราศจากอัตตา ปราศจากชีวะ ปราศจากบุคคล "
          พวกปุคคลวาที ซึ่งถือว่า บุคคล หรืออัตตา หรือสัตว์ หรือชีวะ มีจริงโดยปรมัตถ์นี้ ท่านแนะนำให้
รู้จักใน อรรถกถาว่า
         เก ปน ปุคคลวาทิโนติ สาสเนว วชฺชิปุตฺตกา เจว สมิติยา จ พหิทฺธา จ พหู อญฺญติตฺถิยา
(ปญจ. อ. 129)

         แปลว่า:
"ชนเหล่าไหนเป็นปุคคลวาที ตอบว่า ในพระศาสนาเองได้แก่พวกภิกษุวัชชีบุตร
และพวก นิกายสมิติยะ และภายนอกพระศาสนาได้แก่ อัญญเดียรถีย์จำนวนมาก "
         การที่ยกเรื่องกถาวัตถุขึ้นมาก็เพื่อให้เห็นว่า
         1. เรื่องนิพพานเป็นอัตตาหรือเป็นอนัตตา และการถืออัตตาในรูปแบบต่างๆ นั้น
             
ก) หลักการของเถรวาทมีความชัดเจน และได้ปฏิเสธไว้แน่นอนแล้วว่า อัตตาไม่มี จริงโดย ปรมัตถ์ มีเพียงโดยสมมติ
             ข) ท่านถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะไม่ทิ้งไว้ให้สาวกหรือศาสนิกทั้งหลายจะต้องมาคิด เห็น และถกเถียงกันวุ่นวายไป
         2. เป็นการชี้ให้เห็นว่า เรื่องอย่างนี้ที่มีการถกเถียงกันนั้น พระเถระผู้ดำรงพระศาสนา ท่านมีความ ตระหนักรู้กันอยู่ตลอดมาว่าอะไรเกิดขึ้น และเป็นเรื่องที่ท่านแสดงไว้ชัดเจนแล้ว ท่านรู้มาเนิ่นนานในเรื่องการถือ ความเห็นแตกแยกแปลกปลอม ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยหลังพุทธกาล เพราะสืบเนื่องมาจากลัทธิเก่าก่อนด้วย และ ท่านก็แยกไว้ชัดเจนแล้ว เพราะฉะนั้นถึงเราจะไปพบเห็นคัมภีร์ หรือแนวคิดทิฐิอะไรเกี่ยวกับเรื่องอัตตาอีก ก็ให้รู้ ว่าเป็นเพียงหลักฐานยืนยันสิ่งที่ท่านได้ชำระสะสางไว้นานมาแล้ว
       ในขณะที่หลักการของพระพุทธศาสนาที่ตนบวชเข้ามาชัดเจนแน่นอนอยู่แล้ว เอกสารของวัดพระธรรมกาย กลับจะให้รอไปหวังพึ่งคนภายนอก ที่ท่านปฏิเสธไปแล้วบ้าง ที่เขายังอยู่ในระหว่างศึกษาคลำหาทางอยู่บ้าง

พระพุทธเจ้าตรัสไว้แน่นอนเด็ดขาด ว่าลัทธิถืออัตตา ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

         การปฏิเสธเรื่องอัตตาท่านถือเป็นเรื่องสำคัญเพียงไร จะเห็นได้จากการที่ท่านยกขึ้นตั้งเป็นปัญหาแรก ในคัมภีร์กถาวัตถุนี้ และอุทิศเนื้อที่ให้มากเป็นพิเศษ ดังเนื้อความภาษาบาลีอักษรไทย พิมพ์ในพระไตรปิฎกยาว ถึง 83 หน้า          จะยกตัวอย่างพุทธพจน์ที่ท่านอ้างไว้ใน "ปุคคลกถา" มาแสดงให้เห็นหลักการเกี่ยวกับเรื่องอัตตา ๓ แบบ ว่าอย่างไหนไม่ใช่พุทธศาสนา อย่างไหนเป็นพุทธศาสนาดังนี้
         ตโยเม เสนิย สตฺถาโร สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมึ . . . ตตฺร เสนิย ยฺวายํ สตฺถา ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม
อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต ปญฺญเปติ, อภิสมฺปรายญฺจ อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต ปญฺญเปติ; อยํ วุจฺจติ เสนิย สตฺถา สสฺสตวา โท.
         ตตฺร เสนิย ยฺวายํ สตฺถา ทิฏฺเฐว หิ โข ธมฺเม อตฺตานํ สจฺจเถตโต ปญฺญเปติ, โน จ โข อภิสมฺปรายํ
อตฺตา นํ สจฺจโต เถตโต ปญฺญเปติ; อยํ วุจฺจติ สตฺถา อุจฺเฉทวาโท.
         ตตฺร เสนิย ยฺวายํ สตฺถา ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต น ปญฺญเปติ, อภิสมฺปรายญฺจ
อตฺตา นํ สจฺจโต เถตโต น ปญฺญเปติ; อยํ วุจฺจติ เสนิย สตฺถา สมฺมาสมฺพุทฺโธ.
(อภิ.ก. 37/188/82 และ อภิ.ปุ 36/103/179)
         แปลว่า: "ดูกรเสนิยะ ศาสดา ๓ ประเภทนี้มีปรากฏอยู่ในโลก . . . ในศาสดา 3 ประเภทนั้น
         
1. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นสัสสตวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าเที่ยง)
          2. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ เฉพาะในปัจจุบัน ไม่บัญญัติ เช่นนั้นในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นอุจเฉทวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าขาดสูญ )
          3. ศาสดาที่ไม่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้อง หน้า นี้เรียกว่าศาสดาผู้สัมมาสัมพุทธะ "
          โดยเฉพาะลัทธิมิจฉาทิฐิที่เรียกว่าสัสสตวาทนั้น อรรถกถาได้อธิบายไว้อีกว่า
          อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต ปญฺญเปติ: อตฺตา นาเมโก อตฺถิ นิจฺโจ ธุโว สสฺสโตติ ภูตโต ถิร โต ปญฺญเปติ (ปญฺจ.อ.83)
          แปลว่า:
"ข้อความว่า บัญญัติอัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้
หมายความว่า (ศาสดาที่เป็นสัสสตวาท) บัญญัติโดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของมั่น
คงว่า มีภาวะอย่างหนึ่งที่ เป็นอัตตา ซึ่งเที่ยง (นิจจะ) คงที่ (ธุวะ) ยั่งยืน (สัสสตะ)"
         ถ้าจะพูดกันให้ชัดลงไป ตามหลักการของพระพุทธศาสนานั้น ไม่มีเรื่องอัตตาที่จะเลยขึ้นมาให้มา พิจารณาในขั้นว่า นิพพานเป็นอัตตาหรือไม่ด้วยซ้ำ คือเรื่องอัตตานั้นจบไปตั้งแต่ขั้นพิจารณาเรื่องขันธ์ 5 ว่าไม่เป็นอัตตา แล้วก็จบ คือท่านถือว่าอัตตาซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้แทนกันได้กับ ชีวะ หรือสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขานี้ เป็น คำที่มีโดยสมมติ เป็นภาษาสำหรับสื่อสารกันเท่านั้น และในภาษาบาลี
ของพุทธศาสนาเถรวาท คำว่า "อัตตา/ตัว ตน" นั้นก็ใช้ในความหมายที่เป็นสมมติทั้งหมด ถ้าอ่านพุทธศาสนาด้วยความเข้าใจอย่างนี้ก็ไม่มีปัญหาเรื่อง อัตตา ที่จะต้องมาพิจารณากันเลย
ในขั้นปรมัตถ์
         ขอย้ำว่า ไม่มีเรื่องอัตตาที่จะพิจารณาขึ้นมาถึงขั้นว่านิพพาน เป็นอัตตาหรือไม่ เพราะมันจบไปก่อน หน้านั้นแล้ว

พระไตรปิฎกและอรรถกถาระบุว่า นิพพานเป็นอนัตตา

         อย่างไรก็ตาม เมื่อยังจะยืนยันให้ได้ว่า นิพพานเป็นอัตตา ท่านก็ให้หลักการที่ชัดเจนไว้ สำหรับเอามา ใช้เป็น
หลักฐาน ที่จะแสดงว่านิพพานเป็นอนัตตา
         ขอย้ำอีกว่า การชี้แจงต่อไปนี้ เป็นการนำหลักฐานมาแสดง ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ซึ่งบันทึกไว้ใน พระไตรปิฎก พร้อมทั้งคำอธิบายประกอบในอรรถกถา ไม่ใช่เป็นเรื่องของความคิดเห็น หรือแม้แต่ตีความ ถ้าที่ใด เป็นความคิดเห็นก็
จะเขียนบอกหรือวงเล็บไว้ด้วย ว่าเป็นความคิดเห็น แต่คิดว่าจะไม่มีเรื่องความคิดเห็น อย่าง มากก็มีเพียงคำอธิบายประกอบ
         คำอธิบายประกอบก็คือ การขยายความหมายของคำออกไปตามหลักที่มีอยู่แล้ว เช่น ถ้ามีหลักฐาน กล่าวถึง
อริยสัจจ์ 4 หาก กลัวว่าคนทั่วไปจะไม่เข้าใจก็อาจจะวงเล็บไว้ว่า (คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) อย่างนี้ เป็นต้น นี้ถือเป็นการอธิบาย ไม่ใช่ความเห็น
         ขอสรุปให้ว่า
         
- ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เริ่มแต่พระไตรปิฎก และอรรถกถา ไม่มีหลักฐานในคัมภีร์
ใดเลยที่กล่าวถ้อย คำระบุลงไปว่านิพพานเป็นอัตตา
         - แต่หลักฐานในคัมภีร์ที่ระบุลงไปว่านิพพานเป็นอนัตตานั้นมี และมีหลายแห่ง
         ขอให้ทำความเข้าใจกันไว้ก่อนว่า ที่ว่านิพพานเป็นอนัตตา คำว่า "เป็นอนัตตา" นั้น เป็นการทับศัพท์ บาลีเพื่อความสะดวกในการกำหนดหมาย โดยสาระก็คือเป็นการปฏิเสธอัตตา มิใช่หมายความว่า มีอะไรอย่าง หนึ่งที่เรียกชื่อว่าเป็นอนัตตา (จะแปลอนัตตานี้ว่า ไม่ใช่อัตตา ไม่เป็นอัตตา หรือไม่มีอัตตา ก็ไม่ต้องเถียงกัน อยู่ที่ ความเข้าใจให้ชัด แต่เมื่อว่าโดยสาระก็คือ เป็นการปฏิเสธความเป็นอัตตา)
         หลักฐานในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ที่ระบุว่านิพพานเป็นอนัตตา มีมากแห่ง ในที่นี้จะยกมาพอเป็น
         ตัวอย่าง
         
1. ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 8 มีคำสรุประบุชัดไว้ ดังนี้ว่า
         อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา
        นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา ฯ (วินย. 8/826/224)
         แปลว่า:
"สังขารทั้งปวง อันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและ
บัญญัติเป็น อนัตตา
วินิจฉัยมีดังนี้ "
          คัมภีร์วิมติวิโมทนีได้อธิบายข้อความในคาถาสรุปนี้ไว้ว่า
         ปาฬิยํ นิพฺพานญฺเจว ปญฺญตฺตีติ เอตฺถ ยสฺมา สงฺขตธมฺเม อุปาทาย ปญฺญตฺตา สมฺมุติสจฺจภูตา ปุคฺคลาทิปญฺญตฺติ ปรมตฺถโต อวิชฺชมานตฺตา อุปฺปตฺติวินาสยุตฺตวตฺถุธมฺมนิยเตน อนิจฺจทุกฺข-ลกฺขณทฺว เยน ยุตฺตาติ วตฺตุํ อยุตฺตา, การกเวทกาทิรูเปน ปน ปริกปฺปิเตน อตฺตสภาเวน วิรหิตตฺตา " อนตฺตา "ติ วตฺตุํ ยุตฺตา.          ตสฺมา อยํ ปญฺญตฺติปิ อสงฺขตตฺตสามญฺญโต วตฺถุภูเตน นิพฺพาเนน สห " อนตฺตา อิ ติ นิจฺฉยา " ติ วุตฺตา. อวิชฺชมานาปิ หิ สมฺมุติ เกนจิ ปจฺจเยน อกตตฺตา อสงฺขตา อวาติ (วิมติวิโนทนีฏีกา 2/351)
         แปลว่า: " ในข้อความนี้ว่า " นิพฺพานญฺเจว ปญฺญตฺติ " ในพระบาลี อธิบายความว่า ด้วยเหตุที่
บัญญัติมีบุคคลเป็นต้น อันเป็นสมมติสัจจะ ซึ่งท่านบัญญัติไว้โดยอาศัยสังขตธรรม เพราะเหตุที่เป็น สิ่งไม่มีจริงโดยปรมัตถ์ จึงไม่ควรจะกล่าวว่าประกอบด้วยลักษณะ 2 คือ อนิจจลักษณะ และทุกข ลักษณะ ซึ่งกำหนดด้วยสิ่งที่ประกอบด้วยอุบัติ และวินาศ (เกิด-ดับ) แต่ควรจะกล่าวว่าเป็นอนัตตา เพราะปราศจากสภาวะ
ที่เป็นอัตตา
อันกำหนดด้วยอาการที่เป็นผู้กระทำและเป็นผู้เสวยหรือรับผล เป็นต้น
         เพราะฉะนั้น แม้บัญญัตินี้ พร้อมด้วยนิพพานซึ่งเป็น สิ่งที่มีอยู่ ท่านกล่าวว่า "วินิจฉัยว่าเป็น อนัตตา" เพราะเสมอกันโดยความเป็นอสังขตะ
         จริงอยู่ สมมติแม้ไม่มีอยู่ ก็เป็นอสังขตะ เพราะไม่ถูกปัจจัยใดๆ กระทำขึ้น"
        (นิพพานเป็นอสังขตธรรมที่มีจริง ส่วนบัญญัติเป็นอสังขตะที่ไม่มีจริง เพราะฉะนั้นอสังขตธรรม
แท้จริงมี อย่างเดียว คือนิพพาน แต่ทั้ง 2 อย่างนั้นเป็นอนัตตา)
         2. หลักธรรมหมวดใหญ่ที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งชาวพุทธรู้จักกันดี คืออริยสัจจ์ 4 นิพพานก็อยู่ใน อริยสัจจ์ 4
ด้วย คือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่
อริยสัจจ์ข้อ 3 ที่เรียกว่า "นิโรธ" คำว่านิโรธนี้เป็น ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้กับ "นิพพาน" พระไตรปิฎกเล่ม 31 ระบุว่าอริยสัจจ์ 4 ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพาน ด้วยนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้
         อนตฺตฏฺเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . . นิโรธสฺส นิโรธฏฺโฐ อนตฺตฏฺโฐ. (ขุ.ปฏิ. 31/546/450)
         แปลว่า:
"สัจจะทั้ง 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีการตรัสรู้ด้วยกันเป็นอันเดียว (คือด้วยมรรค ญาณเดียวกัน) โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา . . . นิโรธมีความหมายว่าดับ(ทุกข์) ก็มีความหมายว่า เป็นอนัตตา "
         อรรถกถาอธิบายว่า
         อนตฺตฏฺเฐนาติ จตุนฺนมฺปิ สจฺจานํ อตฺตวิรหิตตฺตา อนตฺตฏฺเฐน. (ปฏิสํ.อ.2/229)
         แปลว่า: "คำว่า
'โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา' หมายความว่า โดยความหมายว่าเป็น อนัตตา เพราะสัจจะแม้ทั้ง 4 เป็นสภาวะปราศจาก อัตตา "
         3. อีกแห่งหนึ่ง ในพระไตรปิฎกเล่ม 31 คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ กล่าวไว้ว่า
         เอกสงฺคหิตาติ ทฺวาทสหิ อากาเรหิ สพฺเพ ธมฺมา เอกสงฺคหิตา ตถฏฺเฐน อนตฺตฏฺเฐน สจฺจฏฺเฐน . . . (ขุ.ปฏิ 31/242/155)
         แปลว่า: "ที่ว่ารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อธิบายว่า
ธรรมทั้งปวงรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยอาการ 12 คือ โดยอรรถว่าเป็นอย่างนั้น โดยอรรถว่าเป็นอนัตตา โดยอรรถว่าเป็นสัจจะ...."
         อรรถกถาอธิบายความตรงนี้ไว้ให้ชัดขึ้นว่า
         สพฺเพ ธมฺมา เอกสงฺคหิตา สงฺขตาสงฺขตธมฺมา เอเกน สงฺคหิตา ปริจฺฉินฺนา. ตถฏฺเฐนาติ ภูต ฏฺเฐน, อตฺตโน อตฺตโน สภาววเสน วิชฺชมานฏฺเฐนาติ อตฺโถ. อนตฺตฏฺเฐนาติ การกเวทกสงฺขาเตน อตฺต นา รหิตฏฺเฐน. (ปฏิสํ.อ. 1/343)
         แปลว่า:
"ธรรมทั้งหลายทั้งปวงสงเคราะห์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ ทั้ง สังขตธรรม (สังขาร/ขันธ์ 5) และ อสังขตธรรม (นิพพาน) สงเคราะห์ หมายความว่า กำหนดได้โดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
         ที่ว่า " โดยอรรถว่าเป็นอย่างนั้น " (ตถา) คือโดยอรรถว่า มีอยู่ หมายความว่า โดยอรรถว่า มีอยู่ ตามสภาพของมัน ๆ
         ที่ว่า " โดยอรรถว่าเป็นอนัตตา " คือโดยความหมายว่าปราศจากอัตตา ซึ่งนับว่าเป็นผู้ทำและผู้ เสวยหรือรับผล....
"
         
4. ในพระไตรปิฎกเล่ม 17 กล่าวถึงพุทธพจน์ว่า
         สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ (สํ.ข. 17/233)
         แปลว่า:
" สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา "
         อรรถกถา อธิบายว่า
         สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ สพฺเพ เตภูมกสงฺขารา อนิจฺจา. สพเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สพเพ จตุภูมกธมฺมา อนตฺตา (สํ.อ. 2/346)
          แปลว่า:
"พุทธพจน์ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงหมายความว่า สังขารในภูมิ 3 (กามาวจรภูมิ รู ปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ) ทั้งปวง ไม่เที่ยง
         พุทธพจน์ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา หมายความว่า ธรรมในภูมิ 4 (กามาวจร
ภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ คือมรรค ผล นิพพาน) ทั้งหมดทั้งปวงเป็นอนัตตา "
         5. อรรถกถาที่อธิบายเรื่องเหล่านี้ยังมีอีกมากมาย จะยกมาเพียงอีก 2-3 แห่งก็เพียงพอ ที่จริงเพียงแห่ง เดียวก็ต้องถือว่าพอ เพราะไม่มีที่ใดขัดแย้ง
         1) สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ นิพฺพานํ อนฺโตกริตฺวา วุตฺตํ (นิทฺ.อ.2/8)
         แปลว่า: "ข้อความว่า
' ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา' นั้น พระพุทธองค์ตรัสรวมทั้งนิพพานด้วย"
         2) สพฺเพ ธมฺมาติ นิพฺพานมฺปิ อนฺโตกริตฺวา วุตฺตา อนตฺตา อวสวตฺตนฏฺเฐน. (นิทฺ.อ. 1/219 และ ปฏิสํ.อ. 1/68)
         แปลว่า:
" ข้อความว่า ' ธรรมทั้งปวง' ตรัสไว้รวมแม้ทั้งนิพพานด้วย ชื่อว่าเป็นอนัตตา โดยความหมาย ว่าไม่เป็นไปในอำนาจ "
         บางแห่งใช้คำว่า อัตตสุญญ แปลว่า ว่าง หรือ สูญจากอัตตา ก็มี เช่น
         3) นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ (ปฏิสํ.อ. 2/287)
         แปลว่า:
"ธรรม คือนิพพาน สูญ (ว่าง) จากอัตตา เพราะไม่มีอัตตานั่นเอง "
         4) สงฺขตาสงฺขตา ปน สพฺเพปิ ธมฺมา อตฺตสงฺขาตสฺส ปุคฺคลสฺส อภาวโต อตฺตสุญฺญาติ. (ปฏิสํ.อ. 2/287)
         แปลว่า:
" ก็ธรรมทั้งหลาย แม้ทั้งปวง ทั้งสังขตะ (สังขาร) และอสังขตะ (นิพพาน) ล้วนสูญ (ว่าง) จาก อัตตา เพราะไม่มีบุคคล กล่าวคือ อัตตา

         " เอกสารของวัดพระธรรมกาย กล่าวว่า " อัตตามีนัยมากมาย ทั้งอัตตาโดยสมมติ
...และอัตตาในระดับที่สูงขึ้น "
         ขออธิบายสั้นๆ ว่า ในที่นี้ ข้อความในพระไตรปิฎก และอรรถกถานั้น ปฏิเสธตรงไปที่อัตตาเลย ไม่ว่าจะ มีกี่นัย คือ ไม่ต้องปฏิเสธนัยไหนของอัตตาทั้งนั้น แต่ปฏิเสธอัตตาทีเดียวหมดไปเลย คือปฏิเสธอัตตาว่าไม่มีอยู่ จริงโดยปรมัตถ์ เป็นอันว่าไม่ต้องไปพูดว่าเป็นอัตตาหรือตัวตนแบบไหน นัยอย่างไหน เพราะท่านไม่ได้ปฏิเสธ ความหมายต่างๆ ของอัตตา แต่ท่านปฏิเสธที่คำว่าอัตตาตรงไปตรงมา ทีเดียวเสร็จสิ้นไปเลยว่า อัตตาโดย ปรมัตถ์ไม่มี ส่วนอัตตาโดยสมมติ คือตัวตนตามภาษาพูดที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันและในระดับศีลธรรม ก็ เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ไม่ได้มีปัญหาอะไร หมายความว่า นอกจากอัตตาที่ท่านปฏิเสธไปแล้วนี้ คำที่กล่าวถึงอัตตา ก็เป็นการกล่าวโดยสมมติเท่านั้น
         แต่ที่สำคัญก็คือว่า
ไม่มีพุทธพจน์ หรือข้อความในอรรถกถา หรือในคัมภีร์แห่งใดที่ระบุว่านิพพานเป็น
อัตตา
แต่มีชัดเจนที่ระบุว่านิพพานเป็นอนัตตา
         ส่วนคำว่าอัตตาจะใช้ในนัยไหน อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งหรือเป็นอีกประเด็นหนึ่งทีเดียว และก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
ในเมื่อเรารู้อยู่แล้วว่า
เป็นการใช้โดยสมมติทั้งสิ้น

การหาทางตีความ ให้นิพพานเป็นอัตตา

         ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า
         
- ไม่มีหลักฐานในคัมภีร์ใดเลยที่กล่าวถ้อยคำระบุลงไปว่านิพพานเป็นอัตตา
         - แต่หลักฐานในคัมภีร์ที่ระบุลงไปว่านิพพานเป็นอนัตตานั้นมี และมีหลายแห่ง          ดังที่ยกตัวอย่างมาแสดงแล้ว
         
เมื่อไม่สามารถหาหลักฐานมาแสดงว่านิพพานเป็นอัตตา ผู้ที่หาทางจะทำให้นิพพานเป็นอัตตา ก็ใช้วิธี ตีความ หรือทำให้เกิดความสับสน
          ขอให้พิจารณาข้อความที่เอกสารของวัดพระธรรมกายได้กล่าวไว้
          "3. คำว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ซึ่งเป็นคำที่มีการอ้างอิงกันมากนี้ คำว่า สพฺ เพ ธมฺมา คือ ธรรมทั้งปวง กินความกว้างเพียงใดเพราะมีทั้งคัมภีร์ชั้นอรรถกถาที่บอกว่า ธรรมทั้งปวง ในที่นี้ รวมเอาพระนิพพานด้วย (อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิเทส ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช-วิทยาลัย หน้า 8; อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิเทส ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน้า 219) และมีทั้ง คัมภีร์อรรถกถาที่บอกว่า ธรรมทั้งปวงที่ว่าเป็นอนัตตานั้น
หมายเอาเฉพาะขันธ์ 5 ไม่ได้ครอบคลุมถึง พระนิพพาน (อรรถกถาธรรมบท ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ภาค 7
หน้า 62 ) "
         
คำกล่าวนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือสับสน ถ้าไม่เป็นเพราะตัวผู้กล่าวสับสนเอง ก็เป็นเพราะตั้งใจ จะทำให้เกิดความ สับสน เป็นการเสี่ยงต่อการตู่พระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง ความจริงคำอธิบายของอรรถกถาไม่ได้ขัดกันเลย ขอให้ดูพุทธพจน์แสดงหลัก นี้ ที่ท่านนำมาอธิบายไว้ ซึ่งต่างกันเป็น
2 แบบ
         
แบบที่ 1 พุทธพจน์ที่แสดงแต่หลักทั่วไปเป็นกลาง ๆ ว่า
         สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ (เช่น สํ.ข. 17/233/164)
         แปลว่า:
" ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา "
         ในกรณีเช่นนี้ คำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ จะกล่าวครอบคลุมหมดโดยไม่มีข้อแม้ว่า
         สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สพฺเพ จตุภูมกธมฺมา อนตฺตา (สํ.อ. 2/346)
         แปลว่า:
" ธรรมที่มีในภูมิ 4 ทั้งหมด เป็นอนัตตา "
         ข้อนี้ชัดเจนไม่มีข้อแม้ ไม่มีเงื่อนไขใดๆ คือ ทุกอย่างรวมทั้งนิพพานด้วย เป็นอนัตตา
          แบบที่ 2 พุทธพจน์เฉพาะแห่ง ซึ่งมีข้อความที่เป็นเงื่อนไขจำกัดต่อท้าย
          สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ    ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
         อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข     เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา (ขุ.ธ. 25/30/52; ขุ.เถร. 26/383/366)
          แปลว่า:
" เมื่อใดบุคคลมองเห็นด้วยปัญญาว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็น ทางแห่งวิสุทธ "
         ในกรณีนี้
อรรถกถาเถรคาถา อธิบายไว้บริบูรณ์ว่า
          สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สพฺเพปิ จตุภูมิกา ธมฺมา อนตฺตา. อิธ ปน เตภูมิกธมฺมาว คเหตพฺพา (เถร.อ. 2/283)
          แปลว่า:
" ข้อความ (พุทธพจน์) ว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา หมายความว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในภูมิ 4 แม้ทั้งหมด (คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ คือ มรรค ผล นิพพาน) เป็นอนัตตา          แต่ในที่นี้ พึงถือเอาเฉพาะธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 (สังขาร/ขันธ์ 5) เท่านั้น "
         ที่จริงคำอธิบายนี้ก็ชัดเจนอยู่แล้ว คือ ท่านแบ่งเป็น 2 ท่อน
         ท่อนแรก แสดงหลักทั่วไป คือตัวความจริงแท้ๆ ที่เป็นกลาง ๆ ซึ่งเป็นความหมายที่สมบูรณ์ว่า
ธรรมทั้งปวง รวมหมดทั้งภูมิ 4 ซึ่งรวมทั้งนิพพานด้วยนั้น เป็นอนัตตา
         ส่วนท่อนที่สอง จำกัดความหมายให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการ หรือตามความประสงค์เฉพาะกรณี ดังจะ เห็นว่ามีทั้ง
คำว่า อิธ ซึ่งจำกัดเทศะว่า " ที่นี้ " หรือ " ในกรณีนี้ " หรือ " ในคาถานี้ " และคำว่า คเหตพฺพา ซึ่งจำกัด วัตถุประสงค์ว่า " พึงถือเอา " (หรือในอรรถกถาธรรมบทใช้คำว่า อธิปฺเปตา แปลว่า " ทรงประสงค์เอา ")
         คำว่า ในที่นี้ ก็ดี คำว่า พึงถือเอา หรือทรงประสงค์เอา ก็ดี เป็นคำจำกัดขอบเขต คือ อิธ " ที่นี้ " ก็ จำกัดสถานที่ หรือเฉพาะกรณี และ คเหตพฺพา " พึงถือเอา " หรือ อธิปฺเปตา " ทรงประสงค์เอา " ก็จำกัดความ ต้องการ          การใช้คำจำกัดอย่างนี้เป็นการบอกชัดอยู่แล้วว่า เป็นการตัดออกมาจากส่วนรวมทั้งหมด โดยจับเอา เฉพาะส่วนที่
ประสงค์ในกรณีนั้นๆ เพราะในทางพุทธศาสนาถือว่าความจริงนั้นเป็น กลางๆ ไม่ขึ้นต่อความ ต้องการของใคร เพราะฉะนั้น
ท่านจึงแสดงหลักที่เป็นความจริงกลางๆ ไว้ก่อน แล้วท่อนหลังจึงแสดงความมุ่ง หมายที่ต้องการใช้เฉพาะในกรณีนั้นๆ หรือเป็นเรื่องสัมพันธ์กับเงื่อนไขบางอย่างในที่นั้น
         อย่างในกรณีนี้ ขออธิบายประกอบ จะเห็นว่ามีคำว่า "อถนิพฺพินฺทติ ทุกฺเข" ซึ่งแปลว่า " เมื่อนั้นย่อม หน่ายใน
ทุกข์" ทุกข์คืออะไร ทุกข์ในทางธรรม ว่าโดยรวบยอดก็ได้แก่อุปาทานขันธ์ 5 ในที่นี้ อรรถกถาเองก็ ได้อธิบายต่อไปว่า เป็นวิปัสสนาวิธีในการปฏิบัติของผู้พิจารณา ซึ่งหมายถึงพิจารณาเบญจขันธ์ แต่ยกหลักทั่วไป ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ 3 ข้อ คือ สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา มากล่าว โดยยกเอาหลักนั้นมาอ้างเต็ม
ตามเดิม
ส่วนความหมายที่ต้องการในที่นี้ ซึ่งใช้ในวิปัสสนาวิธีนั้น จำกัด เฉพาะการพิจารณาขันธ์ 5 หรือ
พิจารณาสังขาร
และเมื่อพิจารณาเห็นอย่างนั้นก็หน่ายในทุกข์ รับกัน คือ หน่ายในขันธ์ 5 หรืออุปาทานขันธ์ 5 นั้น
         เป็นอันว่าในที่นี้เป็นการใช้จำกัดความหมายเฉพาะขอบเขตโดยมีเงื่อนไข แต่หลักกลางก็ไม่ได้เสียหาย ไปไหน เพราะได้บอกแจ้งไว้ท่อนต้นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น
คำอธิบายของท่านจึงไม่ได้ขัดกันแต่ประการใด
         และถึงอย่างไร คำอธิบายพุทธพจน์เหล่านี้ก็ไม่มีการระบุว่า นิพพานเป็นอัตตา แต่ตรงข้าม คำอธิบายที่ ปรากฏมาแล้วนั้นก็บอกชัดว่า นิพพานรวมอยู่ในธรรมที่เป็นอนัตตา
         บางท่านเมื่อหาพุทธพจน์ หรือคำระบุในคัมภีร์ว่านิพพานเป็นอัตตาไม่ได้แล้ว ก็เลยมาเอาข้อความตรง นี้ที่ว่า " ในกรณีนี้ ธรรมทั้งปวงทรงประสงค์เอาขันธ์ 5 " แล้วก็ไปตีความหมายเอาว่า เมื่อธรรมทั้งปวงหมายเอา ขันธ์ 5 เพราะฉะนั้นนิพพานก็เป็นอัตตา ซึ่งก็
          1. ไม่มีพุทธพจน์ ไม่มีข้อความ ไม่มีถ้อยคำที่ระบุอย่างนั้น
          2. ขัดต่อคำอธิบายของอรรถกถาที่กล่าวข้างต้นนั้น ซึ่งชัดอยู่แล้ว

การใช้ตรรกะที่ผิด เพื่อให้คิดว่านิพพานเป็นอัตตา

         นอกจากนั้น เอกสารของวัดพระธรรมกาย ยังเขียนไว้ว่า
         " และนิพพานนี้เป็นสิ่งที่อยู่พ้นจากกฎของไตรลักษณ์แน่นอน เพราะมีพุทธพจน์ยืนยันว่า นิพพาน นั้นเป็นนิจจัง คือเที่ยงแท้ ยั่งยืน และเป็นบรมสุข . . . นิพพานํ ปรมํ สุขํ แปลว่าพระนิพพานเป็นสุขอย่าง ยิ่ง "
         อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ได้มีอะไรพิเศษ เพราะรับกันอยู่แล้วกับพุทธพจน์แสดงไตรลักษณ์ แต่ควรพูด ให้ครบถ้วน
ว่า นิพพานพ้นจากไตรลักษณ์ 2 ข้อแรก คือ
         ข้อที่ 1 สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง, ในเมื่อนิพพานพ้นจากความเป็นสังขาร นิพพานก็ เที่ยง เป็นนิจจัง ข้อนี้ถูก
         ข้อที่ 2 สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์, นิพพานไม่เป็นสังขาร พ้นจากสังขาร เพราะฉะนั้น นิพพานก็เป็นสุข ข้อนี้ก็มีหลักฐานยืนยันอยู่มากมาย ไม่มีปัญหา
         แต่หลักฐานที่จะบอกว่า นิพพานเป็นอัตตานั้น ไม่มี มีแต่ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ซึ่งรวมทั้งนิพพานด้วยอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ข้อ 3 นี้ ถึงอย่างไรก็เอานิพพานเป็นอัตตาไม่ได้
         เอกสารของวัดพระธรรมกาย ยังพยายามใช้วิธีตรรกศาสตร์มาสรุปโดยอ้างพุทธพจน์ว่า " ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ, ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา " ที่แปลว่า " สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา " แล้วก็บอกว่า
         " จึงน่าคิดว่า ถ้ามองในเชิงกลับกัน ในเมื่อนิพพานเที่ยง และเป็นสุข เราก็จะสรุปได้ ว่า สิ่งใดเที่ยง สิ่งนั้นเป็นสุข สิ่งใดเป็นสุข สิ่งนั้นก
็น่าจะเป็นอัตตา "
         คำว่า " น่าจะ " นั้นเป็นคำที่ท่านว่าเอาเอง ซึ่งไม่มีทางเป็นจริง ทั้ง 2 ประการ
         ประการที่ 1 มีบาลีระบุไว้แล้วว่า นิพพานเป็นอนัตตา และไม่มีข้อความใดระบุว่า
นิพพานเป็นอัตตา
         ประการที่ 2 การใช้ตรรกะแบบนั้นไม่ถูกต้อง เหมือนกับคำพูดในประโยคที่ว่า
         " ชีวิตใด เคลื่อนไหวย้ายที่เองได้ ชีวิตนั้นเป็นสัตว์, ชีวิตที่เป็นสัตว์ทั้งปวงต้องตาย"
         แล้วก็จะมาสรุปเอาว่า " พืชไม่เป็นชีวิตที่เคลื่อนไหวย้ายที่เอง ได้ ก็จึงไม่เป็นสัตว์ เพราะฉะนั้น พืชก็ ไม่ต้องตาย "          การสรุปอย่างนี้ใช้ไม่ได้ เป็นตรรกะที่ผิดพลาดไร้ผล เพราะว่าชีวิตที่เป็นพืชก็ต้องตายเหมือนกันเฉพาะข้อความที่
ว่าต้องตายนี้ครอบคลุมหมด ไม่เฉพาะชีวิตที่เคลื่อนไหวย้ายที่เองได้ ที่เป็นสัตว์เท่านั้น เช่นเดียวกับคำ ว่า
" ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา " ก็คลุมไม่เฉพาะสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เท่านั้น แต่รวมทั้งสิ่งที่เที่ยงและเป็นสุขด้วย
         ในที่สุดที่ว่ามาทั้งหมดก็สอดคล้องกลมกลืนกัน ลงในข้อสรุปแห่งพุทธพจน์ที่ว่า
         สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา = สังขาร (ขันธ์ 5/สังขตธรรม)ทั้งปวง ไม่เที่ยง
         สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา = สังขาร (ขันธ์ 5/สังขตธรรม)ทั้งปวง เป็นทุกข์
         สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา = ธรรม (ขันธ์ 5 + อสังขตธรรม)ทั้งปวง เป็นอนัตตา
          ชีวิต มีความหมายกว้างกว่าสัตว์ คลุมไปถึงพืชด้วย ฉันใด
        ธรรม ก็มีความหมายกว้างกว่าสังขาร(สังขตธรรม) คลุมไปถึงวิสังขาร (อสังขตธรรม) คือ
นิพพานด้วย ฉันนั้น

การจับคำความที่ผิดมาอ้างเป็นหลักฐาน เพื่อให้นิพพานเป็นอัตตา

         มีพุทธพจน์อีกแห่งหนึ่ง ที่บางท่านชอบนำไปอ้างเพื่อยืนยันว่านิพพานเป็นอัตตา คือ พุทธพจน์ว่า
         ชญฺญา นิพฺพานมตฺตโน (ขุ.อุ. 25/77)
         แปลว่า: " พึงรู้นิพพานของตน "
         ที่จริงในสุตตนิบาตก็มีพุทธพจน์คล้ายกันว่า
         สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน (ขุ.สุ 25/422)
         แปลว่า: " พึงศึกษานิพพานของตน "
         ที่จริงพุทธพจน์นี้ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า ไม่ใช่นิพพานเป็นอัตตา แต่มีสิ่งหนึ่งที่ท่านใช้คำว่าอัตตา/ตน มา เป็นเจ้าของ
นิพพาน สิ่งที่ว่าเป็นอัตตา/ตัวตนที่เป็นเจ้าของนิพพาน คือ อัตตโน ตัวนี้ สำหรับในสุตตนิบาต ท่านมี คำอธิบายไว้ใน
พระไตรปิฎกนั่นเอง คือคัมภีร์มหานิทเทส ซึ่งขยายความว่า
         " สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโนติ . . . นิพฺพานมตฺตโนติ อตฺตโน ราคสฺส นิพฺพานาย โทสสฺส นิพฺพา นาย โมห สฺส นิพฺพานาย...
         แปลว่า: " พุทธพจน์ว่า ' พึงศึกษานิพพานของตน ' มีความหมายว่า . . .
นิพพานของตน คือ (พึงศึกษา) เพื่อดับราคะ เพื่อดับโทสะ เพื่อดับโมหะ ของตน " (ขุ.ม.29/816 เป็นต้น)
         และอรรถกถา (ทั้งอรรถกถาสุตตนิบาตัสุตฺต.อ 2/440 และอรรถกถามหานิทเทสันิทฺ.อ.1/27) ยังเอาไปไขความอีก คล้ายๆ กันว่า
         " สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโนติ อตฺตโน ราคาทีนํ นิพฺพานมตฺถาย อธิสีลาทีนิ สิกฺเขยฺย "
         แปลว่า:
" พุทธพจน์ว่า ' พึงศึกษานิพพานของตน ' หมาย ความว่า พึงศึกษาอธิศีลเป็นต้น เพื่อ ประโยชน์ในการดับกิเลสทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น ของตน "
         ส่วนพุทธพจน์ในคัมภีร์อุทาน ที่ว่า " พึงรู้นิพพานของตน " นั้น คำว่า " ของตน " อรรถกถา (อุ.อ.201) อธิบาย
ว่าได้ แก่ มรรคญาณ และผลญาณ ซึ่งก็ชัดอยู่แล้วว่า มรรค ก็ตาม ผล ก็ตาม ญาณ หรือปัญญา ก็ตาม นั้นเป็น สังขต ธรรม คือเป็นสังขารอยู่ในขันธ์ 5
เพราะฉะนั้น คำว่าตนในที่นี้ จึงเป็นอัตตาโดยสมมติอย่างที่รู้กันอยู่แล้ว
เพราะ ว่าเมื่อ มรรคญาณ ผลญาณ เป็นสังขาร อยู่ในขันธ์ 5 ก็เป็น อนัตตานั่นเองโดยปรมัตถ์
         เรารู้กันดีว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการพึ่งตน และ " พึ่งตน " ก็คือ ผลักดันกระบวนการแห่ง เหตุปัจจัย ที่เรียกว่า " ธรรม " ให้ดำเนินไปสู่จุดหมาย พูดง่ายๆ ว่า ทำเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น จึงมีคำสอนที่ให้รู้ ว่าพึ่งตน ก็คือพึ่งธรรม และในระหว่างการปฏิบัติก็จะมีคำสอนที่กล่าวถึงตน/อัตตานี้มากมาย ตลอดเวลา
         เมื่ออธิบายท่านก็จะบอกว่า ตน/อัตตา คือ ธรรม หรือบางทีเรียกว่า ธรรมกาย (คือประมวลแห่งธรรม หรือคุณสมบัติทั้งหลาย) นี้ ได้แก่ โลกิยโลกุตตรธรรม บ้าง ได้แก่ โลกุตตรธรรม บ้าง (เช่นว่าพึ่งตน พึ่งธรรม, ที. ม.
10/93/119
; ตน/อัตตา = ธรรม = โลกิยโลกุตตรธรรม, ที.อ. 3/30; ตน/อัตตา = ธรรม = โลกุตตรธรรม 9, สํ.อ. 3/277; ตน/อัตตา = ธรรมกาย ซึ่งอย่างสูงคือโลกุตตรธรรม 9, จริยา อ.324) แล้วแต่ขั้นตอนของการปฏิบัติ
เป็น การบอกให้รู้
ในตัวว่า ตน/อัตตานี้ เป็นคำเรียกขานตามสมมติของภาษา
และเป็นคำที่ใช้ในกระบวนการปฏิบัติ หมายถึงธรรมที่เป็น
ข้อปฏิบัติต่างๆ ตลอดจนคุณสมบัติที่เป็นผลของการปฏิบัติ (คือธรรมต่างๆ ในระดับสังขาร/ สังขตธรรม/ขันธ์ 5 ที่ข้างต้นได้บอก
แล้วว่าโดยปรมัตถ์เป็นอนัตตา)
แต่ไม่มีการใช้ "ตน/อัตตา" นี้ในฐานะเป็นจุด หมายที่จะไปเข้าถึง เช่น ไม่มีคำว่าบรรลุอัตตา หรือเข้าถึง/เข้ารวมกับอัตตา/อาตมัน อย่างลัทธิที่ถืออัตตา พูดง่ายๆ ว่า นิพพานไม่ใช่ภาวะเช่นนั้น

เมื่อจำนนด้วยหลักฐาน ก็หาทางทำให้สับสน

         ปัญหาทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาจากการพยายามทำให้สับสนโดยวิธีต่างๆ เช่น เอาหลักฐานกับความคิดเห็น ของบุคคลมาปะปนกันเป็นต้น ทุกคนจะต้องทันและแยกแยะให้ถูก การที่จะวินิจฉัยได้แน่ชัดจะต้องไม่ออกนอก ประเด็น ขอยกข้อความในหนังสือ " นิพพาน-อนัตตา " (หน้า 10-11) มากล่าวซ้ำอีก
         "
ประเด็นที่พิจารณาในที่นี้ คือ พระไตรปิฎกและอรรถกถาว่าอย่างไร ไม่ได้พูดถึงความเห็นของบุคคล จึงเป็นเรื่องง่าย ๆ เพียงเอาคำพูดของคัมภีร์มาแสดงให้เห็นแท้ ๆ ล้วน ๆ
         เมื่อแสดงหลักฐาน ถ้อยคำของคัมภีร์เสร็จแล้ว ตนเองมีความเห็นอย่างไรก็แสดงออกไป ไม่เอาไป ปะปนกับถ้อยคำของคัมภีร
์ ผู้อ่านจึงจะไม่สับสนและไม่เข้าใจผิด
         ต้องการรู้อย่างเดียวว่า คัมภีร์พูดว่าอย่างไร ก็เอาถ้อยคำของคัมภีร์มาแสดงจำเพาะ แท้ ๆ ล้วน ๆ ไม่เอาถ้อยคำ
และความคิดเห็นของตนเข้าไปปะปน ต่อจากนั้นตนมีความเห็นอย่างไร ในเรื่องนั้น หรือได้เห็นผลจากการปฏิบัติของตน หรือของสำนักของ ตนอย่างไร ก็บอกแจ้งหรือแสดงไปตามนั้น (ผู้อื่นไม่จำเป็นต้องยอมรับและเห็นด้วย)
         ถ้อยคำหรือมติของคัมภีร์นั้นๆ ตนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็มีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ไปตามตรง
         คัมภีร์นั้นๆ ตนจะเชื่อหรือไม่ หรือจะว่าเชื่อถือได้หรือไม่ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง แต่ไม่ว่าตนจะเชื่อหรือไม่ ข้อความในคัมภีร์ก็เป็นอยู่อย่างนั้น "
         นอกจากนี้เอกสารของวัดพระธรรมกายยังพูดเฉไฉออกไปอีกว่า
         
"นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจสภาพสังคมอินเดียในครั้งพุทธกาล ว่าผู้คนมีความคิด ความอ่าน ความเชื่ออย่างไร นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาจึงต้องศึกษาให้เข้าใจ คำสอนของ พระเวท
อุปนิษัท เชน และลัทธิความเชื่ออื่นๆ ของอินเดียที่มีอิทธิพลในยุคนั้น ๆ
         รวมทั้งศึกษาประวัติศาสตร์ และวิวัฒนาการของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การแตกนิกาย ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ และระหว่างพุทธกับลัทธิศาสนาอื่น การศึกษาให้เข้าใจภูมิหลังทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ความเชื่อในยุคนั้นๆ นี้เอง จะทำให้เราตีความเข้าใจความหมายของคำสอนในพระพุทธ ศาสนาของเราเองได้ถูกต้องลึกซึ้งชัดเจนขึ้น "
         ข้อความนี้เป็นคำกล่าวผิดที่และสรุปผิดเป้า เพราะกรณีนี้เป็นเรื่องของหลักการที่มีหลักฐานแน่นอนอยู่ แล้ว ซึ่งระบุไว้ชัดเจนมาแต่ดั้งเดิมในพระไตรปิฎก ไม่ใช่เป็นเรื่องของการตีความ และไม่ใช่เรื่องความเห็น สิ่งที่ ต้องทำคือการกล่าวให้ตรงไปตรงมาตามข้อความที่มีมาในคัมภีร์ ท่านว่าอย่างใดก็ยกมากล่าวอย่างนั้น
         ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อเราได้หลักฐานของพระไตรปิฎกแน่ชัดแล้ว การศึกษาสังคมอินเดีย พร้อมทั้ง ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการทางความคิด จึงจะเกิดประโยชน์ที่แท้จริง คือจะช่วยให้เรามองอะไรๆ ชัดเจนขึ้น เช่น เข้าใจขึ้นมาว่าสังคมอินเดียเป็นอย่างไร ศาสนาพราหมณ์มีอิทธิพลอย่างไร และประชาชนถูกครอบงำทำให้ เกิดปัญหาอย่างไร พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสแสดงหลักการนี้ขึ้น แต่ตรงข้าม ถ้าจับหลักการของพระพุทธศาสนา ไม่ชัด แล้วไปศึกษาผิดๆ มา ตนเองก็จะเกิดความลุ่มหลงไขว้เขว แทนที่จะเข้าใจสังคมอินเดีย และเข้าใจพระ พุทธศาสนา ก็กลายเป็นการสร้างความสับสนยิ่งขึ้น

เมื่อหลักฐานก็ไม่มี ตีความก็ไม่ได้ ก็หันไปอ้างผลจากการปฏิบัติ

         เมื่อไม่มีแหล่งที่มาจากคัมภีร์ที่จะอ้าง ซึ่งระบุว่านิพพานเป็นอัตตา ทางสำนักธรรมกาย นอกจากจะใช้ วิธีตีความหรือแปลผิดพลาด ตลอดจนอ้างคำสอนของลัทธินิกายอื่น และคำถกเถียงของนักวิชาการแล้ว อีกอย่าง หนึ่ง คือการอ้างว่าตนได้เห็นอย่างนั้นจากการปฏิบัติ การอ้างผลจากการปฏิบัตินั้น มีข้อพิจารณาและวิธีที่จะ ตรวจสอบ คือ
         
1. ผู้ที่ได้ยินคำอ้างเช่นนี้ มีสิทธิตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่า การเห็นในการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเห็นนิพพานหรือ เห็นอะไรก็ตามนั้น อาจจะเป็นเหมือนการอ้างของคนที่บอกหวย ว่าเห็นเลขลอตเตอรี่ จากการปฏิบัติ
         2.ขั้นต่อไป จะต้องตรวจสอบการปฏิบัติด้วยหลักการซึ่งเป็นเกณฑ์ตัดสินว่า เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือไม่ เพราะว่า ถ้าเป็นการปฏิบัติที่ผิดหลักการ ผลที่ได้เห็นนั้นก็ไม่ถูกต้อง
         ในสมัยพุทธกาล ผลการปฏิบัตินั้นจะต้องได้รับการตรวจสอบจากพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้า ปรินิพพานไปแล้ว ก็ต้องตรวจสอบด้วยคำสอนของพระองค์ คือหลักการ
ที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก

         สำหรับพระพุทธศาสนาเถรวาท
ถ้าการปฏิบัตินั้นไม่เป็นไปตามหลักการ ซึ่งปรากฏใน
พระไตรปิฎก การปฏิบัตินั้นก็เป็นเรื่องของการปฏิบัติไปตามทัศนะส่วนตัวของบุคคลนั้น หรือไม่ก็เป็นเพียงเรื่องของสำนักนั้น หรือมี ค่าเท่ากับการปฏิบัติของฤาษีโยคี
นอกพระพุทธศาสนา เป็นแต่เพียงอาศัยรูปแบบในพระพุทธศาสนา เท่านั้น
         ทั้งๆ ที่ตนอาศัยรูปแบบที่กำหนดไว้ในพระไตรปิฎก แต่เวลาปฏิบัติกลับปฏิบัติไป
ตามความคิดเห็นของ ตนเอง ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วจะเป็นการปฏิบัติที่
เรียกว่าพุทธศาสนาได้อย่างไร
         3. เป็นการเสี่ยงต่อการอวดอุตริมนุสสธรรม อย่างที่กล่าวแล้วว่า ในสมัยพุทธกาลนั้น เมื่อจะตรวจสอบ
ว่าตนเองได้บรรลุ ธรรม ได้เห็นนิพพานหรือไม่ เป็นต้น ก็ต้องไปให้พระพุทธเจ้าตรัสรับรองดังที่เรียกว่า พยากรณ์
ถ้าภิกษุรูปใดกล่าวขึ้นกับภิกษุรูปอื่น แทนที่จะนำไปกล่าวขอรับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า อาจจะถูก ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าอวดอุตริมนุสสธรรม เรื่องนี้จะเห็นได้ว่าแม้แต่ พระสารีบุตรอัครสาวกเคยพูดอะไรบางอย่าง ภิกษุบางรูปก็ยังตั้งข้อกล่าวหาว่าท่านอวดอุตริมนุสสธรรม ซึ่งต้องรับคำวินิจฉัยจากพระพุทธเจ้า (ดูเรื่องใน สํ. นิ.16/104/59)
         เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว การที่จะตัดสินก็คือ ตัดสินด้วยหลักการที่พระองค์ทรงวางไว้ ซึ่งมีอยู่ แล้วในพระไตรปิฎก อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
         " ภิกษุเห็นรูปด้วยตา . . . ได้ยินเสียงด้วยหู . . . ฯลฯ ย่อมรู้ชัดในตัวของตัวเองว่า ภายในใจของเรามี โลภะ มีโทสะ มีโมหะหรือไม่ " (สํ.สฬ. 18/240/173)
         การตรวจสอบตนเองอย่างนี้ จึงจะทำให้รู้ได้ว่าบรรลุธรรม หรือไม่ และ
พระพุทธเจ้าทรงมุ่งให้แต่ ละคนสำรวจตรวจสอบในตนเอง ไม่ใช่ให้ไปอวดอ้างแก่ผู้อื่น
         ถ้าเห็นโน่นเห็นนี่ แล้วมาอวดอ้างแก่ผู่อื่น บอกว่าได้มรรค ได้ผล เห็นนิพพาน ก็ควรจะต้องถูกขอให้ดูใน ตัวของผู้อวดอ้างนั้นเองว่าใจยังมี โลภะ โทสะ โมหะ หรือไม่ พร้อมกับการที่จะต้องถูกตรวจสอบว่าอาจจะเป็น การอวดอุตริมนุสสธรรม
         เวลานี้ไปกันไกลถึงกับมีการพูดว่า ท่านผู้นั้นผู้นี้ พระภิกษุรูปนั้นรูปนี้ เป็นนักปฏิบัติหรือไม่ โดยจะดูว่า ไปนั่งสมาธิหรือเปล่า ไปเข้าป่า ไปนั่งวิปัสสนาหรือเปล่า อะไรทำนองนี้ คือไปติดอยู่ที่รูปแบบ
         จริงอยู่ รูปแบบเหล่านี้ก็ช่วยเป็นเครื่องประกอบในการพิจารณาขั้นต้น แต่ถ้าเป็นวิธีของพระพุทธเจ้า แท้ ๆ ไม่ใช่อยู่ที่ตรงนี้
การดูว่าท่านผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติหรือไม่ ก็ดูที่พฤติกรรมของท่านว่าเป็นไปตามศีลหรือไม่ แล้ว ก็ดูความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิต การแสดงออกและอาการความเป็นไปทั้งหลายที่แสดงว่า มีโลภะ โทสะ โมหะ น้อยหรือมากเพียงใด อันนี้คือการดูการปฏิบัติที่แท้จริง ซึ่งเป็นเนื้อแท้ตามหลักการของพระพุทธเจ้า

เพราะไม่เห็นแก่พระธรรมวินัย จึงต้องหาทางดิ้นรนเพื่อหนีให้พ้นสัจจะ

         ระยะหลังนี้ ทางวัดพระธรรมกายได้เผยแพร่ข้อเขียนคำกล่าวที่ชื่อว่า " เถรบัญญัติ " ที่ว่าเป็นของสมเด็จ พระสังฆราชพระองค์หนึ่ง " เถรบัญญัติ " นั้น แสดงความไม่เห็นด้วยกับเรื่องนิพพานเป็นอนัตตา และเห็นว่า นิพพาน
เป็นอัตตา และได้ทราบว่าหลังจากนั้นก็ยังได้เผยแพร่ทัศนะของพระเถระ และพระมหาเถระรูปอื่นๆ อีก ที่ กล่าวในเชิง
ว่านิพพานเป็นอัตตา
         ข้อเขียนคำกล่าวทั้งหมดนี้ ทำให้ได้ข้อพิจารณาสำหรับทำความเข้าใจในเรื่องนี้ เบื้องแรกที่สุด ข้อเขียน คำกล่าวของพระเถระและพระมหาเถระเหล่านี้ เป็นตัวอย่างของสิ่งที่เรียกว่าทัศนะหรือความคิดเห็นต่างๆ
         ทัศนะหรือความคิดเห็นเหล่านี้ เป็นข้อพิจารณาที่ช่วยให้เห็นได้ชัดว่าจะนำหลักเกณฑ์ในพระศาสนามา
ใช้ปฏิบัติอย่างไร ดังนี้
         1. ทัศนะหรือความคิดเห็น ตลอดจนคำอธิบายบรรยายเกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้แต่ของท่านผู้ที่เรียกว่าเป็นผู้รู้ หรือเป็นปราชญ์ ยังมีอีกมากมาย เมื่อทางวัดพระธรรมกายยกทัศนะที่เห็นว่านิพพานเป็นอัตตามาอ้าง ผู้อื่นก็ อาจจะยกทัศนะของผู้รู้ท่านอื่นที่เห็นว่านิพพานเป็นอนัตตาขึ้นมาอ้าง เช่น ยกข้อเขียนคำกล่าวของสมเด็จพระ สังฆราชพระองค์อื่นขึ้นมาคัดค้านมติขององค์ก่อน แล้วก็จะอ้างกันไปอ้างกันมา ไม่มีที่สิ้นสุด
         ในการวินิจฉัยว่า อะไรเป็นธรรม อะไรเป็นวินัยอย่างนี้ ท่านมีหลักเกณฑ์วินิจฉัย ซึ่งเป็นเครื่องรักษาพระศาสนา
ตลอดมา เป็นเครื่องตัดสิน ดังได้ยกมาแสดงข้างต้นแล้ว (หน้า 32-33) คือมหาปเทส 4 ทั้ง 3 ชุด
         สำหรับกรณีอย่างนี้ ก็ใช้ชุดที่ 3 อันได้แก่
         1. สุตตะ คือ พระไตรปิฎก
         2. สุตตานุโลม คือ มหาปเทส (ยอมรับอรรถกถาด้วย)
         3. อาจริยวาท คือ อรรถกถา (พ่วงฎีกา อนุฎีกา)
         4. อัตตโนมติ คือ มติ ทัศนะ ความเห็นของท่านผู้รู้ เป็นต้น
         
ข้อ 1. ตัดสิน ข้อ 2 - 3 - 4
       ข้อ 2. ตัดสิน ข้อ 3 - 4
       ข้อ 3. ตัดสิน ข้อ 4
         ทัศนะความเห็น คำอธิบายของพระเถระ และพระมหาเถระทั้งหลายเป็นต้น จัดเป็นอัตตโนมติ (ท่านไม่ ยอมรับเป็นอาจริยวาท เพราะอาจริยวาทนั้นจับเอาขั้นเป็นอาจริยวงส์)
         ในการวินิจฉัยเรื่องนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา
เมื่อมี สุตตะ จนถึงอาจริยวาทอยู่แล้ว ก็นำมาตัด
สินทีเดียว
ไม่ว่าจะมีทัศนะของพระเถระ พระมหาเถระ เป็นต้น กี่ร้อยกี่พันอย่าง ก็จบทีเดียว และไม่มี
ประโยชน์ที่จะยกมาอ้างต่อไป
         มติ ทัศนะ ความเห็น คำอธิบายของพระเถระ พระมหาเถระ ครูอาจารย์นั้น มีไว้สำหรับเป็นเครื่องช่วย หรือเป็นเครื่องร่วมในการศึกษาพระธรรมวินัยแก่เราแต่จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์วินิจฉัยพระธรรมวินัยไม่ได้ มีแต่ ต้องเอาธรรมวินัยมาวินิจฉัยครูอาจารย์

ความซื่อตรงต่อหลักพระศาสนา และมีเมตตาต่อประชาชน คือหัวใจของการรักษาระบบไตรสิกขาไว้ให้แก่ประชาสังคม

         หลักเกณฑ์ที่กล่าวมานี้มีความจำเป็นและยุติธรรม เพราะพระพุทธศาสนาไม่มีการบังคับศรัทธา แต่ให้ เสรีภาพแก่ทุกคนอย่างเปิดกว้างที่สุด จึงมีหลักเกณฑ์เป็นมาตรฐาน เหมือนอย่างในสังคมประชาธิปไตย ซึ่งต้อง อยู่ด้วยกฎหมายหรือกติกา ด้วยวิธีนี้ พระพุทธศาสนาตัวจริงที่เป็นหลักการจึงอยู่มาได้ ท่ามกลางประชาชนที่มี ความรู้ความเข้าใจในพระศาสนาต่างๆ กัน มากบ้างน้อยบ้าง และมีความคิดเห็นหลากหลาย โดยที่สถาบันพระ พุทธศาสนาอยู่กับเขาด้วยเมตตา ไม่ไปบังคับเขาให้ต้องเชื่อและทำตาม
         เมื่อมองสังคมพุทธเถรวาทในวงกว้าง ก็เป็นคล้ายอย่างที่ฝรั่งเป็นต้นบางพวกมามองว่า เมืองไทย เหมือนมีพระพุทธศาสนา 2 แบบ คือ พุทธศาสนาที่เป็นตัวแท้ตัวจริง กับพุทธศาสนาแบบชาวบ้าน แต่นอกเหนือ จากที่ว่านี้ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่เขาอาจจะมอง ไม่ถึง คือสะพานเชื่อมระหว่างพระพุทธศาสนา 2 แบบนั้น
         ที่ว่านี้หมายความว่า ในขณะที่พระพุทธศาสนาแบบตัวแท้ดำรงรักษาหลักการแห่งนิพพานที่เป็นสภาว
ธรรมอสังขตะไว้ ประชาชนอาจจะเชื่อถือเพี้ยนออกไปไกล จนแม้แต่มองพระนิพพานเป็นอมตมหานคร ดังคำ ประพันธ์เชิงกวีในภาษาบาลีและวรรณคดีเก่าๆ ของไทย ทั้งสองอย่างก็อยู่คู่กันมาได้ โดยไม่อึดอัดขัดแย้ง
เพียง แต่คอยระวังโดยไม่ประมาท ไม่ให้ถลำไปไกล
         แต่ข้อสำคัญ ระหว่าง 2 แบบนั้น ที่ว่ามีสะพานเชื่อม ก็คือ พระพุทธศาสนาแบบตัวแท้ก็จะคอยหา โอกาสแนะนำสั่งสอนหลักการที่แท้จริงอยู่เสมอ แล้วในหมู่ประชาชนมากมายที่แตกต่างหลากหลายเหล่านั้น บางคนบางส่วนก็จะทยอยก้าวขึ้นมาสู่พระพุทธศาสนาแบบตัวแท้ตัวจริงนั้น โดยนัยนี้การพัฒนาคน และพัฒนา
สังคมก็เกิดขึ้น
         ปัจจัยสำคัญที่รักษาระบบนี้ไว้ ก็คือ การดำรงรักษาหลักการที่แท้จริงไว้อย่างมั่นคงด้านหนึ่ง และเสรี ภาพทางปัญญาของประชาชนในบรรยากาศแห่งเมตตาอีกด้านหนึ่ง พร้อมกับตัวประสานก็คือการที่พระสงฆ์ ปฏิบัติศาสนกิจนำธรรมวินัยที่ได้เล่าเรียนศึกษาปฏิบัติมาเผยแผ่สั่งสอนประชาชนโดยไม่ประมาท
         ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมาทำลายระบบที่ว่ามานี้เสีย ก็คือ
การฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จาก ศรัทธาของประชาชนชาวบ้าน พร้อมกับทำลายตัวหลักการที่แท้ของพระพุทธศาสนา ซึ่งจะทำให้สะพานเชื่อม ระหว่างพระพุทธศาสนา 2 แบบนั้น พังทะลายขาดไปด้วย เหลือไว้แต่ความสับสน พร้อมกับความสูญสิ้นของพระ พุทธศาสนา และความเสื่อมสลายแห่งประโยชน์สุขของประชาชน
         2. ความชัดเจนในการพิจารณาปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การแยกแยะขั้นตอนหนักเบาของการกระทำ ว่าแค่ไหนจะกระทบกระเทือน หรือถึงกับทำลายพระธรรมวินัย อย่างน้อยจะเห็นได้ว่าสามารถแยกเป็น 3 ขั้น
         1) ขั้นทัศนะส่วนตัว ท่านผู้นั้นยังไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือไม่เชื่อ และอาจจะแสดงทัศนะออกมาเป็นการไม่ยอมรับ ไม่พอใจ หรือน้อยใจต่อคำสั่งสอนในพระธรรมวินัย ซึ่งยังเป็นเรื่องของการที่จะชี้แจงถกเถียง และดำเนิน การต่างๆ ในกระบวนการของการศึกษา
         
2) ขั้นปฏิเสธพระศาสดา หรือปฏิเสธพระธรรมวินัย เช่น กล่าวว่าพระไตรปิฎกเป็นหลักฐาน
ที่เชื่อถือ ไม่ได้ หรือพยายามทำให้ผู้คนเข้าใจสับสนว่า พระไตรปิฎกบันทึกไว้ตกๆ หล่นๆ เอาเป็นมาตรฐานไม่ได้ เพราะ ฉะนั้นหลักการที่มีอยู่ในคัมภีร์จึงเชื่อถือไม่ได้ (ขั้นนี้คือที่กล่าวว่า ถ้าผู้ปฏิเสธเป็นพระภิกษุ ก็คือปฏิเสธความเป็น พระภิกษุของตน เพราะเป็นการปฏิเสธพุทธ
บัญญัติที่กำหนดการบวชและศีล 227 ที่ตนรักษา)
         3) ขั้นปลอมปนพระธรรมวินัย คือกล่าวให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป เช่น เมื่อพระไตรปิฎก
สอนว่าอย่างนี้ กลับบอกว่าพระไตรปิฎกไม่ได้สอนอย่างนี้ แต่สอนอย่างนั้น หรือนำเอาคำสอน
และบัญญัติภายนอก แม้ แต่ของพุทธศาสนานิกายอื่นๆ เข้ามาแทรกแซงปะปนในพระธรรมวินัย
หรือในพระไตรปิฎก
         ขั้นที่ 2 และ 3 นี้ เรียกว่า เป็นการจาบจ้วงพระธรรมวินัย
         จะเห็นว่า พระเถระ และพระมหาเถระทั้งหลาย ที่แสดงมติ ทัศนะ ความเห็นต่างๆ กันไปนั้น มักอยู่เพียง
ในขั้นที่ 1 ท่านไม่ได้ก้าวล่วงมาถึงขั้นที่ 2 และ 3 เมื่อพุทธศาสนิกชนรู้หลักเกณฑ์วินิจฉัยในพระศาสนา ก็รับฟัง ด้วยความเท่าทันและช่วยกันศึกษาต่อไป
         แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตามเอกสารของวัดพระธรรมกาย เป็นเหตุให้ต้องแก้ไข ก็เพราะ
เป็นการกระทำที่ถึง ขั้นจ้วงจาบพระธรรมวินัย ทั้งขั้นที่ 2 และ ขั้นที่ 3