หนังสือพิมพ์ สยามธุรกิจ
คู่ มื อ ธุ ร กิ จ หนังสือพิมพ์ธุรกิจรายสัปดาห์ที่มียอดสมาชิกผู้อ่านประจำสูงสุด
ฉบับที่ 206 ปีที่ 4 วันที่ 22 - 28 พฤศจิกายน 2541
ขอดเกล็ด'ธรรมกาย-ธรรมโกย'
งานวิจัยโบแดง'ด็อกเตอร์มช.'ชี้ชัด
จุฬาลงกรณ์ ฯ- หลวงพ่อเจ้าอาวาสสวมจีวรผ้าป่านจากสวิสหรูระยับ สร้างภาพสุด
ๆ ให้เป็น บุคคลวิเศษ ศักดิ์สิทธิ์เหนือมนุษย์ถึงขั้นเป็นองค์อวตารต้นกำเนิดของสรรพสิ่งทั้งปวงในจักรวาล
เผยพิธีกรรมสุดอุตริ "ถวายข้าวแด่พระนิพพาน" ซึ่งอยู่ในแดนสุขาวดีผ่าน"พระธัมมชโย-แม่ชีจัน
ทร์" แพร่ลัทธิอวดอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์เพื่อบรรลุแผนการระดมทุนหลากหลายรูปแบบด้วยกลยุทธิ์ได
เร็คเซลล์-ฮาร์ดเซลล์ชี้เปรี้ยง"ธรรมกายขายบุญ"ให้คอมมิชชั่นเป็นรางวัลแก่เอเยนต์ด้วยการนำ
"ขึ้นดอย" แฉปมปริศนาพระระดับนำ"ฆ่าตัวตาย"คาวัด
จากกรณีที่"สยามธุรกิจ"ได้เสนอข่าว"ชำแหละวัดพระธรรมกาย"มาอย่างต่อเนื่อง
ด้วย การตีแผ่พฤติกรรมอันไม่ชอบมาพากล เข้าข่าย 18 มงกุฎ หลาย ๆประการ เป็นต้นว่า
การสร้าง เรื่องอวดอิทธิปาฎิหาริย์หลอกลวงศาสนิกชนการดำเนินการระดมทุนอันปรากฎชัดถึงกลวิธี"ขาย
บุญ"ตลอดจนการเผยแพร่คำสอนประเภทเดียรัจฉานวิชชาอันบิดเบือนหลักธรรมคำสอนของพระ
พุทธศาสนา
ปรากฎว่าทางพระเถระและนักการศาสนาหลายท่านได้ส่งเอกสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์มายัง
"สยามธุรกิจ"จำนวนมากเพื่อใช้ในการตีแผ่ถึงความไม่ชอบมาพากลของวัดพระธรรมกาย
ล่าสุด "สยามธุรกิจ"ได้รับเอกสารวิจัยวัดพระธรรมกายของศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซึ่งได้เปิดเผยข้อมูลและกิจกรรมต่างๆของวัดธรรมกายมาอย่างน่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อแวด
วงพุทธศาสนาอย่างมาก
โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี2538
และได้ทำสำเร็จลงในปี 2540 ผู้วิจัย คือ อาจารย์ดร.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล ศิษย์เก่าคณะ
อักษรศาสตร์ และรัฐศาสตร์มหาบันฑิตด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
จบปริญญาเอกด้านสังคมวิทยาศาสนาจากมหาวิทยาลัยบีเลเฟลด์ (Bielefeld) ประเทศเยอรมนี
ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานวิจัยชิ้นนี้ชื่อว่า "ศาสนทัศน์ของชุมชนเมืองสมัยใหม่ - ศึกษากรณีวัดพระธรรมกาย"ซึ่ง
ในการทำวิจัย ดร.อภิญญาได้เข้าไปอยู่ที่วัดพระธรรมกายเป็นระยะๆ เพื่อศึกษาถึงกิจกรรม
ของทางวัดและสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในระดับต่างๆ ทั้งจากกัลยาณมิตรและบุคคลชั้นนำของวัด
ตลอดจนถึงการศึกษาจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ของวัด
ผลงานการวิจัยของดร.อภิญญา ได้เปิดเผยให้เห็นถึงความเป็นมาของวัดพระธรรมกาย,
แนวคิดของสำนักวัดธรรมกาย, โครงสร้างขององค์กรการบริหาร, กิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนความสัมพันธ์ขององค์กรบุคคลภายนอกซี่งงานวิจัยได้ตีแผ่ข้อมูลออกมาอย่างน่าสนใจและ
เห็นได้ชัดเจนว่า วัดพระธรรมกายพยายามสร้างภาพความเป็นผู้นำศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเจ้าอา
วาสด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ดูเหมือนว่า เจ้าอาวาสมีบารมี มีพลังอำนาจเหนือคนธรรมดา
ขณะเดียวกัน ก็ใช้ปาฎิหาริย์เป็นตัวนำในการระดมทุนให้คนมาทำบุญอย่างชัดเจนโดยไม่สนใจ
คำตำหนิว่าเป็นพุทธพาณิชย์ พร้อมกับวางแผนให้สมาชิกขายบุญโดยการกระตุ้นให้มีการแข่งขัน
จนกระทั่งสร้างความเครียดให้กับสมาชิกบางคนถึงขั้นเคยเกิดกรณีพระชั้นนำฆ่าตัวตายในวัด
นอกจากนี้ยังได้สร้างรูปแบบพิธีกรรมที่แปลกแหวกแนวคือการถวายข้าวพระแด่พระธรรมกาย
ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกพระองค์ซึ่งมีตัวตนเที่ยงแท้สถิตย์อยู่ในอายตนนิพพานโดย
มีหลวงพ่อธัมมชโยและแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ใช้สื่อติดต่อและใช้สมาธิกลั่นของหยาบคือ
อาหารหวานคาวให้เป็นทิพย์เพื่อถวายพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์
สิ่งที่สำคัญ คือ หลวงพ่อธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดธรรมกายพยายามแสดงให้เห็นว่า
ตนเป็น อวตารภาคหนี่งของ"องค์พระธรรมกายต้นธาตุ"อันเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งในจักรวาล
สร้างภาพผู้นำศักดิ์สิทธิ
ให้"ธัมมชโย"เหนือมนุษย์
งานวิจัยชิ้นนี้ ระบุว่า วัดพระธรรมกายพยายามสร้างภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำศักดิ์สิทธิ์ของ
หลวงพ่อธัมมชโย เจ้าอาวาส ด้วยวิธีการต่าง ๆ นับตั้งแต่การเล่าถึงอัตตชีวประวัติของหลวงพ่อ
ธัมมชโย ที่พยายามแสดงให้เห็นว่า บุคคคลผู้นี้มิใช่คนธรรมดา แต่เป็นผู้วิเศษที่ลงมาเกิด
ชีวิต ในวัยเด็กถึงหนุ่มก็ล้วนดำเนินไปอย่างคนเหนือธรรมดา ขณะเดียวกัน
วัตรปฎิบัติขณะเป็นพระก็ พยายามสร้างจารีตในวัดขึ้นมาเพื่อแสดงถึงความเหนือมนุษย์ของหลวงพ่อธัมมชโย
กลไกสำคัญในเรื่องนี้ คือ การวางตัวในความสัมพันธ์กับสมาชิกวัด โดยดร.อภิญญากล่าวใน
งานวิจัยว่า " ลักษณะการดำเนินเรื่องดังกล่าวเป็นการสร้างภาพผู้นำศักดิ์สิทธิ์ที่มี
"นิมิตหมาย" หลายรูปแบบรวมทั้งการมีคุณสมบัติเหนือธรรมดา นอกจากการใช้สื่อสิ่งพิมพ์แล้วกลไกสำคัญใน
การสร้างบารมี(charisma)ของผู้นำก็คือการจัด"ระยะห่าง"กับสมาชิกท่านเจ้าอาวาสจะไม่ฉันร่วม
กับพระลูกวัดไม่ปรากฎกายให้เห็นบ่อยนักไม่รับแขกทั่วไปที่กุฎิยกเว้นบางรายเวลาที่ญาติโยมจะ
ได้พบท่านจะมีการกำหนดในบ่ายวันอาทิตย์บางอาทิตย์ ท่านไม่ลงมาสอนสมาธิแก่สาธุชนทั่วไป
ผู้จะได้เรียนกับท่าน คือ ผู้ที่ได้รับเลือกสรรว่า มีคุณสมบัติพิเศษหรือเป็นผู้ที่มีสมาธิแข็ง
กล้าพอควร และต้องการเรียนวิชชาธรรมกายชั้นสูง
นอกจากนั้น สิ่งสำคัญที่เป็นคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความห่าง ก็คือ พลังอำนาจที่เกิดจากการทำ
สมาธิ จากคำบอกเล่าของชาวธรรมกาย หลวงพ่อของเขาสามารถทำอิทธิปาฎิหาริย์ให้เห็นได้เมื่อ
ท่านต้องการการคุยกันในเรื่องเหล่านี้รับฟังได้บ่อยครั้งมากในวงกินข้าวไปจนถึงการคุยอย่างจริง
จังและมีปรากฎในข้อเขียนและสิ่งพิมพ์ของวัดอยู่บ่อยๆ บางคนเล่าถึงแสงรัศมีที่ฉายออกจากตัวท่าน
ความสามารถในการรู้วารจิตผู้อื่น พรที่ท่านให้เชื่อกันว่า ขลังและศักดิ์สิทธิ์
ยิ่งโครงการต่าง ๆ ที่ทำและจะทำกันหลายโครงการเป็นสิ่งที่ท่านมองเห็นมาก่อนในสมาธิ
ดังนั้น การได้ใกล้ชิดท่านจึงเป็นอภิสิทธิ์ที่ใครๆ ปรารถนา การให้โอกาสตรงนี้จึงเป็น
อีกวิธีหนี่งของการใช้ระยะห่างอย่างมีประสิทธิภาพเป็นวิธีการให้รางวัลอย่างหนึ่งและใน
ด้านกลับกันก็สามารถเป็นวิธีลงโทษได้ด้วย"
ชวนขึ้นดอยฝึกสมาธิชั้นสูง
จีวรสมภาร"ป่านสวิส"
ดร.อภิญญา กล่าวในบทวิจัยว่า ในวาระพิเศษที่มีให้แก่ผู้ที่มีความสามารถในการทำสมาธิ
หรือ ผู้ที่ทำงานอุทิศอย่างทุ่มเทก็คือ "การขึ้นดอย" หรือการได้ไปฝึกสมาธิขั้นสูงแบบเข้มข้นกับ
หลวงพ่อโดยไปปฎิบัติในป่าบนเขาสูง เช่น ที่ภูกระดึง
"หลวงพ่อจะเป็นผู้กำหนดเองในแต่ละครั้งว่าจะเลือกใครไปบ้าง บางครั้งก็กำหนดเวลาไป
หลังงานบุญใหญ่เพื่อเป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่งกับผู้ปฎิบัติงานด้วย ผู้ที่เคยไปมาแล้วจะกลับมาบอก
เล่าถึงผลถึงความคืบหน้าที่น่าอัศจรรย์ เช่น "ได้สว่างพรึบพรั่บกันถ้วนหน้า"
(หมายถึงได้เห็น องค์พระธรรมกายปรากฏ) ส่วนใหญ่ของผู้ได้ไปก็มักเป็น "พระใน"
( คือพระที่อุทิศตนบวชไม่สึก และเป็นระดันนำของวัด) เจ้าหน้าที่ฆราวาสระดับสูง
สมาชิกฆราวาสผู้ใกล้ชิดหลวงพ่อและผู้ที่ ท่านเล็งเห็นว่า มีศักยภาพในด้านธรรมปฎิบัติ
"
นอกจากนั้น ในวัดแห่งนี้ ยังได้มีการแบ่งพระออกเป็น 2 กลุ่ม คือ "พระในกับพระนอก"
พระในหมายถึงพระที่ปวารณาตัวเองไม่สึก มีไม่กี่รูป ซึ่งพระในเป็นผู้ที่มีตำแหน่งผู้บริหารระดับ
สูงของวัด ส่วนพระนอกเป็นพระที่ปรารถนาจะสึกเมื่อไหร่ก็ได้
ดร.อภิญญา กล่าวในบทวิจัยว่า "การปฎิบัติของชาววัดต่อพระในจะมีความเคารพนอบน้อม
เป็นอย่างมากในงานพิธีต่างๆ ก็จะนั่งในตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น แถวหน้าหรือที่ที่ใกล้หลวงพ่อจะ
เป็นของพระใน นอกจากนั้น จีวรก็เป็นสัญลักษณ์ของการแบ่งระดับชั้นด้วยในขณะที่จีวรของพระ
นอกเป็นผ้าธรรมดา จีวรของพระในจะทำมาจากป่านสวิสราคาแพง เนื้อผ้าคุณภาพเยี่ยม
ห่มแล้ว ไม่ร้อน และเมื่อย้อมสีก็จะได้สีเหลืองที่สว่างกระจ่างตา ยิ่งกว่าสีจีวรทั่วไป"
ธรรมกายที่แท้ธรรมโกย
สินค้าบุญวางขายเกลื่อน
ข้อ 3.3 ของบทวิจัย ซึ่งดร.อภิญญาตั้งชื่อหัวข้อว่า "กระบวนการทำให้บุญเป็นสินค้า"
ได้ระ บุว่า วัดธรรมกายได้ยึดเอาการทำบุญเป็นหัวใจของแผนยุทธศาสตร์ระดมทุนของวัด
โดยไม่สนใจ ภาพพจน์ของการเป็น"พุทธพาณิชย์"แม้แต่น้อยทั้งนี้ในการระดมทุนทางวัดธรรมกายใช้หลักการ
ตลาดสมัยใหม่เข้ามาเกี่ยวข้องเช่นวิธีการน็อคดอร์ด้วยการให้กัลยาณมิตรบอกบุญเข้าไปหา
ลูกค้าและหากใครประสงค์จะมาทำบุญที่วัดทางวัดก็จัดรถอำนวยความสะดวกในการเดินทาง
ตามจุดต่างๆไว้คอยบริการเมื่อมาถึงวัดก็มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเตรียมรองรับไว้อย่าง
พร้อมเพรียง
ในวัดนั้นมีสินค้าบุญหลากหลายรูปแบบให้เลือก โดยดร.อภิญญา ระบุว่า"ในเรื่องของ
product หรือตัวสินค้านั้น วัดมีเทคนิคมากมายที่จะทำให้สินค้าดูน่าดึงดูด
เทคนิคทึ่สำคัญประการ แรก คือ จะต้องทำให้ตัวสินค้ามี "ความหลากหลาย"
อีกนัยหนึ่ง คือทำให้ผู้บริโภคเพลิดเพลิน กับความรู้สึกว่า ตนมีโอกาสเลือกได้มากกว่าหนึ่ง
ดังนั้นจึงต้องมีการคิดค้นรูปแบบใหม่ ๆ ของ การทำบุญมาเสนอ
ตัวอย่างกองบุญที่มีอยู่ คือ กองบุญภัตตาหาร กองบุญธุดงค์ กองบุญน้ำปานะ
กองบุญยาน พาหนะ กองบุญพิมพ์พระไตรปิฎก กองบุญปล่อยนกปล่อยปลา กองทุนปัญญาบารมี
(บริจาคเพื่อพัฒนา สื่อสารมวลชนของวัด) กองบุญ "สหวาร" ที่ชักชวนให้ผู้เกิดวันเดียวกัน
(วันประจำสัปดาห์) มาร่วมทำบุญด้วยกัน นอกจากนั้นบางกองบุญยังทำเทคนิคการออมทรัพย์มาใช้
เช่น "แก้วมณีทวี บุญ" เป็นโครงการชักชวนให้ซื้อกระปุกออมสินเป็นพลาสติกใสทรงกลมเหมือนลูกแก้ว
ผู้วิจัยเคย เห็นบางคนหยอดกระปุกนี้ด้วยแบงก์ร้อย เมื่อสะสมจนเต็มจะมีโอกาสเข้าถวายแก้วนี้แด่ท่านเจ้า
อาวาส ซึ่งเป็นโอกาสที่หาได้ยากและถือกันว่า ได้บุญยิ่ง
อีกโครงการหนึ่งที่น่าสนใจคือ "โครงการเศรษฐีถาวร" ในแผ่นพับที่โฆษณาโครงการนี้
อธิบายไว้ว่า มีการคำนวณว่าแต่ละเดือนวัดต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านอาหารประมาณสองหมื่นบาท
หากผู้ใดปรารถนาจะเกิดเป็นเศรษฐีทุกภพชาติ ก็ขอเชิญมาร่าวมบริจาคเข้ากองทุนนี้โดยมีเงี่อน
ไขว่า ให้บริจาคเดือนละหนี่งพันบาทเพื่อกองทุนนี้ทุก ๆ เดือนตลอดชั่วชีวิต
"ความร่ำรวยในชาติ ภพปัจจุบันเป็นเพียงผลพวงของการกระทำในอดีตชาติ
ใครปลูกถั่วคนนั้นก็จะได้ถั่ว"
"นอกจากกองบุญในลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว วัดยังมีพิธีบุญใหญ่ประจำปี
3 งาน คือ มาฆบูขา วิสาขบูชาและกฐิน ความสำคัญประการหนึ่งของงานบุญทั้ง
3 อยู่ที่เป็นโอกาสหลักของ การระดมทุนในแต่ละปีช่วง 2 ถึง 3 เดือนก่อนหน้างานบุญใหญ่แต่ละครั้ง
เป็นช่วงที่จะมีการเดิน สายบอกบุญอย่างเข้มข้นต่อเนื่องและเป็นระบบ
นอกจากงานบุญใหญ่ทั้ง 3 นี้แล้ว วัดยังมีโครงการบุญเฉพาะกิจที่เสนอออกมาอยู่เรื่อย
ๆ เช่น ในโอกาสระดมทุนหล่อพระพุทธรูปถวายวัดพุทธในต่างประเทศ ระดมทุนสร้างรูปหล่อพระ
มงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ) ระดมทุนสร้างวิหารหลวงพ่อสด ล่าสุดและที่โหมทุนโฆษ
ณามากที่สุดเห็นจะเป็นโครงการสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งภายในจะบรรจุพระพุทธรูปธรรม
กายประจำตัวของผู้มีจิตศรัทธาสร้างองค์พระ มีพิธีตอกเสาเข็มต้นสุดท้ายไปเมื่อเดือนกันยายน
2539
แต่ละโปรเจ็คของวัดจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ในแง่เป้าหมาย เป็นการตอกย้ำถึงอา
นิสงส์ของบุญและการสร้างสมบารมี ในแง่เทคนิค มีการใช้รูปแบบประชาสัมพันธ์แบบต่าง
ๆ ตั้ง แต่การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ วีดิทัศน์ การเทศน์ไปจนถึงการใช้พิธีกรรมสร้างความรู้สึกศักดิ์สิทธิ์และใช้
เครือข่ายกลุ่มกัลยาณมิตรเป็นฐานการระดมทุน ความแตกต่างของแต่ละโปรเจ็คอยู่ที่ระดับความ
เข้มข้นหรือขอบเขตการทุ่มเททรัพยากรว่า จะให้โหญ่โตเพียงใดเท่านั้น "
นักบุญเฉพาะกิจ-ไดเร็กเซลล์
ใช้ดวงแก้วเครื่องหมายการค้า
การะดมทุนทำบุญของวัดธรรมกาย ได้ใช้เทคนิคการกระตุ้น และ สร้างกลุ่มผู้บอกบุญมา
ใช้อย่างเข้มข้น โดยดร.อภิญญา ระบุว่า "ในช่วงก่อนงานบุญใหญ่ประจำปีทั้ง
3 หรืองานบุญใหญ่ เฉพาะกิจ มีการจัดตั้งกลุ่มกัลยาณมิตร "เฉพาะกิจ"
ที่มีเป้าหมายและความเชี่ยวชาญเรื่องระ ดมทุนโดยเฉพาะ กลุ่มพิเศษนี้แต่ละกลุ่มจะประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่วัด
สมาชิกฆราวาสที่กระตือรือ ร้นและมีประสบการณ์สูงในการระดมทุน และมี "พระใน"
1 รูป เป็นผู้ดูแล
ปัจจุบันมีกลุ่มพิเศษดังกล่าว 10 ทีม แต่ละทีมมีชื่อที่ไพเราะและเป็นมงคล
ดังนี้ คือ แก้วธรรมกาย แก้วกายธรรม แก้วเต็มคลัง แก้วประสานใจ แก้วขุนพล
แก้วจักพรรดิ์ แก้วสัม พันธ์ แก้วดอยธรรม แก้วกัลยาณมิตรและแก้วภูธร จะเห็นว่า
สำหรับชาวธรรมกาย "ดวงแก้ว" เป็นสัญลักษณะศักดิ์สิทธิ์ที่กลายมาเป็น
"เครื่องหมายการค้า"ที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งเราจะพบการใช้ดวงแก้วเป็นสัญญลักษณ์การระดมทุนหลายแบบ นอกจากใช้ตั้งชื่อกลุ่มระ
ดมทุนเพื่อเอาเคล็ดเอาชัยแล้ว การใช้ดวงแก้วเป็นกระปุกออมสินในโครงการแก้วมณีทวีบุญยังสะ
ท้อนการประสานสัญญลักษณ์ของระบบออมทรัพย์เข้ากับสัญญลักษณ์แห่งการปฎิบัติเพื่อไปพ้นโลกด้วย
นอกจากนี้ ในสินค้าต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายในวัด ก็มักใช้ดวงแก้วเป็นโลโก้เสมอ
ๆ
นอกจากการตั้งทีมเฉพาะกิจที่เชี่ยวชาญเรื่องระดมทุน ยังมีการตั้งตำแหน่งที่เรียกว่า
"ประ ธานกอง" เมื่อผู้ใดถูกทาบทามเป็นประธานกอง ก็จะต้องพยายามหาลูกกอง
คือ ผู้ที่ทำบุญร่วม ทีมด้วย จะเป็นกี่คนก็ได้ แต่ละกองจะได้รับแจกแผ่นพิมพ์สีสวยงามด้วยกระดาษอย่างดีให้กรอกชื่อ
ที่อยู่ของประธานและลูกทีมร่วมกองและจำนวนเงินบริจาค ชาววัดมักแข่งกัน
"ทำกอง"คือไป แสวงหาเพื่อนหรือผู้รู้จัก ซี่งไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกวัดเลยก็ได้ให้มาเป็นประธานกอง
และประ ธานกองก็จะต้องไปหาลูกทีมมาร่วมบริจาค
เทคนิคนี้ชี้ให้เห็นวิธีการกระจายภาระบอกบุญไปนอกเครื่อข่ายสมาชิก การตั้งตำแหน่งประ
ธานรองและประธานกองนึ้จึงเป็นเคล็ดยุทธศาสตร์สำคัญของการขยายเครือข่ายการบอกบุญ
ใน ลักษณะ"direct sale" ออกไปย่างไพศาลและซับซ้อน "
ติวเข้มเทคนิคการขูดรีดบุญ
มอบโล่เกียรติคุณผู้ทำเป้า
งานวิจัยกล่าวว่าการทำบุญดังกล่าวได้นำเอากลยุทธ์ทางการตลาดมาใช้ อย่างเต็มรูปแบบ
บ่อยครั้งมีการฉายสไลด์เชิญวิทยากรมาอบรมเทคนิคให้กับเจ้าหน้าที่ระดมทุน มีการตั้งเป้าหมายทำ
ยอดบุญ ตลอดจนแข่งขันทำยอดสร้างบุญและมีรางวัลให้
ในรายงานการวิจัย ดร.อภิญญา กล่าวว่า "สำหรับเทคนิค promotion
ที่นำมาใช้เพื่อ กระตุ้นกลุ่มนั้น มีการประชุมกลุ่มย่อยและประชุมหัวหน้ากลุ่มบ่อยครั้ง
บรรยากาศในที่ประชุมคึก คักมาก มีการฉายสไลด์มัลติวิชั่น วีดิโอ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกียวกับเทคนิคการจูงใจคน
มี การวางแผนแบ่งกลุ่มจัดสายออกเพื่อบอกบุญประชาชน และเพื่อให้แต่ละคนทุ่เทเต็มที่
ก็มักมีการกำ หนดเป้าหมายว่า ตนจะ"ทำยอด"ได้สักเท่าใด การแข่งขันระหว่างกลุ่มต่าง
ๆ จึงมีสูง
มารตรการสำคัญที่เร้าให้ทุกคนทุ่มกายถวายชีวิตต่อกิจกรรมนี้ คือการสร้างแรงกระแสด้วย
การตั้งรางวัลสำหรับผู้ที่สามารถ "ทำเป้า" ภายในเวลาที่กำหนดให้ได้ก่อนผู้อื่น
เช่น ภายใน 2 หรือ 3 อาทิตย์ บอกบุญครบ 1,000 บาท ได้ลูกแก้วเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการภาวนา
1 ลูก บอกบุญ ได้ 10,000 บาท ได้ล็อกเกตรูปคุณยายจันทร์ ทำเป้าครบ 20,000
บาท ได้พระพุทธรูปธรรม กายหน้าตัก 3 นิ้ว หากได้ยอด 100,000 บาท ได้พระพุทธรูปธรรมกายหน้าตัก
9 นิ้วเป็นต้น"
"มาตรการปลุกกำลังใจอีกประการหนึ่ง คือ พิธีมอบโล่เกียรติคุณแด่ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็น
"ยอดอาสากัลยาณมิตร" ที่สามารถทำเป้าสูงสุด พิธีนี้จัดขึ้นหลังงานบุญใหญ่ราวหนึ่งหรือสองอา
ทิตย์ ในพิธีมีการสดุดีและเชิญผู้ได้รับคัดเลือกให้ผลัดกันขึ้นมาบนเวที
เล่าถึงประสบการณ์การทุ่ม เทมอบกายถวายชีวิตแด่กิจกรรมนี้
ครั้งหนี่งผู้วิจัยเข้าร่ามสังเกตุการณ์ด้วย ได้รู้สึกประทับใจกับเรื่องของยอดอาสากัลยาณม
ติรผู้หนึ่ง ซึ่งถูกมะเร็งคุกคาม ขณะนอนในโรงพยาบาล ความอยากสั่งสมบารมีทำให้เธอพาก
เพียบอกบุญกับหมอ พยาบาล ผู้มาเยี่ยมไข้และคนทุกคนที่โผล่เข้ามาในห้อง
จนกระทั่งสา มารถลบอกบุญได้ทะลุหลักล้านทั้งที่นอนป่วยอยู่ และความปิติทำให้เธอเอาชนะโรคได้อย่างน่า
อัศจรรย์
อีกรายหนึ่งที่เชี่ยวชาญการกระจายสร้างทีมเล็ก ๆ หลายทีม และตั้งชื่อทีมในลักษณะปลุก
เร้า เช่น "ฟ้าตะลุย" หรือ "สุดชีวิตของฟ้า" เล่าถึงประสบการณ์ของลูกทีมที่เป็นนักศึกษาที่ไม่
เคยบอกบุญมาก่อน ใช้วิธีอธิษฐานจิตให้เข้มแข็งจนสามารถบอกบุญได้ดะไปหมด ตั้งแต่คนแปลกหน้า
ในรถเมล์ไปจนถึงลูกค้าในร้านก๋วยเตี๋ยว ผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์ก็อาศัยโทรศัพท์บ้านเพื่อนทีละหลาย
ๆ ชั่วโมง บอกบุญกันอย่างไม่คิดชีวิต สุดท้ายคือ การเทกระเป๋าตนเองจนถึงบาทสุดท้ายเข้าสมทบ"
ซึ่งการทำอย่างอย่างสุดจิตสุดใจ ทำกันอย่างทุ่มเทเต็มที่นั้นก็เพราะเชื่อว่า
หลวงพ่อธัมม ชโยเป็นบุคคลวิเศษสุดยอด โดยดร.อภิญญา ระบุว่า "สานุศิษย์ของหลวงพ่อธัมมชโย
เชื่อมั่นว่า หลวงพ่อของพวกเขา คือ "รถไฟขบวนสุดท้าย" ที่จะขนพาสรรพสัตว์ข้ามวัฎฎสงสาร
ดังนั้น ทางรอดทางเดียว ก็คือ การสั่งสมบุญอย่างสุดชีวิตเพื่อให้ปฎิบัติเข้าถึงพระธรรมกายให้ได้
ความสำคัญของการไปบอกบุญผู้อื่นจึงเข้าใจได้จากวิสัยทัศน์ดังกล่าวนี้เอง"
แข่งขันบุญ - ปลุกเร้าความวิเศษ
โศกนาฏกรรมพระชั้นนำฆ่าตัวตาย
งานวิจัย เปิดเผยว่าในการทำบุญที่ทางวัดพระธรรมกายสนับสนุนให้มีการแข่งขัน
รวมทั้ง การปลุกเร้าความวิเศษของธรรมกาย และ การบริหารองค์กรที่เน้นลำกับจากบนสู่ล่างได้ทำให้
เกิดความแข่งขันชนิดสุดฤทธิ์สุดเดชนจนเกิดความเครียดและลงเอยถึงขั้นเคยมีการฆ่าตัวตายเกิด
ขึ้นในวัด
ซึ่งดร.อภิญญาระบุว่า"ค่านิยมที่เน้นศักยภาพปัจเจกบุคคลและการแข่งขัน
เมื่อมาผสม
ผสานอยู่ภายใต้ระบบการตัดสินใจแบบบนลงล่าง และ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เน้นลำดับขั้น
มาก มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความอึดอัดและตึงเครียดทางจิตใจแก่ผู้ปฎิบัติงานได้ง่าย
ยิ่งกว่านั้น การโต้เถียงหรือระเบิดอารมณ์ถือว่าสะท้อนถึงการที่คนผู้นั้นไม่มีสมดุลย์ในจิตใจ
แสดงว่า สมาธิยัง ไม่แกร่ง ยังไม่อาจประหารกิเลสหยาบ ๆ ได้และยิ่งหากระเบิดอารมณ์เข้าใส่ผู้ที่ฐานะสูงกว่า
ด้วยแล้ว ก็เป็นสิ่งที่จะถูกติเตียน
ค่านิยมที่เน้นการประนีประนอมทำให้ในหลาย ๆ กรณี ผู้ที่เป็นสาเหตุความขัดแย้งจะไม่มา
พูดชี้แจงอธิบายจุดยืนหรือโต้กันแบบซี่งๆหน้า แต่จะใช้วิธีต่างคนต่างทำแบบที่ตนคิดว่าถูก
ซึ่งหลายๆ ครั้งก่อความอึดอัดสับสนแก่เจ้าหน้าที่ชั้นรองๆที่เป็นผู้ปฎิบัติสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าวัดตระหนักถึงปัญหา
ความเครียดก็คือ การให้เจ้าหน้าที่ได้หยุดงานและเข้าสมาธิร่วมกันเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งอา
ทิตย์ในช่วงหลังงานบุญใหญ่เพื่อเป็นการพักผ่อน การเข้าสมาธิหมายถึงการทำสมาธิติดต่อกันวันละ
6 ถึง 8 ชั่วโมง ในแง่นี้นับว่า สมาธิมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความกดดันในการบริหารองค์กร
อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดก็ยังปรากฎให้เห็น ในกลุ่มเจ้าหน้าที่หญิงมีการคุยในลักษณะ
ปรับทุกข์ ปลอบโยนและหลายๆ ครั้งก็ไปปรึกษาพระและบางรายก็แก้ปัญหาด้วยการพยายามวิ
เคราะห์ตนเองว่าที่มาของปัญหาอยู่ที่ตัวของเขาเองอย่างไร
พูดอีกนัยหนึ่งปัญหาในเชิงโครงสร้างการบริหารถูกสลายกลายระดับมาเป็นปัญหาส่วน
บุคคล ในระดับบุคลิกภาพของปัจเจก อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่การจัดการตนเองไม่เป็นผล
ทางออกก็คือ ลาออกไป แต่ก็มีบางรายที่ลงเอยด้วยโศกนาฎกรรม พระภิกษุรูปหนึ่งเป็นกำลังสำ
คัญในการก่อตั้งวัดมาตั้งแต่ต้น ได้ชื่อว่าอุทิศตนอย่างสุดจิตสุดใจและเป็นที่รักเคารพยิ่ง
ของชาวธรรมกาย มรณภาพลงในวัดด้วยการฆ่าตัวตาย หลังจากทุกข์ทรมานด้วยอาการเครียด
ของโรค schizophrenia อย่างแรงที่ท่านพยายามปกปิดอยู่เป็นปี "
สำหรับการฆ่าตัวตายในวัดนั้น แหล่งข่าว"สยามธุรกิจ"เปิดเผยว่า
หลายปีก่อน พระชิโตเป็น พระสำคัญรูปหนึ่งของวัดพระธรรมกายได้ฆ่าตัวตายอย่างมีปริศนา
ถวายข้าวพระพุทธเจ้า-อรหันต์
ผ่านสื่อพระธัมมชโย-แม่ชีจันทร์
ในงานวิจัยข้อ 4.2.4 หัวข้อ "พิธีกรรมข้าวพระในพระนิพพาน : การทำให้พระนิพพาน
เข้ามาอยู่ใกล้ตัว " ระบุไว้ว่า วัดธรรมกายเชื่อในความมีตัวตนของ"พระนิพพาน"ซึ่งความเชื่อใน
เรื่องนี้ทำให้เกิดพิธีกรรมสำคัญพิธีหนึ่งขึ้นในวัดพระธรรมกาย ดร.อภิญญา
ระบุว่า "ชาววัดได้ แสดงศรัทธาที่แรงกล้าต่อความเขื่อในเรื่องความมีตัวตน
ของพระนิพพานผ่านพิธีกรรมสำคัญอันหนึ่ง ที่เรียกว่า การถวายข้าวพระในพระนิพพาน
ซึ่งเป็นพิธีที่จัดทุกวันอาทิตย์ต้นเดือนของทุกเดือน โดยจะมีสมาชิกมาร่วมมากมายกว่าวันอา
ทิตย์ในสัปดาห์อื่น ๆ ในระยะหลังความนิยมในพิธีนี้ของชาววัด เห็นได้จากการที่สมาชิกต่างจังหวัด
ไกล ๆ เช่น ที่เชียงใหม่ก็จะจัดขบวนรถทัวร์นำสมาชิกมาร่วมพิธีนี้อย่างสม่ำเสมอ
ชั้นตอนต่าง ๆ ของพิธีกรรมคล้ายคลึงกับพิธีกรรมของวันอาทิตย์อื่น ๆ...
แต่สิ่งพิเศษที่เพิ่มเข้ามานอกจากจำนวนสมาชิกที่หนาตากว่าทุกอาทิตย์
ก็คือ มีการตก แต่งบริเวณงดงามกว่าปกติ เช่น เพิ่มพุ่มดอกไม้ แจกันและการประดับดอกไม้สดในบริเวณฐานพระ
พุทธรูปและตรงที่นั่งของพระสงฆ์ มีโต๊ะตั้งอาหารหวานคาว ที่จัดอย่างประณีตเพื่อถวายแด่พระ
ธรรมกายของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทุกพระองค์ในพระนิพพาน คุณยายจันทร์
ขนนกยูงและ หลวงพ่อเจ้าอาวาสจะมาเป็นประธานในพิธีด้วย บรรยากาศจึงคึกคักเป็นพิเศษ
หลังจากนั่งสมาธิและสวดมนต์ร่วมกันแล้ว คุณยายจันทร์จะเป็นประธานกล่าวคำถวายข้าว
แด่พระธรรมกายในพระนิพพาน ให้ทุกคนกล่าวตาม เชื่อกันว่า การได้เข้าร่วมจรดใจน้อมใจ
ถวายข้าวพระนี้ได้บุญมาก เพราะคุณยายและหลวงพ่อเจ้าอาวาสจะใช้พลังสมาธิของท่านเป็นสื่อ
ติดต่อกับพระธรรมกายพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ซึ่งมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วนราวเมล็ดทราย
ในมหาสมุทร ซี่งสถิตย์อยู่ในอายตนนิพพานและใช้พลังสมาธิของท่านกลั่นของหยาบ
คือ อาหาร หวานคาวให้กลายเป็นของทิพย์ที่มีธาตุอันละเอียดประณีตเพื่อถวายพระธรรมกาย
พูดอีกนัยหนึ่ง ทุกคนในศาลาสามารถน้อมใจและถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้าในนิพพานผ่านสื่อกลาง
คือ คุณ ยายและท่านเจ้าอาวาสได้ "
สำหรับที่ประทับของพระพุทธเจ้าตามความเชื่อของวัดพระธรรมกายนั้น เชื่อว่า
พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่"อายตนะนิพพาน"ซึ่งเอกสารเผยแพร่ของชาวธรรมกายระบุว่า
"อายตนะ"นั้น "มี ลักษณะกลมรอบตัวขาวใสบริสุทธิ์ ... ขนาดนั้นสามารถวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ราว
141 ล้าน 3 แสน 3 หมื่นโยชน์ ขอบของอายตนะนิพพานหนาด้านละ 15,120,000
โยชน์ รวมขอบสองด้านก็ เป็น 30,240,000 โยชน์ ขอบนี้ก็กลมรอบตัวเช่นเดียวกัน
ส่วนเนื้อที่อยู่ในขอบ เป็นที่ประทับ ของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ... เป็นสถานที่โอ่โถงปราศจากสิ่งอื่นใด
... สว่างไสวไปด้วยรัศมี ธรรมอันโชติช่วง ... กายธรรมที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว
... มีกาย หัวใจ ดวงจิต และดวงวิญ ญาณวัดตัดกลาง 20 วาเท่ากันทั้งสิ้น
หน้าตักกว้าง 20 วา สูง 20 วา เกศดอกบัวตูมขาวใส บริสุทธิ์ ... บางพระองค์ที่เป็นพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า
ก็ทรงประทับอยู่ท่ามกลางพระอรหันต สาวกจำนวนมาก บางพระองค์ที่เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
... ก็ประทับโดดเดี่ยวอยู่โดยลำพัง ส่วนรังสีที่ปรากฎก็เป็นเครี่องบอกให้รู้ถึงการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้า
... ว่ามากน้อยกว่ากัน เพียงไร"
คลั่งใคล้อำนาจศักดิ์สิทธิ์-ละเลยหลักธรรม
เจ้าอาวาสเป็นองค์อวตาร
ในงานวิจัย ดร.อภิญญา ระบุว่า วัดธรรมกายมีความเชื่อและเน้นมากในเรื่องอิทธิปาฎิ
หาริย์ "เราจะพบว่า พระธรรมกายเป็นที่พึ่งแก่สมาชิกได้มากในเรื่องนี้
แม้ผู้ที่ยังไม่อาจปฎิบัติถึงขั้น เห็นองค์พระธรรมกายในตัว ก็ยังมีพระผงของขวัญองค์เล็กที่หลวงพ่อวัดปากน้ำทำเอง
ซึ่งขึ้นชื่อว่า ศักดิ์สิทธิ์นัก มีคุณสมบัติที่สามารถปกป้องภยันตรายต่าง
ๆ อีกด้วย...
แม้ในเทศนาหลาย ๆ แห่งของหลวงพ่อรองเจ้าอาวาส จะอธิบายถึงการใช้ธรรมเป็นเข็ม
ทิศในการดำเนินชีวิตประจำวันก็ตาม เราจะพบว่า แรงดึงดูดของอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิฤทธิ์ดลบัน
ดาลต่าง ๆ นั้น ดูจะมีเสน่ห์ดึงดูดมากกว่า เราจะพบการคุยกันเรื่องนี้ได้ในวงกินข้าวไปจนถึง
การพิมพ์เล่าเผยแพร่ จนอาจจะกล่าวได้ว่า ประเด็นนี้เป็นจุดขายอย่างหนึ่งของสมาชิกวงใน
ของวัดก็ได้
ในจดหมายข่าวและวารสารกัลยาณมิตร จะมีคอลัมน์ประจำที่สัมภาษณ์ประวัติกัลยาณมิตร
ซึ่ง ส่วนใหญมักจะเอ่ยถึงปาฎิหาริย์ต่าง ๆ ที่พระธรรมกายได้เข้ามาช่วยเหลือในยามวิกฤติ
ที่พบค่อน ข้างมาก คือ รักษาอาการเจ็บป่วยของตนหรือของญาติใกล้ชิด หรือ
การช่วยให้รอดพ้นอุบัติเหตุ อย่างอัศจรรย์ ทำให้เป็นจุดที่พลิกผันให้ผู้นั้นหันมาทุ่มเทอุทิศกายเพื่อวัดในที่สุด
ในหนังสือ "พุทธานุภาพ" ก็รวบรวมบันทึกและประสบการณ์ของสมาชิกที่พบเห็นสิ่งอัศจรรย์
ในบริเวณโบสถ์วัดพระธรรมกาย เช่น เห็นองค์พระประธานลืมตา มีรัศมีสว่างสไว
หรือปรากฎ ภาพพระธรรมกายซ้อนกันขึ้นภายในโบสถ์ เป็นต้น เช่นเดียวกับหนังสือประวัติคุณยายจันทร์และ
หลวงพ่อวัดปากน้ำ ก็จะเน้นเหตุการณ์ที่คุณยายแสดงกตัญญูด้วยการช่วยวิญญาณคุณพ่อให้พ้นจาก
ขุมนรกหรือเหตุการณ์ที่พระและแม่ชีวัดปากน้ำได้อธิษฐานจิตช่วยปัดลูกระเบิดญี่ปุ่นสมัยสงคราม
โลกครั้งที่ 2 มิให้มาตกในกรุงเทพ"
นอกจากนั้น บทวิจัยชิ้นนี้ยังระบุว่า ทั้งความเชื่อในเรื่องศาสนาตามแนวของวัดพระธรรม
กาย ทั้งการให้ความสำคัญในเรื่องอิทธิปาฎิหาริย์ ตลอดจนรูปแบบพฤติกรรมระดมทุน"ขายบุญ"และ
สร้างภาพมนุษย์เหนือมนุษย์ให้แก่เจ้าอาวาสทำให้ภาพลักษณ์ของเจ้าอาวาสในสายตาของสานุศิษย์
คือ บุคคลอันเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งทั้งปวงในจักรวาล น่าเกรงขามเป็นอย่างยิ่ง
"ในยุคหลังมานี้ ภาพลักษณ์ของหลวงพ่อท่านเจ้าอาวาสพัฒนาเปลี่ยนไปจากการเป็นวีรบุรุษสำ
คัญคนหนึ่งของฝ่ายขาว มาเป็นอวตารภาคหนึ่งของ "องค์พระธรรมกายต้นธาตุ"อันเป็นมูลการณ์
แห่งสรรพสิ่งเสียเอง ความกลัวเกรงที่มีต่อท่านจึงสูงยิ่ง คำพูดท่านจึงเป็นเสมือนวาจาสิทธิ์ที่ไม่มี
ใครกล้าโต้แย้ง"
สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ได้เคยตีพิมพ์ในวารสาร"พุทธศาสน์ศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
ฉบับเดือนมกราคม-เมษายน 2541