พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 69
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค หน้า 804-808 ข้อ 726-730 สติปัฏฐานกถา
ปัญญาวรรค สติปัฏฐานกถา
ว่าดวยสติปัฏฐาน ๔
[ ๗๒๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นกายในกาย
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งหลาย
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสติปัฏฐาน
๔ ประการนี้แล
[ ๗๒๗ ] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร
?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดิน
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของ
เที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเป็นโดยความเป็นอนัตตา
ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด
ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายโดยอาการ
๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่าการพิจารณา
เห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน
๑ ด้วยความ
ว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร
อันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลาย
ไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจอันเดียวกันนั้น ๑ ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ
๑ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น
กองอาโปธาตุ กองเตโชธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง กองเนื้อ
กองเอ็น กองกระดูก กองเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข
พิจารณาเป็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน
ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจ
สัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายโดยอาการ
๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่าการพิจารณาเห็นกายในกายว่า
สติปัฏฐานภาวนา
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน
๑ ด้วยความ
ว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร
อันสมควรแก่ความที่ธรรม
ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจอันเดียวกันนั้น ๑ ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ
๑ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น
กองธาตุดิน กองอาโปธาตุ กองเตโชธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง
กองเนื้อ กองเอ็น กองกระดูก กองเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข
พิจารณาเป็นโดยความเป็นอนัตตา
ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด
ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายโดยอาการ
๗ นี้
กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุมีปกติเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้
[ ๗๒๘ ] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไร
?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นสุขเวทนา
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของ
เที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเป็นโดยความเป็นอนัตตา
ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด
ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาโดยอาการ
๗ นี้ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่าการ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาว่า สติปัฏฐานภาวนา
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน
๑ ด้วยความ
ว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร
อันสมควรแก่ความที่ธรรม
ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจอันเดียวกันนั้น ๑ ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ
๑ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น
ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ไม่พิจารณาเห็นโดย
ความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข
พิจารณาเป็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน
ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาโดยอาการ
๗ นี้
เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่าการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาว่า
สติปัฏฐานภาวนา
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน
๑ ด้วย
ความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร
อันสมควรแก่ความที่ธรรม
ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจอันเดียวกันนั้น ๑ ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ
๑ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ไม่พิจารณาเห็นโดย
ความเป็นสุข พิจารณาเป็นโดยความเป็นอนัตตา
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน
ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตต
สัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาโดยอาการ
๗ นี้ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุมีปกติเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้
[ ๗๒๙ ] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร
?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของ
เที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเป็นโดยความเป็นอนัตตา
ไม่พิจารณาเห็น
โดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ย่อมดับ
ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตโดยอาการ
๗ นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่าการพิจารณา
เห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน
๑ ด้วยความ
ว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร
อันสมควรแก่ความที่ธรรม
ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจอันเดียวกันนั้น ๑ ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ
๑ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น
จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่
จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ มโนวิญญาณ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดย
ความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข
พิจารณาเป็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน
ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตโดยอาการ
๗ นี้
จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่าการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า
สติปัฏฐานภาวนา
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน
๑ ด้วยความ
ว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร
อันสมควรแก่ความที่ธรรม
ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจอันเดียวกันนั้น ๑ ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ
๑ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น
จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเป็นโดยความเป็นอนัตตา
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน
ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น
อนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตโดยอาการ
๗ นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุมีปกติเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้
[ ๗๓0 ] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่อย่างไร
?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นกาย
เวทนา จิตเสียแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดย
ความเป็นสุข พิจารณาเป็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน
ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้
เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน
ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมโดยอาการ ๗ นี้ ธรรมทั้งหลายปรากฏ
ไม่ใช่สติสติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสติและญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่าการพิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมว่า สติปัฏฐานภาวนา
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน
๑ ด้วย
ความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร
อันสมควรแก่ความที่ธรรม
ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจอันเดียวกันนั้น ๑ ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ
๑ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นกาย
เวทนา จิตเสียแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุขพิจารณาเป็นโดยความ
เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด
ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมละ
ความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้
เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมโดยอาการ ๗ นี้ ธรรมทั้งหลายปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุมีปกติเห็นธรรมในธรรมอยู่อย่างนี้
ฉะนี้แล
จบสติปัฏฐานกถา