พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 17
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้า 1-2 และ 8 ข้อ 1-2 เรื่อง มูลปริยายสูตร
๑. มูลปริยายสูตร
[ ๑ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้พญารัง ในสุภควัน
เขตเมืองอุกกัฏฐา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระ ภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุที่เป็นมูลของธรรมทั้งปวงแก่เธอ
พวกเธอจงฟังเหตุนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า
[ ๒ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายปุถุชนในโลกนี้ ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมหมายรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดิน
ครั้นหมายรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมสำคัญหมายธาตุดิน ย่อมสำคัญหมายในธาตุดิน
ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมสำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ( อัตตา )
ย่อมยินดียิ่ง
ซึ่งธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้
หน้า 8
ย่อมหมายรู้สักกายทิฏฐิทั้งปวง โดยความเป็นสักกายทิฏฐิทั้งปวง ครั้นหมายรู้สักกายทิฏฐิทั้งปวงโดยความเป็น สักกายทิฏฐิทั้งปวงแล้ว ย่อมสำคัญหมายสักกายทิฏฐิทั้งปวง ย่อมสำคัญหมายในสักกายทิฏฐิทั้งปวง ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็น สักกายทิฏฐิทั้งปวง ย่อมสำคัญหมายสักกายทิฏฐิทั้งปวงว่าเป็นของเรา ( อัตตา ) ย่อมยินดียิ่งซึ่งสักกายทิฏฐิทั้งปวง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้
ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมสำคัญหมายพระนิพพาน ย่อมสำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมสำคัญ หมายพระนิพพานว่าของเรา ( อัตตา ) ย่อมยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพระาเหตุอะไร? เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้
หน้า 9-15 ข้อที่ 4-9
[ ๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด
เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว
สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว
แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายใน
ธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา
( อนัตตา ) ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เราตถาคตกล่าวว่า
เพราะเธอกำหนดรู้แล้ว
.
.
ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ( อนัตตา )
ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเธอกำหนดรู้แล้ว
[ ๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด
เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว
สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น
ย่อมหมายรู้ ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายใน
ธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา
( อนัตตา ) ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เราตถาคตกล่าวว่า
เพราะปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป
.
.
ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ( อนัตตา )
ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเธอปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป
[ ๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด
เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว
สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น
ย่อมหมายรู้ ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายใน
ธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา
( อนัตตา ) ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เราตถาคตกล่าวว่า
เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป
.
.
ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ( อนัตตา )
ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเธอปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป
[ ๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด
เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว
สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว
แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายใน
ธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา
( อนัตตา ) ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เราตถาคตกล่าวว่า
เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป
.
.
ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ( อนัตตา )
ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเธอปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป
[ ๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว
ครั้นทรงหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา
( อนัตตา ) ย่อมไม่ทรงยินดียิ่งซึ่ง
ธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะธาตุดินนั้น พระตถาคตทรงกำหนดรู้แล้ว
.
.
ย่อมทรงหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นทรงหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ( อนัตตา
) ย่อมไม่ทรงยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะพระนิพพานนั้น พระตถาคตทรงกำหนดรู้แล้ว
[ ๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริง
ครั้นทรงหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา
( อนัตตา ) ย่อมไม่ทรงยินดียิ่งซึ่ง
ธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะทรงทราบอย่างนี้ว่า นันทิ ความเพลิดเลินเป็นมูลรากของทุกข์
เพราะภพจึงมีชาติ
สัตว์ผู้เกิดแล้ว ก็มีชรามรณะ ด้วยประการอย่างนี้ ( จึงไม่ทรงสำคัญธาตุดิน
) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล พระตถาคตจึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสีย ได้โดยประการทั้งปวง
.
.
ทรงหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นทรงหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ( อนัตตา
) ย่อมไม่ทรงยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร? เพราะทรงทราบอย่างนี้ว่า นันทิ ความเพลิดเลินเป็นมูลรากของทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ
สัตว์ผู้เกิดแล้ว ก็มีชรามรณะ ด้วยประการอย่างนี้ ( จึงไม่ทรงสำคัญธาตุดิน...พระนิพพาน
) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนี้แล พระตถาคตจึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา
ดับตัณหา
สละตัณหา สละคืนตัณหาเสีย ได้โดยประการทั้งปวง
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล
อรรถกถามูลปริยายสูตร
หน้า 90-92
แก้บทว่า สพฺพํ สพฺพโต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสแสดงสักกายทิฏฐิทั้งหมดโดยเป็น ๒ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงจะประมวลแสดง สักกายทิฏฐินั้นแหละเป็นอันเดียวกัน จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สพฺพํ สพฺพโต ดังนี้
ส่วนนัยขยายความในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบดังนี้ว่า
ปุถุชน เมื่อชอบใจในสิ่งทั้งปวง ชื่อว่า ย่อมสำคัญสิ่งทั้งปวง
ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหา เมื่อสำคัญสิ่งที่ตนสร้างขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า
สัตว์เหล่านี้เราสร้างขึ้น ดังนี้ พึงทราบว่า
ชื่อว่า ย่อมสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งมานะ(ถือตน) เมื่อสำคัญโดยนัย
เป็นต้นว่า สิ่งทั้งปวงมีการสร้าง
ของพระอิศวรเป็นเหตุ สิ่งทั้งปวงไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย สิ่งทั้งปวงมีอยู่ สิ่งทั้งปวงไม่มีดังนี้ ชื่อว่าย่อมสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วย
ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ
แก้บท นิพฺพานํ นิพฺพานโต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสแสดงสักกายทิฏฐิทั้งหมดให้เป็นอย่างเดียวกันนี้แล้ว
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสักกายทิฏฐิ นั้นให้เป็นอันเดียวกันโดยนัยแม้อื่นอีก
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า นิพฺพานํ นิพฺพานโต ดังนี้
.
.
ส่วนปุถุชน ครั้นยึดถืออัตตาต่างไปจากพระนิพพาน สำคัญอยู่ว่า ก็อัตตาของเรานี้นั้นแล
ย่อมมีอยู่ในพระนิพพานนี้
ชื่อว่า ย่อมสำคัญในนิพพานนี้เป็นความสำคัญด้วยอำนาจทิฏฐิของปุถุชนนั้น
ก็เมื่อปุถุชนนั้นเกิดความเสน่หาในอัตตานั้นนั่นแล และเกิดมานะ อันมีอัตตานั้นเป็นที่ตั้งอยู่ พึงทราบว่า แม้ความสำคัญ ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและมานะ ( ก็เกิดขึ้นด้วย )
นัยแม้ในความสำคัญจากนิพพานก็นัยนี้ จริงอยู่
แม้ในข้อนั้น ปุถุชนเมื่อยึดอัตตาว่าเป็นอื่นจากนิพพาน สำคัญอยู่ว่า
นี้นิพพาน นี้อัตตา ก็อัตตาของเรานี้นั้น อื่นต่างจากนิพานนี้ ชื่อว่า ย่อมสำคัญจากนิพพาน
นี้เป็นความสำคัญด้วยอำนาจ ทิฏฐิของปุถุชนนั้น
ก็เมื่อปุถุชนเกิดความเสน่หาในอัตตานั้นนั่นแล และเกิดมานะอันมีอัตตานั้นเป็นที่ตั้ง แม้ตัณหาและมานะก็พึงทราบว่า ( เกิดขึ้นด้วย ) แต่เมื่อสำคัญว่า โอ นิพพานของเราสุขจริง พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญว่าเป็นของเรา ดังนี้
ในมูลปริยายสูตร จะไม่มี วงเล็บว่า ( อนัตตา ) หรือ ( อัตตา ) วงเล็บทั้งสองอันนี้ผม ( เจ้าของ web ) ใส่วงเล็บไว้เอง แต่มีที่มาที่ไป เพราะ เมื่อมีคำว่า " สำคัญหมายว่าเป็นของเรา " แสดงว่า ยึดมั่น สภาวะธรรมเหล่านั้นว่ามี อัตตาตัวตนในสภาวะธรรมนั้น และ เมื่อ " ไม่สำคัญหมายว่าเป็นของเรา " แสดงว่า เห็นว่า สภาวะธรรมเหล่านั้น เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังพุทธพจน์ที่จะนำมาแสดงต่อไปนี้
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 27
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค หน้า 93 ข้อ 91 เรื่อง อนิจจสูตร
[ ๙๑ ]...สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา...
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 27
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค หน้า 459 ข้อ 419 เรื่อง เอตังมมสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการถือมั่นว่าของเรา
[
๔๑๙ ] กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่
เพราะถือมั่นอะไร
เพราะ
ยึดมั่นอะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า
นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา
?
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 37
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้า 830 ข้อ 238 เรื่อง นิพพานสูตร
๓. นิพพานสูตร
ว่าด้วยนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
[ ๒๓๘ ] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่
ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า
ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้
ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร
ท่านพระเสรีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส นิพพานนี้ไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข
หมายเหตุ :
เวทนา เป็นเจตสิกธรรม ที่ทำหน้าที่เสวยอารมณ์ หรือมีความรู้สึกในอารมณ์
ที่มาปรากฏนั้น ได้แก่
๑. สุขเวทนา รู้สึกสบายกาย หมายเฉพาะความสุขกาย
๒. ทุกขเวทนา รู้สึกไม่สบายกาย หมายเฉพาะความทุกข์กาย
๓. โสมนัสเวทนา รู้สึกสบายใจ หมายเฉพาะความสุขใจ ดีใจ
๔. โทมนัสเวทนา รู้สึกไม่สบายใจ หมายเฉพาะความทุกข์ใจ เสียใจ
๕. อุเบกขาเวทนา รู้สึกเฉย ๆ หมายถึงความไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นกลาง
ๆ
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 69
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค หน้า 634-635 ข้อ 633 สุญญกถา
สุญญกถา
ว่าด้วยสุญญตา
[ ๖๓๓ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ ข้าแต่พระ องค์ผู้เจริญเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
พระองค์จึงตรัสว่า โลกสูญ ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์
เพราะว่าสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ดูก่อนอานนท์
อะไรเล่า สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูก่อนอานนท์ จักษุสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
รูปสูญจาก
ตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักษุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักษุสัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน หูสูญ ฯลฯ เสียงสูญ
จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
ธรรมารมณ์สูญจากตนและสิ่งที่เนื่อง
ด้วยตน มโนวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่าโลกสูญ
หน้า 638 ข้อที่ 647
[ ๖๔๗ ] ทั้งภายในและภายนอกสูญเป็นไฉน
? จักษุภายในและรูปภายนอก ทั้งสองนั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูภายในและเสียงภายนอก
ฯลฯ จมูกภายใน และเสียงภายนอก ลิ้นภายในและรสภายนอก กายภายในและโผฏฐัพพะภายนอก
ใจภายในและธรรมารมณ์ภายนอก ทั้งสอง
นั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง
และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้ทั้งภายในและภายนอกสูญ
หน้า 641 ข้อที่ 658
[ ๖๕๘ ]
.
.
อีกประการหนึ่ง เมื่อสัปชานบุคคลปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ความเป็นไปแห่งจักษุนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักษุอื่นก็ไม่เกิดขึ้น
ความเป็นไปแห่งหูนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งหูอื่นก็ไม่เกิดขึ้น
ความเป็นไปแห่งจมูกนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจมูกอื่นก็ไม่เกิดขึ้น
ความเป็นไปแห่งลิ้นนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งลิ้นอื่นก็ไม่เกิดขึ้น
ความเป็นไปแห่งกายนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งกายอื่นก็ไม่เกิดขึ้น
ความเป็นไปแห่งใจนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งใจอื่นก็ไม่เกิดขึ้น
นี้ความครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคลสูญมีประโยชน์อย่างยิ่งกว่า
ความสูญทั้งปวง ฉะนี้แล
จบสุญญกถา
อรรถกถาสุญญกถา
หน้า 656
นิพพานธรรมชื่อว่า
สูญจากตัวตนเพราะไม่มีตัวตน สังขตธรรมแม้ทั้งหมดที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ
ชื่อว่า
สูญจากสัตว์ เพราะไม่มีสัตว์ไรๆ นิพพานอันเป็นอสังขตะธรรม ชื่อว่า สูญจากสังขารเพราะไม่มีสังขารทั้งหลายเหล่านั้น
ส่วนธรรมทั้งหมด ทั้งที่เป็นสังขตธรรมแลอสังขตธรรม
ชื่อว่า สูญจากตัวตนเพราะไม่มีบุคคล กล่าวคือ ตัวตน ด้วย
ประการฉะนี้
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ ๔๔
ขุทกกนิกาย อุทาน ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘ หน้า 711 ข้อ 158 ปฐมนิพพานสูตร
๑. ปฐมนิพพานสูตร
ว่าด้วยอายตนะคือนิพพาน
[ ๑๕๘ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ใกล้พระนคร
สาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรม
มีกถาอันปฏิสังยุตด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้วน้อมนึกธรรมมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว
เงี่ยโสต
ลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญยตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป
เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ
เป็นการอุปปัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์
อรรถกถา ปฐมนิพพานสูตร
หน้า 715
พระนิพพานท่านเรียกว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ โดยเป็นอารัมมณปัจจัย
( ปัจจัยที่เป็นอารมณ์ ) แก่มรรค
ญาณและผลญาณเป็นต้น เหมือนรูปารมณ์เป็นต้น เป็นอารัมมณปัจจัยแก่จักขุวิญญาณเป็นต้น
หน้า 718
อนึ่ง เราไม่กล่าวอาคติ คือการมาแต่ที่ไหนๆ
ในอายตนะนั้นคือพระนิพพานนั้นอย่างนี้ เพราะพระนิพพาน ไม่มีฐานะ ที่จะพึงมา
บทว่า น คตึ ความว่า เราไม่กล่าวการไปในที่ไหนๆ เพราะฐานะที่พระนิพพานจะพึงถึงไม่มี
เพราะการมาการไป ของสัตว์ทั้งหลาย เว้นการกระทำให้เป็นอารมณ์ด้วยญาณ ไม่มีในพระนิพพานนั้น
อนึ่ง เราไม่กล่าวถึง ฐิติ จุติ และอุปัตติ
บาลีว่า ตทปหํ ดังนี้ก็มี ชื่อว่าไม่มีฐิติ เพราะไม่มีฐานะที่ตั้งอยู่
เหมือนแผ่นดินเหมือนภูเขาเป็นต้น อนึ่ง ชื่อว่าไม่มีการเกิด เพราะไม่มีปัจจัย
ชื่อว่าไม่มีจุติ ( ตาย ) เพราะไม่มีการตายเป็นสภาวะนั้น เราไม่กล่าวฐิติ
จุติ และอุปัตติ เพราะไม่มีการเกิด และการดับ และเพราะไม่มีการตั้งอยู่ที่กำหนดด้วยการเกิดและการดับทั้ง
๒ นั้น อนึ่ง พระนิพพานนั้นล้วนชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ