มติชน 14/2/2542

กรณีธรรมกาย ถึงขั้นจ้วงจาบพระธรรมวินัย

ได้มีผู้สื่อข่าวจากสื่อมวลชนต่างๆ มาถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง วัดพระธรรมกายและมีผู้สื่อข่าวคนหนึ่งได้ถวายหนังสือชื่อ ว่า"เจาะลึกวัดพระธรรมกาย ข้อมูลที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน ลับสุดยอด" ต่อมาได้เปิดอ่านดูบ้างบางส่วน และในตอนที่ว่า กายนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา โดย พระสมชาย ฐานวุฑโธ บทความนี้เมื่ออ่านแล้วจะยิ่งสร้างความสับสนต่อหลักกการ สำคัญของพระพุทธศาสนาที่กล่าวมานั่นยิ่งขึ้น อีก 2-3 วัน ต่อมา ก็มีรายงานข่าวของ น.ส.พ.มติชนรายวัน ฉบับวัน อาทิตย์ที่ 17 มกราคม 2542 กล่าวถึงอดีตข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาวัด พระธรรมกาย เท่ากับเป็นสัญญาณเตือนภัยว่า อันตรายที่ร้าย แรงกำลังเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา เพราะความสับสนหรือ เข้าใจผิดต่อหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนากำลัง แผ่ขยายออกไปในหมู่ประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่ความสั่นคลอน ของพระพุทธศาสนาถึงขั้นรากฐานเลยทีเดียว

เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นแก่พระศาสนา ชาวพุทธก็ควร ตื่นตัวขึ้นมาช่วยกันขจัดภัยและปกป้องพระศาสนาไว้ อย่าง น้อยก็ใช้เป็นโอกาสที่จะได้ศึกษา ส่งเสริม หรือแม้แต่ชำระ สะสางความรู้ความเข้าใจในพระศาสนาที่ตนนับถือ ทำความ เห็นให้ถูกต้อง ให้ได้ชื่อว่าสามารถถือเอาประโยชน์ จากสถานการณ์ที่ผ่านเข้ามา และผ่านพ้นปัญหาไปอย่างได้ ปัญญา ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัยก็ร้าย แต่ทำพระธรรมวินัย ให้วิปริต ร้ายยิ่งกว่า

ปัญหาเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายที่กำลังได้รับการวิพากษ์ วิจารณ์กันอยู่นี้มีหลายเรื่อง แยกได้หลายแง่ปลายประเด็น เช่น เรื่องความประพฤติส่วนตัวของพระ เรื่องการดำเนินงานขององค์กร คือวัดและมูลนิธิ เกี่ยวกับการครอบครองกรรมสิทธิ์ ในที่ดิน เป็นต้น ตลอดจนการดำเนินธุรกิจต่างๆ การแสวงหาเงินทองโดยวิธีซึ่งเป็นที่สงสัยว่าจะไม่ถูกต้อง ในแง่กฏหมาย บ้าง ในแง่พระวินัยบ้าง โดยเฉพาะการยกอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ขึ้นมาเผยแพร่ในลักษณะที่เป็นการชักจูงให้คนบริจาคเงิน การ ใช้วิธีกึ่งเกณฑ์ให้เด็กนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนข้าราชการ เป็นต้น จำนวนมากๆ มาร่วมกิจกรรม โดยมีเป้าหมายที่น่า สงสัยว่าจะมุ่งไปที่การให้บริจาคเงินหรือไม่ ตลอดจนในที่ สุดก็คือปัญหาที่เกี่ยวกับพระธรรมวินัยโดยตรง โดยเฉพาะ การแสดงหลักการของพระพุทธศาสนาเรื่องนิพพานเป็นอัตตา และเรื่องธรรมกาย ถ้ามีพระภิกษุยึดถือประกาศขึ้นมาหรือเผยแพร่ว่าพระ พุทธเจ้าสอน หรือพระไตรปิฏกแสดงหลักการว่านิพพานเป็น อัตตา หรือบอกว่าพระไตรปิฏกที่แสดงหลักการว่านิพพาน เป็นอนัตตาเป็นหลักฐานที่เชื่อถือไม่ได้ ก็เป็นปัญหาถึงขั้นทำ พระธรรมวินัยให้วิปริต ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ถึงกับทำให้ต้องมี การสังคายนา

ไม่ควรยอมเสียพระศาสนาเพื่อรักษาตัวของตน

ย้อนกลับไปข้างต้น ปัญหาเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายที่ว่ามี หลายเรื่อง หลายแง่ หลายด้าน หลายประเด็นนั้น มีข้อน่า สังเกตว่า เมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้วทางวัดโดยเฉพาะเจ้าอาวาส เงียบอยู่ และได้มีผู้เรียกร้องขอให้ท่านเจ้าอาวาสมาชี้แจง ต่อ มาทางวัดมีพระที่ออกมาพูดกล่าวตอบทำนองว่า"เรายึดแนว พระพุทธเจ้าจะชนะด้วยความสงบนิ่ง...พระพุทธเจ้ามีผู้หญิง มากล่าวหาว่ามีท้องกับพระพุทธเจ้า บางทีมีคนจ้างคนมารุม ด่าสองข้างทาง พระองค์แก้อย่างไร พระพุทธเจ้านิ่ง ตลอด บอกไว้เลยว่าชนะได้ด้วยความสงบนิ่ง แล้วความจริงก็ ปรากฏในที่สุด พระพุทธเจ้าไม่เคยแก้ข่าว อยู่ด้วยความนิ่ง สงบและสุดท้ายก็ชนะ ความจริงจะปรากฏ เราเองก็เลยใช้วิธี การเดียวกัน"(น.ส.พ. มติชนรายวัน วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2542)

การกล่าวอ้างเช่นนี้ต้องระวังมาก เพราะจะทำให้คนเข้าใจ ผิดต่อพระพุทธเจ้า ความจริงพระพุทธเจ้าไม่ได้ใช้วิธีสงบ นิ่งอย่างเดียว ทรงใช้วิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ จะให้เรื่องจบสิ้นลงด้วยดี ด้วยความถูกต้องและชัดเจน

การที่มากล่าวอย่างข้างต้นว่า เรายึดแนวพระพุทธเจ้าจะ ชนะด้วยความสงบนิ่งนั้นเป็นคำที่กำกวม อาจจะทำให้ผู้คน เกิดความเข้าใจว่า มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นพระพุทธเจ้าก็ทรง นิ่งเฉย ซึ่งนอกจากจะทำให้คนเข้าใจผิดต่อพระพุทธเจ้าแล้ว อาจจะเป็นการ เสื่อมเสียต่อพระพุทธคุณ ธรรมกาย เรื่องสูงที่ไม่ใหญ่

ธรรมกายแบบไหนก็มีความหมายชัดเจนของแบบนั้น บำรุง เลี้ยงบริหารร่างกายไว้ รูปร่างก็เจริญงอกงาม หมั่นบำเพ็ญ สมาธิปัญญา ธรรมกายก็เจริญขึ้นมาเติบโตได้เอง

จะมองดูรูปกาย ก็อาศัยเพียงตาเนื้อ แต่ต้องมีตาปัญญา จึง จะมองเห็นธรมกาย จะต้องย้ำว่า"ธรรมกาย" เป็นคำพูดรวมๆ หมายถึงองค์ธรรมหลายอย่าง ประมวลเข้าด้วยกันโดยเฉพาะ มรรค ผล นิพพาน หลักธรรมสำคัญๆ เหล่านั้นมีวิธีปฏิบัติ เพื่อบรรลุหรือเข้าถึงชัดเจนจำเพาะอยู่แล้ว จึงไม่ต้องมีวิธี ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงธรรมกายซ้อนขึ้นมาอีก

จะเอาธรรมกายของพระพุทธเจ้า หรือธรรมกายแบบไหน ก็ มีเสรีภาพเลือกได้ แต่ขอให้บอกไปตามตรง

เรื่องวิชชาธรรมกายปัจจุบันของสำนักวัดพระธรรมกายนั้น ก็ควรจะกล่าวลงไปตรงๆ ไม่ต้องไปบอกว่าพระพุทธเจ้าค้นพบ หรือทรงสอนไว้แล้วหายไปจนต้องมีการค้นพบใหม่ ก็พูดไป ตรงๆว่า อาจารย์ของสำนักท่านได้จัดวางของท่าน เพราะว่า ธรรมกายที่ว่านี้ก็ไม่ได้มีความหมายตรงกับธรรมกายเดิมใน พระไตรปิฏก หรือแม้แต่ธรรมกายของมหายาน ที่เขาได้ พัฒนาในยุคหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปหลายร้อยปี ควรจะมีความแจ่มชัดดังที่กล่าวมาแล้ว บทส่งท้าย

บางท่านกล่าวว่า ที่นั่นเขาต้องมีอะไรดีซิ จึงมีคนที่มีการ ศึกษาสูงๆไปกันมาก

คำกล่าวอย่างนี้เป็นข้อที่ทำให้โต้เถียงกัน เพราะบางคนก็ กลับพูดแย้งในทางตรงข้ามว่า ที่พูดนั้นน่าสงสัย ถ้าว่าโดย อัตราส่วนแล้ว คนมีการศึกษาสูงไปมากจริงหรือเปล่า ถ้า วิเคราะห์กันให้ดีจะเป็นไปในทางตรงข้ามหรือเปล่า ว่าที่นั่น คนมีการศึกษาสูงๆ ส่วนมากไม่ไป แล้วก็เลยได้โต้เถียงกันอยู่ นั่นไม่จบสิ้น

ที่จริงเรื่องที่น่าพิจารณา คือปัญหาในวงกว้าง ไม่เฉพาะ เรื่องของวัดพระธรรมกายเท่านั้นแต่เป็นปัญหาของสังคมทั้ง หมด โดยเฉพาะสังคมไทยของเรานี้

เวลานี้ อย่างที่รู้กันอยู่ เมื่อสังคมเจริญสูงทางวัตถุ คนกลับมี ปัญหาจิตใจมาก ในสภาพเช่นนี้วิธีแก้ปัญหาทางจิตด้วยวิธี การง่ายๆ ทางวัตถุก็มาก่อน เช่นการใช้ยา การพึ่งสุรา ยาเสพ ติดการมั่วสุมหรือไม่ก็ทำร้ายตนเอง จนถึงฆ่าตัวตาย

คนอีกพวกหนึ่งที่อาจถือว่าดีขึ้นมาหน่อย ก็หาวิธีแก้ปัญหา ทางจิตใจนั้น ด้วยวิธีการทางจิตซึ่งช่วยให้รู้สึกว่ามีความหวัง มีกำลังใจ มีสิ่งปลอบประโลมใจหรือกล่อมใจ ตลอดจนสิ่งที่ ให้ความรู้สึกว่าได้ที่พี่ง ซึ่งช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น หรือดึงตัวเองหลุดหลบออกไปจากปัญหาหรือความทุกข์ได้ นอกจากสิ่งที่ให้ความหวังแล้ว ก็รวมไปถึงสิ่งลึกลับ ความเชื่ออำนาจดลบันดาลต่างๆ ตลอดจนสมาธิที่ใช้เพื่อมุ่งผลทาง จิต

วิธีการทางจิตเหล่านี้ ถ้าไม่ระวังให้ดีจะก่อปัญหาได้มาก ลักษณะทั่วไปก็คือ เป็นการพึ่งพาไม่ว่าจะพึ่งพาด้วยการผูกใจ อยู่กับความหวัง หรือพึ่งพาความเชื่อในสิ่งลึกลับอำนาจดล บันดาลก็ตามและอยู่กับความกล่อมใจหรือทำให้ดื่มด่ำเข้าไป แล้วหลบทุกข์ลืมปัญหาไปได้

เรื่องนี้สอดคล้องกับสภาพของสังคมยุคนี้ หรือสังคมนี้ อีกอย่างหนึ่ง คือการที่คนทั้งหลายมักปฏิบัติต่อสถานการณ์ ต่างๆด้วยความรู้สึกหรืออารมณ์ มากกว่าจะใช้เหตุผลหรือ ปัญญา เพราะฉะนั้นตัวแรงจูงใจที่จะให้ตัดสินใจทำอะไร หรือไปไหน จึงมักจะเป็นเรื่องของความต้องการทางจิตใจ มากกว่าการที่จะใช้ปัญญา หรือต้องการแสวงปัญญา

การดิ้นรนหาทางออกจากปัญหาจิตใจด้วยวิธีการทางจิตนี้ เป็นสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาด้านหนึ่ง แต่กลับ ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ ซึ่งอาจจะร้ายแรงและยืดเยื้อมากกว่า และข้อสำคัญคือไม่เป็นวิธีที่จะแก้ปัญหาได้จริง นอกจากทำ ให้เกิดการพึ่งพา และเป็นการกล่อมใจแล้ว โทษที่ทางพระ พุทธศาสนาถือว่าร้ายแรงมากก็คือ ทำให้ตกอยู่ในความ ประมาท และเป็นการแก้ปัญหาแบบชั่วคราวหรือกลบปัญหา ไม่พ้นไปจากปัญหาได้จริง เพราะเป็นวิธีกดทับไว้ดังที่ท่าน เปรียบว่า "เหมือนเอาหินทับหญ้า"

พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทาง จิต วิธีการทางจิตนั้นไม่ใช่ว่าผิดแต่ไม่เพียงพอ และต้องใช้ ในขอบเขตที่พอดี คือพอให้จิตใจได้พัก ทำให้จิตใจผ่อน คลายสงบหายเร่าร้อน กระวนกระวายว้าวุ่น และมีกำลังขึ้น คือเป็นเครื่องเตรียมจิตใจให้พร้อม แล้วต้องต่อด้วยวิธีการ ทางปัญญา เพื่อแก้ปัญหาดับทุกข์ให้จบสิ้นไป

อย่ามัวเถียงกัน อย่ามาอ้างกันเลยในเรื่องการศึกษาสูงๆ แต่ สังคมของเรานี้ ควรหันมาสำรวจตัวเองให้จริงจังว่า เหตุใด เราจึงพัฒนาวัฒนธรรมทางปัญญาขึ้นมาไม่ได้

หนังสือพิมพ์ได้ตัดตอนมาจาก "กรณีธรรมกาย" ของพระ ธรรมปิฏก โปรดพิจารณาและหาฉบับเต็มอ่านกันเอง