เปิดบันทึกลับ กรมการศาสนา ชำแหละ 'ธรรมกาย'เพี้ยน นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันเสาร์ที่ 2 มกราคม 2541

Posted by ฉึกกะฉัก on January 03, 1999 at 11:41:31:

เปิดบันทึกลับ กรมการศาสนา ชำแหละ 'ธรรมกาย'เพี้ยน นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันเสาร์ที่ 2 มกราคม 2541

สรุปประเด็นวัดพระธรรมกาย

เมื่อพูดถึงวัดพระธรรมกายน้อยคนที่จะปฏิเสธว่าไม่รู้จัก ส่วนจะรู้จักมากรู้จักน้อยรู้จักในแง่มุมใดนั้น ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน ผู้ที่เข้าไปสัมผัสกับวัดพระธรรมกายก็จะเข้าใจวัดพระธรรมกายแบบหนึ่ง ส่วนผู้ที่ไม่ได้เข้าวัดพระธรรมกายก็จะเข้าใจวัดพระธรรมกายไปอีกแบบหนึ่ง จึงมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆของวัดพระธรรมกาย กระแสความขัดแย้งของคนทั้งสองกลุ่มมีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่สามารถทำความเข้าใจกันได้ผลร้ายก็จะตกอยู่กับพระพุทธศาสนาโดยส่วนรวม

อันที่จริงวัดพระธรรมกายมิใช่เพิ่งจะสร้างขึ้น หากได้สร้างมานับเป็นเวลา 10 ปี 20 ปีแล้ว การที่วัดพระธรรมกายมักจะมีข่าวคราวออกมาอยู่เสมอๆนั้น น่าจะมาจากการจัดกิจกรรมต่างๆของวัดพระธรรมกายมักจะมีรูปแบบแตกต่างจากวัดทั่วๆไป ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบในการจัดสร้างปูชนียวัตถุและปูชณียสถาน รูปแบบในการบอกบุญแก่พุทธศาสนิกชน รวมไปถึงรูปแบบในการปฎิบัติธรรมคำสอนในบางประเด็นที่มีการตีความแตกต่างออกไปจากที่เคยศึกษาเล่าเรียนมา สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นปมสงสัยให้แก่พุทธศาสนิกชนที่ไม่ได้เข้าวัดพระธรรมกายในชั้นนี้จะไม่มีการชี้ผิดชี้ถูกแต่ให้ศึกษา
ข้อเท็จจริงโดยยึดแนวคำสอนในพระไตรปิฎกเป็นหลัก

เรื่องต่างๆที่ประชาชนสงสัยมีหลายเรื่อง แต่ในที่นี้จะพูดเฉพาะบางประเด็นที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้

1.ประเด็นพระนิพพานเป็นอนัตตา

ประเด็นที่พระนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา มีข้อควรพิจารณาดังนี้

เกี่ยวกับเรื่องนี้ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะพระไตรปิฎกและอรรถกาตามถ้อยคำของคัมภีร์นั้นๆเอง (ไม่ใช่อ่าแล้วสรุปเองตามแนวคิดของตน) ระบุชัดว่า
- ไม่มีหลักฐานในคัมภีร์ใดเลยที่กล่าวถ้อยคำระบุลงไปว่านิพพานเป็นอัตตา
- แต่หลักฐานในคัมภีร์ที่กล่าวระบุลงไปว่านิพพานเป็นอนัตตา และมีหลายแห่งดังนี้

ก.หลักฐานชั้นพระไตรปิฎก

อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตาติ นิจฺฉยา (วิ ป.8/826/224 มมร; 257/194 มจร.; 257/187 ศน.)
สังขารทั้งปวงที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติท่านวินิจฉัยว่าเป็นอนัตตา เท่านั้น

จตุหากาเรหิ อนตฺตฏเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ... นิโรธฏโฐ อนตฺตฏโฐ (ขุ. ปฏิ. 31/556/450)
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา โดยอาการ 4 คือ … นิโรธ มีอรรถคือนิโรธ เป็นความหมายว่าเป็นอนัตตา

พระไตรปิฎกเล่ม 31 นี้ กล่าวถึงนิพพานในชื่อขงนิโรธอริยสัจจ์ว่าเป็นอนัตตา

ความข้อนี้ อรรถกาอธิบายว่า อจตฺจฏเฐนาติ จตุนฺนมฺปิ สจฺจานํ อตฺตวโรหิตตฺตา อนตฺตฏเฐน
แปลว่า คำว่า โดยความหมายว่า เป็นอนัตตา หมายความว่า โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา เพราะสัจจะแม้ทั้ง 4 เป็นสภาวะปราศจากอัตตา

ข. หลักฐานชั้นอรรถกาและคัมภีร์อื่นๆ
สพฺเพ ธมฺเม อนตฺตาติ นิพฺพานนํ อนฺโตกรตฺวา วุตฺตํ
ข้อความว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตานั้น พระพุทธองค์ตรัสรวมทั้งนิพพานด้วย เรื่องนิพพานเป็นอนัตตา นี้ พระฎีกาจารย์ได้อธิบายว่า

"ปาฬิยํ นิพฺพานญฺเจว ปญฺญตฺตา สมมติสจฺจภูตา ปุคฺคลาทิปญฺญตฺติ ปรมตฺถโต
อวิชฺชมานตฺตา อุปฺปตฺติวิมาสยุตฺตวตฺถุรมฺมนิยเตน อนิจฺจทุกขลกฺขณทฺวเยน ยุตฺตาติ
วตฺตํ อยุตฺตา, การกเวทกาทิรูปเปน ปน ปริกปฺปิเตน อตฺตสภาเวน วิรหิตตฺตา อนตฺตาติ
วตฺติ ยุตฺตา ตสฺมา อยํ ปญฺยตฺติปิ อสงฺขตตฺตสามญฺติโท วตฺถุภูเตน นิพฺพานเนน สห
อนตฺตา อิติ นิจฺฉยาติ วุตฺตา อวิชฺชมานาปี หิ สมฺมติ เกนจิ ปจฺจเยน อกตตฺตา อสงฺขตา เอว"
(วิมต. ฎีกา 2/257/351 มจร.)

"ในคำนี้ว่า นิพฺพานญฺเจว ปญฺญตฺติ ในพระบาลีมีอธิบายดังนี้ เพราะการบัญญัติว่า บุคคลเป็นต้นอันเป็นสมมติสัจจะ ซึ่งท่านอาศัยสังขตธรรมบัญญัติไว้ ไม่ควรที่จะกล่าวว่า ประกอบด้วยอนิจจลักษณะและทุกขลักษณะ ซึ่งกำหนดเป็นวัตถุธรรมที่ประกอบด้วยความเกิดขึ้นและความพินาศไป เพราะไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์แต่ควรที่จะกล่าวว่าเป็นอนัตตา เพราะเว้นจากความเป็นอัตตาที่กำหนดโดยความเป็นผู้กระทำและเป็นผู้เสวยผลการกระทำ ฉะนั้นท่านจึงนำสิ่งที่เป็นบัญญัติมาวินิจฉัยว่าเป็นอนัตตา ร่วมกับพระนิพพาน ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม เพราะต่างก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งเหมือนกัน"

มีหลักฐานหลายแห่งกล่าวว่า นิพพานเป็นอนัตตา โดยใช้คำว่า สูญคือว่างจากอัตตา คือปราศจากอัตตาเช่น

นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสญฺโญ (ปฏิสํ. อ. 2/287 มจร.)
ธรรมคือนิพพาน สูญ(ว่าง)จากอัตตา เพราะไม่มีอัตตา

อสงฺขตาสงฺขตา ปน สพฺเพปิ ธมฺมา อตฺตสงฺขตสฺสามเณร ปุคฺคลสฺสามเณร อภาวโต อตฺตาสุญฺญาติ (ปฏิสํ. อ. 2/287 มจร.)
ก็ธรรมทั้งหลายแม้ทั้งปวง ทั้งสัขตะและอสังขตล้วนสูญ(ว่าง) จากอัตตา เพราะไม่มีบุคคลกล่าวคืออัตตา

นิพพานํ อคฺคปรมตฺถวเสน สอุปาทิเสสอนุปาทิเสสวเสน จ ทุวิธา กตฺวา วุตฺตํ ทานิ
เทวฺ อตฺตตฺตนิยสุญฺญโต สงฺขาภสุญฺญโต จ สภาคานิ
(ปฏิสํ. อ. 2/286 มจร.)
นิพพาน ท่านกล่าวไว้โดยแบ่งเป็น 2 คือ
อัคคนิพพานกับปรมัตถนิพพาน และสอุปาทิเสสนิพพานกับอนุปาทิเสสนิพพาน นิพพาน ทั้งสองอย่างนั้นเสมอเท่ากันโดยเป็นสภาวะที่สูญ (ว่าง) จากอัตตา และสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา และโดยเป็นสภาวะที่สูญ(ว่าง)จากสังขาร

อีกคัมภีร์หนึ่ง กล่าวถึงอริยสัจจ์ 4 ว่าปราศจากอัตตาทั้งสิ้น โดยเฉพาะใช้เรียกคำเรียกนิโรธอริยัสัจจ์ คือ นิพพานว่าอมตบทดังนี้

ธฺวสฺภสุขตฺตลญฺญ ปุริมทายมตฺตสุญฺยมมตปทํ
ธฺวสุขอตฺตวิรหิโต มคฺโค อิติ สุญฺญตา เตสูติ.
(ปฏิสํ. อ. 1/214 วิสุทธิ 3/102)

อริยสัจจ์ 2 ข้อแรก (ทุกข์และสมุทัย) สูญ (ว่าง) จากสภาพเที่ยง งาม สุข อัตตา
อมตบท (คือนิพพน) สูญ (ว่าง) จากอัตตา
มรรค ปราศจากภาวะเที่ยง สุข อัตตา
สุญฺญตา (ความว่าง) ในอริยสัจจ์ 4 เหล่านั้น เป็นดังว่ามานี้

สพฺพาเนว สจฺจานิ อญฺญมญฺญสภาคานิ อวิตถโต ทุกฺรกปฏิเวรโต จ (ปฏิสํ. อ. 1/214)
สัจจะทั้งหมดทุกข้อทีเดียวมีความเสมอซึ่งกันและกัน โดยเป็นสภาพไม่ผิดเพี้ยน โดยเป็นสภาวะสูญ(ว่าง)จากอัตตา และโดยเป็นภาวะที่แทงตลอดได้อยาก

ในบางแห่งไม่กล่าวไว้ตรงๆ แต่กล่าวถึงธรรททั้งหมดในภูมิ 4 คือ รวมทั้งโลกุตตรภุมิ หรือโลกุตตรธรรมด้วย ว่า
เป็นอนัตตา กล่าวคือบอกว่า นิพพานเป็นอนัตตา เช่น

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สพฺเพ จตฺภูมิกธมฺมา อนตฺตา (สํ.อ. 2/346 มจร.)
ข้อความว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา หมายความว่า ธรรมที่เป็นไปในภูมิ 4 ทั้งหมด เป็นอนัตตา

คำว่า ภูมิ คือชั้นแห่งจิตระดับ จิตใจระดับชีวิต มี 4 คือ
1.กามาวจรภูมิ ชั้นท่องเที่ยวอยู่ในกาม
2.รูปาวจรภูมิ ชั้นท่องเที่ยวอยู่ในรูปหรือชั้นของพวกที่ได้รูปฌาณ
3.อรูปาวจรภูมิ ชั้นท่องเที่ยวอยู่ในอรูปฌาณหรือชั้นของพวกที่ได้อรูปฌาณ
4.โลกุตตรภูมิ ชั้นที่พ้นโลกหรือระดับพระอริยบุคคล (ขุ.ปฏิ. 31/171 - 176/122 มมร.)

ส่วนเอกสารเผยแพร่ของวัดพระธรรมกายมีปรากฏดังนี้
1.มงคลชีวิต ฉบับธรรมทายาท พระสมชาย ฐานวุฑฺโฒ พิมพ์ครั้งที่ 10/2541 หน้า 324 "นิพพาน เป็นอัตตาเป็นตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาได้ เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง"
2.กำเนิดโลกและมนุษยชาติ พระเผด็จ ทตฺตชีโว พิมพ์ครั้งที่ 2 มกราคม 2537 หน้า 49 ย่อหน้าแรก
"ธรรมแรกที่เกิดด้วยอำนาจบุญที่เราสร้างมาดีแล้ว ด้วยตาของเราเอง ด้วยความเพียร ไม่ย่อหย่อนด้วยหิริโอตตัปปะ ด้วยอัตตาหิอัตตโน นาโถ (ที่ถูกต้องจะเขียนว่า อัตตา หิ อัตตโน นาโถ) ด้วยกำลังความสามารถของเราเองนี่แหละ เป็นนิจจัง เป็นสุขขัง (ที่ถูกต้องจะเขียนว่า สุขัง) เป็นอัตตา ถึงเวลานั่นแหละเข้านิพพาน นี่ก็เป็นอย่างนี้ นี่คือสภาพของโลกเรา"

2.ประเด็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยทั่วไปแล้วยึดถือตามนัยที่พระพุทธองค์ทรงประทานแก่พระสาวกที่ส่งไปประกาศพระศาสนาครั้งแรก 6 องค์ว่า " พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย " เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก (พระไตรปิฎกบาลี ฉบับ ม.ม.ร.วินัย มหาวรรค เล่ม 4
ข้อ 32 หน้า 39-40)

เมื่อสรุปตามนัยที่พระพุทธองค์ทรงประสงค์ ก็เพื่อให้บุคคลเข้าถึงหลักธรรมให้บังเกิดประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่มหาชน
พูดง่ายๆก็คือ พระพุทธองค์มุ่งให้ประชาชนเข้าถึงหลักธรรมเป็นสรณะมากกว่าการเข้าถึงวัตถุเป็นสรณะ เมื่อบุคคลเข้าถึงหลักธรรมแล้ว จะมุ่งปฏิบัติบูชามากกว่าอามิสบูชา
ดังปรากฎในพระไตรปิฎกบาลี เล่ม 20 ข้อ 402 หน้า 117 (ฉบับ ม.ม.ร.)

แต่ปัจจุบันดูเหมือนว่า การส่งเสริมอามิสบูชาจะมีมากกว่าการปฏิบัติบูชา จะเห็นได้จากที่วัดต่างๆได้มีการชักชวนแข่งขันให้ทำบุญสร้างถาวรวัตถุมากกว่า และมีวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งเป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง

การเผยแผ่ของวัดพระธรรมกาย
วัดพระธรรมกายมีวิธีการเผยแผ่ในรูปแบบต่างๆใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา

3.ประเด็นการทำบุญ (บริจาคทาน) และศีล

(1)ทายกคือผู้ให้ท่าน การทำบุญสร้างถาวรวัตถุหรือวัตถุทานใดๆ จะต้องยึดหลักที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในพระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่ม 22 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ข้อ 308 หน้า 375-377 ว่า

ปุพฺเพว ทานา สุมโน ททํ จิตฺตํ ปสาทเย
ทตฺวา อตฺตมโน โหติ เอสา ยญฺญสฺสามเณร สมฺปทา
ก่อนแต่จะให้ทาน มีใจยินดี ขณะให้ทาน ก็มีใจเลื่อมใส ครั้นให้ทานแล้วก็พอใจ นี้เป็นความถึงพร้อม
แห่งยัญ (บุญ)
หมายความว่า การทำบุญบริจาคทรัพย์เพื่อการใดๆต้องมีเจตนาบริสุทธิ์ทั้ง 3 กาล จึงจะถือว่าเป็นการบริจาคอย่างแท้จริง และการบริจาคทานก็ต้องมีการเลือกให้เช่นเดียวกัน พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญซึ่งมีปรากฎในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐเล่ม
15 สังขุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อ 99 หน้า 30 ว่า

อปิจ วิเจยฺยทานํปิ สาธุ
วิเจยฺจทานํ สุคตปฺปสตฺถํ
อนึ่ง แม้การเลือกให้เป็นความดี (หรือสำเร็จประโยชน์ได้) การเลือกให้ทาน พระสุคตทรงสรรเสริญ
กล่าวคือ การให้ทานก็จำเป็นจะต้องเลือกปฏิคาหก คือ
ผู้รับว่าเป็นคนดี มีศีล เป็นเนื้อนาบุญหรือไม่เป็นต้น

(2) สำหรับปฏิคาหกคือผู้รับทาน ก็อย่าได้ถือโอกาสสร้างความสับสนให้แก่ทายก เพื่อหวังผลหรือรับบริจาคอย่างเดียว เพียงอ้างเงื่อนไขของคำว่า "บุญ" หรือ "บารมี" เท่านั้น ไม่ควรถือโอกาสเอาความไม่เข้าใจหลักการทำบุญของทายก โดยพูดโน้มน้าวให้บริจาคโดยไม่คำนึงถึงว่า ผู้บริจาคจะเข้าใจธรรมะถูกต้องหรือไม่ จึงเป็นหน้าที่ของปฎิคาหก คือ พระสงฆ์เองจะต้องมุ่งสอนให้ทายกเข้าใจธรรมหรือการทำบุญอย่างถูกต้อง

ดังนั้น ผู้ที่บริจาคทานจะต้องเป็นผู้มีความเข้าใจและฉลาดในการบริจาคด้วย มิฉะนั้นจะเกิดความเดือดร้อนในภายหลัง

การทำบุญของวัดพระธรรมกาย
วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกายได้ชักชวนการบริจาคโดยอ้างเอาความศักดิ์สิทธิ์ของพระของขวัญเป็นรางวัล ซึ่งปรากฎตามหนังสือ "อานุภาพพระมหาสิริราชธาตุ" หน้า 35 กล่าวว่า " พระมหาสิริราชธาตุนี้ เป็นของหายาก บังเกิดขึ้นได้ยากในโลก เทวดาได้ดูแลรักษาเอาไว้ มีอายุ 200 ล้านปีขึ้นไป สิ่งนี้เป็นสิ่งที่หายาก ศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพมากพระนิพพานได้ผลิตของขวัญนี้ขึ้นมามอบให้กับผู้สร้างพระธรรมกาย
ประจำตัวเพื่อเป็นของศักดิ์สิทธิ์คู่บุญสำหรับผู้มีบุญ"

อนึ่งการบริจาคสร้างองค์พระธรรมกายประจำตัววัดพระธรรมกายได้ให้แนวงทางแก่ผู้ที่บริจาค
องค์พระดูดทรัพย์ไว้ โดยการบริจาคหลายครั้งรวมกัน และได้มอบพระคะแนนสูงสุด แก่ผู้แทนของวัดที่สามารถชักชวนผู้อื่นมาบริจาคสร้างพระธรรมกายได้ 10 องค์ มอบพระคะแนนสุดฤทธิ์ แก่ผู้แทนที่ชักชวนผู้อื่นมาบริจาคได้ 20 องค์มอบพระคะแนนสุดฤทธิ์พิเศษแก่ผู้แทนที่ชักชวน
ผู้อื่นมาบริจาคได้ 50 องค์ และมอบพระคะแนนสุดเดช แก่ผู้แทนที่ชักชวนผู้อื่นมาบริจาคได้ 100 องค์

ส่วนการรักษาศีลนั้น หนังสือเห็นธรรม โดยพระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว) กล่าวไว้ ในหน้า 30 บรรทัดที่ 1
"เจตนหํ ภิกฺขเว สีลํ วทามิ" แปลว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาความคิดอ่านทางใจนั่นแหละว่าเป็นตัวศีล" ข้อนี้ ไม่ปรากฎที่มา

แต่ในอรรถกาสุตตันตปิฎก เล่ม 31 ขุททกนิกาย ปฏิสุมฺมิกามรรค ข้อ 89 กล่าวว่า
กึ สีลนฺติ เจตนา สีลํ เจตสิกํ สีลํ สํวโร สีลํ อวิติกฺกโม สีลํ ฯ
(วิสุทธิมรรคเช่นเดียวกัน)

แต่พระบาลีว่า
"เจตนา หํ ภิกฺขเว กมฺมิ วทามิ
ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นตัวกรรม"
พระบาลีไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม 22 หน้า 395

4.ประเด็นการสร้างพระพุทธรูป
ในประเทศไทยได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆถึง 72 ปาง แต่ละปางผู้สร้างได้คำนึงถึงมหาปุริสักษณะ 32 ประการ พุทธจริยา และพุทธศิลป์ที่สวยงามตามเอกลักษณ์ไทย

แต่ปรากฎว่าในปัจจุบันมีผู้สร้างพระพุทธรูปปางต่างๆขึ้น โดยอ้างว่า เพื่อให้แปลกจากปางต่างๆดังกล่าวบ้าง จากภาพนิมิตที่เกิดโดยการนั่งสมาธิบ้าง ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ดังนั้นการสร้างพระพุทธรูปจะต้องคำนึงถึงพุทธลักษณะ และพุทธศิลป์ดังกล่าวแล้วด้วย มิฉะนั้นจะทำให้การสร้างพระพุทธรูปมีลักษณะและปางต่างๆแปลกแยกออกไปเรื่อยๆตามนิมิตของ
แต่ละบุคคลโดยไม่มีที่สิ้นสุด

การสร้างพระพุทธรูปของวัดพระธรรมกาย
วัดพระธรรมกายนั้น ได้ศึกษาตามเอกสารเผยแพร่อ้างว่า สร้างขึ้นตามนิมิตที่เห็นในการทำสมาธิของคณะวัดพระธรรมกาย


เกณฑ์การวินิจฉัย

1.เกณฑ์การวินิจฉัยหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) กล่าวไว้ในหนังสือพิพพาน-อนัตตา ว่า "จะวินิจฉัยได้แน่ชัด ต้องไม่ออกนอกประเด็น ประเด็นที่จะพิจารณาในที่นี้มีเพียงว่า พระไตรปิฎกและอรรถกาว่าอย่างไรไม่ได้พูดถึงความเห็นของบุคคล ปัจจุบันที่ถกเถียงกันอยู่จึงเป็นเรื่องง่ายๆ เพียงเอาคำพูดของคัมภีร์มาแสดงให้เห็นแท้ๆ ล้วนๆ

2.เมื่อแสดงหลักฐานถ้อยคำของคัมภีร์เสร็จแล้ว ตนเองมีความเห็นอย่างไรก็แสดงออกไป ไม่เอาปะปนกับถ้อยคำของคัมภีร์ ผู้อ่านจึงไม่สับสนและไม่เข้าใจผิด
- ต้องการรู้อย่างเดียวว่า คัมภีร์พูดว่าอย่างไร ก็เอาถ้อยคำของคัมภีร์มาแสดงจำเพาะแท้ๆล้วนๆ ไม่เอาถ้อยคำและความคิดเห็นของตนเข้าไปปะปน (แยกกันให้ชัด)
- ต่อจากนั้น ตนมีความเห็นอย่างไรในเรื่องนั้นๆ หรือได้เห็นผลจากการปฏิบัติของตนหรือขงสำนักของตนอย่างไร ก็บอกแจ้งหรือแสดงไปตามนั้น (ผู้อื่นไม่จำเป็นต้องยอมรับหรือเห็นด้วย)
- ถ้อยคำหรือมติขอคัมภีร์นั้นๆตนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็มีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ไปตามตรง
- คัมภีร์นั้นๆตนจะเชื่อหรือไม่ หรือว่าจะเชื่อถือได้หรือไม่ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง แต่ว่าตนจะเชื่อหรือไม่ ข้อความในคัมภีร์ก็เป็นอยู่อย่างนั้น

3. หลักการวินิจฉัย ในการวินิจฉัยคำสอนทางพระพุทธศาสนา ยึดถือคัมภีร์ 4 อย่าง
3.1 พระไตรปิฎก คัมภีร์ดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา
3.2 อรรถกถา คัมภีร์อธิบายความในพระไตรปิฎก
3.3 อาจริยวาท คัมภีร์ที่พระธรามสังคหกาจารย์ แต่งอธิบายเพิ่มเติมโดยยึดพระไตรปิฎกเป็นหลัก
3.4 อัตโนมัติ การอธิบายหลักธรรมโดยยึดความรู้ของตนเองเป็นหลักการอธิบาย แต่ทั้งนี้ต้องอธิบายไม่ขัดแย้งกับคัมภีร์ทั้ง 3 ข้างต้น (สมนตปาสาทิกาภาค 19271 / 2532)

เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจุบันนี้มักจะมีการอธิบายหลักธรรมด้วยการใช้ความรู้ของ
ตนเองเป็นหลัก โดยไม่ยึดคัมภีร์ทั้ง 4 ดังกล่าว จึงทำให้ข้อความบางตอนคลาดเคลื่อนจากหลักธรรม ก่อให้เกิดความสับสนแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป

การแสดงหลักธรรมสำคัญให้ผิดเพี้ยนด้วยวิธีบิดเบือนอำพรางหลักฐานนี่สิเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างร้าย
แรงยิ่งกว่าพฤติกรรมของบุคคลบางกลุ่ม บางคณะที่มัวหมอง วุ่นวายเสียอีกเพราะเป็นการทำลายถึงรากเหง้าของ
พระพุทธศาสนาหรือเป็นการลบล้างพระพุทธศาสนาออกไปเลย ซึ่งร้ายแรงกว่าการประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย ที่เป็นเพียงการทำสกปรกเปรอะเปื้อนแก่พระศาสนา ซึ่งเราสามารถชำระล้างออกไปได้

จากหนังสือนิพพาน อนัตตา พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) พิมพ์ครั้งที่ 3 พฤษภาคม 2539 โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด 54/8-9 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 12 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร.412-3087, 864-0434-5, (01)923-8825


หมายเหตุ
คณะกรรมการกลุ่มวิชาการพระพุทธศาสนาและจริยศึกษา กรมการศาสนา ได้สรุปผลการวิเคราะห์พฤติกรรมของวัดพระธรรมกาย และจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อนายพิภพ กาญจนะ อธิบดีกรมการศาสนา เพื่อส่งต่อให้กับพระพหรมโมลี เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ในฐานะเจ้าคณะภาค 1 เพื่อนำประกอบการพิจารณากรณีของวัดพระธรรมกาย ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)

คณะกรรมการของกรมการศาสนาชุดนี้ได้วิเคราะห์พฤติกรรมของวัดพระธรรมกายโดยการศึกษาตรวจสอบจากหนังสือ วารสารและเอกสารต่างๆของวัดพระธรรมกาย รวม 94 เล่ม ซึ่งนำมาเทียบเคียงกับเกณฑ์การวินิจฉัยตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โดยยึดถือคัมภีร์ 4 อย่างคือ
1.พระไตรปิฎก (คัมภีร์ดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา)
2. อรรถกา (คัมภีร์อธิบายความในพระไตรปิฎก)
3. อาจริยวาท (คัมภีร์ที่พระธรรมสังคหกาจารย์ แต่งอธิบายเพิ่มเติมโดยยึดพระไตรปิฎกเป็นหลัก)
4.อัตโนมัติ (การอธิบายหลักธรรมโดยยึดความรู้ของตนเองเป็นหลักการอิบาย แต่ทั้งนี้ ต้องอธิบายไม่ขัดแย้งกับคัมภีร์ทั้ง 3 ข้างต้น)

พร้อมกันนั้นคณะกรรมการได้อ้างถึงหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาจากหนังสือนิพพาน อนัตตา ของ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) มาใช้เป็นเกณฑ์วินิจฉัยด้วย (ในส่วนล้อมกรอบ)

ในเบื้องต้นนี้ คณุกรรมการชุดนี้ได้สรุปผลการวิเคราะห์เฉพาะเพียง 4 ประเด็นที่กำลังตกเป็นข่าวคือ
1.คำสอนของวัดพระธรรมกายผิดเพี้ยนที่อ้างว่าพระนิพพานเป็นอัตตา(มีตัวตน)
2.การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดพระธรรมกายมีวิธีการเผยแผ่ในรูปแบบ
ต่างๆใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา
3.เรื่องการทำบุญด้วยการชักชวนบริจาคโดยอ้างเอาความศักดิ์สิทธิ์ของพระ
ของขวัญเป็นรางวัล และ
4.เรื่องการสร้างพระพุทธรูปโดยอ้างว่าสร้างขึ้นตามนิมิตที่เห็นในการทำสมาธิ
ของคณะวัดพระธรรมกาย