พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 36
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉกนิบาต หน้า 202 ข้อ 83 เรื่อง กุหกสูตร
๓. กุหกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ
[ ๘๓ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม
๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้พูดหลอกลวง
๑ เป็นผู้พูด
หวังลาภ ๑เป็นผู้พูดเลียบเคียงหาลาภ ๑ เป็นผู้พูดคาดคั้นให้บริจาค ๑ เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ
๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระ
ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ
และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม
๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่
ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระไม่เป็นผู้พูดหลอกลวง
๑ ไม่เป็นผู้พูดหวังลาภ ๑
ไม่เป็นผู้พูดเลียบเคียงหาลาภ ๑ ไม่เป็นผู้พูดคาดคั้นให้บริจาค ๑ ไม่เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ
๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
เป็นที่เคารพและเป็นที่ยกย่องของ
เพื่อนพรหมจรรย์
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 36
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉกนิบาต หน้า 373 ข้อ 175 เรื่อง จัณฑาลสูตร
๕. จัณฑาลสูตร
ว่าด้วยธรรมสำหรับอุบาสกดีและอุบาสกชั่ว
[
๑๗๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกเลวทราม
เศร้าหมอง
และน่าเกลียด ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน ? คือ อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว
เชื่อมงคลตื่นข่าวไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการสนับสนุนศาสนานั้น
๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้
ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม
๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก
ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน ? คือ อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา
๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว
๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการสนับสนุนศาสนานี้ ๑
ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม
อุบาสกบุณฑริก