เดลินิวส์ 7/2/2542

ธรรมกายให้บริจาคเดือนละพัน
สำนักข่าวกรองยันธรรมกายเบี่ยงเบนใช้ศาสนาระดมเงิน ผลิตบุญเป็นสินค้าเหมือนธุรกิจ ทำโครงการ
"บัตรเศรษฐี"หาสมาชิก 3 หมื่นคนให้บริจาคทุกเดือนคนละพัน กวาดปีละ 300 ล้าน
ซ้ำร้ายมีรายการกระปุกดวงแก้วแจกจ่ายสาวกใส่เงินไปถวายกับเจ้าอาวาสแล้วเอากระปุกใหม่ไปใส่อีก พบสารพัดโครงการได้เงินไปไม่ยอมทำทั้งอาศรมที่พัก-พระทองคำ แฉธรรมกายเจดีย์จะกวาดถึง 3 หมื่นล้าน "ธัมมชโย"สั่งระดมศิษย์เป็นประธานรองฉลองปิดเจดีย์ปีหน้าคิดค่าบุญคนละล้านใครไม่มีเงินให้ขายบ้านขายรถ
นักวิชาการไล่ส่งขับพ้นศาสนาพุทธ
เมื่อวันที่ 6 ก.พ.ที่ผ่านมาผู้สื่อข่าวติดต่อสัมภาษณ์พระสุเมธาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดมูลจินดา อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี รักษา
การณ์เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดที่ดูแลวัดพระธรรมกาย แต่ไม่พบและมีพระมหาบุญหลาย ญาณวีโร พระลูกวัดให้สัมภาษณ์ว่าว่าปัญหาวัดพระธรรมกายมีอิทธิพลที่ไม่เป็นรูปธรรมเกิดขึ้นโดยไม่ว่าพระรูปใดออกมา
คัดค้านการแสวงบุญของวัดไม่ว่าจะเป็นพระอดิศักดิ์ วิริยะสักโก หรือพระบานเย็น ดวงระยศ ก็ถูกไล่ออกจากวัด โดยไม่คำนึงถึงสังคมหมู่มากที่จับตาวัดพระธรรมกายทั้งเรื่องการทำบุญด้วยเงินผ่อน สอนนอกหลักพุทธ
ศาสนาเรื่องนิพพานเป็นอัตตา รวมถึงอ้างว่าพระไชยบูลย์กับแม่ชีจันทร์-ขนนกยูง เท่านั้นที่สำเร็จวิชชาธรรมกายนำข้าวไปถวายพระพุทธเจ้าได้
นอกจากนั้นการบวชสามเณรี ของวัดพระธรรมกายในโครงการอภิญญาธรรมก็ผิดพุทธบัญญัติ
เพราะต้องให้พระภิกษุณีเป็นผู้บวช และนางภิกษุณีเสื่อมสูญไปไม่มีแล้ว ผู้บวชให้และผู้บวช
ผิดชัดเจน
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าบริเวณหน้าวัดพระธรรมกายยังมีป้ายชักชวนการบวชอุบาสกแก้วทั้งที่ผ่านพิธีไปแล้ว รวมถึงการ
ชักชวนให้ร่วมสักการะรูปหล่อทองคำหลวงพ่อสด การบริจาคโลหิตในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 13-14 กุมภาพันธ์ ที่ร่วมอนุโมทนาโดย
มูลนิธิวัชรศรีโรจน์ รวมถึงมีเจ้าหน้าที่ของวัดมาแจกใบปลิวหัวข้อว่า"เรียนท่านผู้โชคดีในรอบ 1,000 ปี ให้อ่านจดหมายในฉบับ" โดยเนื้อหาจดหมายคือการกล่าวอ้างปาฏิหารย์อัศจรย์ตะวันแก้ว และผู้สื่อข่าวยังได้รับแจ้งจากชาวบ้านบริเวณวัดด้วยว่าวัดเร่งสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ตลอดคืนใช้คนนับพัน พอรุ่งเช้าก็มีรถยนต์มารับกลับไปหมดไม่รู้ไปไหน โดยคนงานที่ทำงานพูดเสียงมอญ พม่า ลาว เป็นต้น
ในวันเดียวกันได้มีการบันทึกรายการตามหาแก่นธรรม ที่วัดศรีสุดาราม โดยได้มีกระทู้ถามเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายใน
เรื่องที่วัดยึดถือนิพพานเป็นอัตตา หรือมีตัวตน เป็นสถานที่ โดยพระสิงห์ทน นราสโภ พระนักต่อต้านพุทธพาณิชย์
กล่าวว่านหลักฐานพระไตรปิฎกยืนยันแน่ชัดว่านิพพานเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สถานที่ ผู้ยึดถือนิพพานอัตตา มีตัวตนคือพวกพาล
ส่วนดร.ภัทราพร ศิริกานต์ หัวหน้าภาควิชาปรัชญามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวพระไตรปิฎกไม่มีการพูดถึงว่า
นิพพานเป็นอัตตาเลย แต่คนบางคนเหมาเอานิพพานเป็นอัตตา
ซึ่งเป็นแนวคิดของศาสนาพุทธนิกายหินยาน เป็นของต่างประเทศ หรือไปเลียนแบบฝรั่งที่มีสวรรค์เป็นสถานที่ ถ้าคน
ไหนยึดเอานิพพานเป็นอัตตาก็เพื่อเรียไรเงินเท่านั้น
ดร.อุทัย ดุลยเกษม อดีตคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลับศิลปากรกล่าวว่าการที่มีวัดบางวัดยึดถือนิพพานเป็นอัตตาทำได้ไม่มีใครว่าแต่ให้ออก
ไปจากศาสนาพุทธได้ เพราะก่อนเข้ามาบวชก็กล่าวคำขอบวชในศาสนาพุทธ แต่กลับมา
สอนผิดเพี้ยนไป ผิดเพศ ผิดเหล่ากอ ควรออกไป
รายงานข่าวจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติเปิดเผยว่าสำนักข่าวกรองได้ติดตามการระดมเงินของวัดพระธรรมกายเพราะ
วัดเบี่ยงเบนใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการระดมเงินมหาศาล และผลิตโครงการบุญหลายโครงการอย่างต่อเนื่องอาทิการจัด
ทอดกฐิน ผ้าป่าสามัคคี การบริจาคทองคำหล่อรูปเหมือนพระมงคลเทพมุนี(หลวงพ่อวัดปากน้ำ ) การระดมทุนสร้างวิหาร
พระมงคลเทพมุนี รวมไปถึงการสร้างมหาธรรมกายเจดีย์
วิธีการระดมบุญวัดยังใช้วิธีทางธุรกิจเข้ามา อาทิในปี 2534 วัดจัดทำโครงการบัตรเศรษฐี เป้าหมายจะหาสมาชิก 30,000 คน แต่ละคนจะต้องหาเงินเข้าวัดเดือนละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท หรือเท่ากับตลอดทั้งปีจะมีเงินเข้าวัดราวๆ 360 ล้านบาท และวัดโฆษณาว่า ถ้าใครทำได้จะได้รับ
บัตรเศรษฐี ใครอยากเป็นเศรษฐีทุกชาติก็ให้ร่วมบริจาคเข้ากองทุนนี้ไปตลอดชีวิต
รูปแบบการหาสมาชิกทำบุญเช่นนี้ยังต่อเนื่องถึงปี 2541
นอกจากนั้นถ้าไม่ถนัดทำบุญแบบบริจาคทุกเดือน วัดยังทำโครงการ"ถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน" เพื่อให้เป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารแบบจำเพาะเจาะจงได้อีก เช่นจะขอเป็นเจ้าภาพเฉพาะสัปดาห์ละ
ครั้ง,เดือนละครั้ง ปีละครั้ง หรือทุกวันจันทร์ของทุกเดือนเป็นต้น โดยมีการทำตารางสะสมบุญการเป็นเจ้า
ภาพภัตตาหารแจกให้หน้าตาคล้ายปฏิทินซึ่งจะทำให้คนทำบุญกรอกรายละเอียดได้ว่าสะสมบุญการเป็น
เจ้าภาพภัตตาหารไปกี่ครั้งแล้วในรอบปี และวัดยังมีการออกเหรียญรุ่น"ดูดทรัพย์"มอบให้กับผู้ที่ทำบุญ 1,000 บาทที่ถวายเป็นค่าอาหารด้วย
รายงานข่าวจากกรรมาธิการศาสนาเปิดเผยเพิ่มเติมว่ารูปแบบการตั้งกองทุนเพื่อดูดเงินของวัดมีหลายรูปแบบ โดยถ้าวัดมีรายจ่ายเรื่องใดก็จะตั้งเป็นกองทุนเรื่องนั้นโดยเฉพาะแยกออกไปเช่นการตั้งกองทุนภัตตาหาร กองบุญธุดงค์ กองบุญ
ยานพาหนะ กองบุญปัญญาบารมี รวมถึงกองทุนพิเศษอาทิกองทุนสหวารที่ชักขวนคนเกิดวันเดียวกันเช่นวันจันทร์เหมือนกัน
ให้มาทำบุญด้วยกัน,ฯลฯ
บางกองทุนยังนำรูปแบบการสะสมทรัพย์แบบหยอดกระปุกของธนาคารออมสินเข้ามาด้วยเช่นโครงการ"ดวงมณีทวีบุญ" ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2531 โดยวัดจะทำกระปุกออมสินเป็นรูปดวงแก้วแจกให้สานุศิษย์ไปใส่เงินบริจาคที่บ้าน
จนเต็มและจะมีโอกาสถวายกระปุกแก้วให้กับพระไชยบูลย์ ธัมมชโย เจ้าอาวาส จากนั้นให้มารับกระปุกใหม่ไปหยอดอีก
รายงานข่าวกล่าวอีกว่าโครงการบอกบุญของวัดหลายโครงการที่ได้เงินไปแล้วกลับไม่ได้ดำเนิน
การตามที่อ้าง อาทิโครงการปลูกต้นกัลปพฤกษ์ 200 ต้น ราคาต้นละ 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 200 ล้านบาท, โครงการสร้างพระทองคำหน้าตัก 9 นิ้ว ที่จะให้ศิษย์มาตอกคทาธรรมแข่งกันใคร
ตอกได้ชนะก็เอาไปครอง 1 ปี ใครตอกได้ชนะครบ 3 ปี ก็เอาไปเป็นกรรมสิทธิเลย ซึ่งมีการถวายทองคำจำนวนมาก แต่ไม่ได้สร้างเช่นกัน,โครงการสร้างอาศรมให้สาธุชน
มาปฎิบัติธรรมบริจาคหลัง20,000 บาท ได้ยอดประมาณ 1,000 หลัง รวมเป็นเงิน20ล้านบาท แต่ก็เงียบหายเช่นกัน
สำหรับโครงการล่าสุดในการก่อสร้างมหาธรรมกายเจดีย์นั้น กรรมาธิการได้รับข้อมูลประกอบจากคณะกรรมการ
ของกระทรวงศึกษาธิการชุดที่มีนายสุวัฒน์ เงินฉ่ำ รองปลัดกระทรวงกระทรวงเป็นประธานระบุว่าวัดพระธรรมกาย
จะได้เงินจากการระดมทุนถึง 30,000 ล้านบาท จากที่เคยคิดว่าจะได้ราว ๆ 10,000 ล้านบาท
การระดมเงินในโครงการมหาธรรมกายเจดีย์นี้จะแยกการขายบุญเป็นส่วน ๆ โดยครั้งแรกคือการให้เป็นเจ้าภาพ"เสาเข็ม" วัดจะโฆษณาว่าเสาเข็มเหมือนเสาแห่งทรัพย์ แสดงถึงความเป็นปึกแผ่น ที่จะค้ำจุนฐานะอันเลิศไว้ตลอดไป เหมือนมหาเศรษฐีในกาลก่อนที่มักนิยมฝังทรัพย์สมบัติไว้ในดิน ค่าบุญเสาเข็มต้นละ 1 แสนบาท วัดจัดสรรมาให้ 3,333 ต้น รวมแล้วเป็นเงิน 333.3 ล้านบาท
ถัดจากเสาเข็มถัดมาก็เป็น"เสาค้ำ"มหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งเป็นเสาโผล่ขึ้นมาเหนือดิน โดยคำโฆษณาสำหรับเสาค้ำคืออานิสงส์แห่งบุญจะทำให้ชีวิตประสบแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม วัดจัดสรรมาให้ 815 ต้น ราคาต้นละ 1 แสนบาท ในส่วนเสาค้ำได้เงินไป 81.5 ล้านบาท
อันดับต่อไปเป็นการการสร้างแท่นนั่งหรืออาสนะสำหรับนำพระไปวางไว้ มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลม โดยทางวัดเรียกว่ามหาวิสุทธิบัลลังก์ ได้ระดมบุญโดยตั้งผ้าป่าราคากองละ 5,000 บาท ถ้าได้ 1 ล้านกองเท่ากับจำนวนองค์พระวัดก็จะรับไป 5,000 ล้านบาท และการทอดผ้าป่าครั้งนี้มีแม่ชีจันทร์ ขนนกยูงเป็นประธาน และวัดแจกเหรียญกล้ารวยให้เป็นการตอบแทน โดยถ้าใครบริจาคทุก ๆ 1 กองจะได้ 1 เหรียญ ใครที่ทำบุญสร้างแท่นนั่งนี้ วัดโฆษณาว่าบุญที่ได้รับจะมาหล่อเลี้ยงที่ศูนย์กลางกาย เป็นดวงบุญสว่างไสว ดวงบุญนี้จะมีพลา นุภาพ"ดึงดูด"ทรัพย์สมบัติ และความสมบูรณ์ให้บังเกิดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า
สุดท้ายเป็นการการสร้างพระธรรมกายประจำตัว1 ล้านองค์ โดยวัดพระธรรมกายก็ได้นำเอาพระมหาสิริราช
ธาตุหรือ"พระดูดทรัพย์"มาแจก ซึ่งพระประจำตัวจะแยกเป็นพระนอกองค์เจดีย์จำนวน 300,000 องค์ ราคาองค์ละ 30,000 บาท ส่วนพระภายใน 700,000 องค์ราคาองค์ละ 30,000 บาท รวมแล้วเฉพาะค่าพระจะเป็นเงิน 24,000 ล้านบาท
รายงานข่าวกล่าวอีกว่าหลังจากระดมทุนตามเป้าหมายในวันมาฆบูชาเดือนกุมภาพันธ์ 2543 วัดจะจัดผ้าป่าและให้สานุศิษย์มาเป็นประธานรองอัตราค่าบุญสำหรับประธานรองก็คนละ 1 ล้านบาท โดยถือเป็นงานใหญ่ของวัด และจะดึงดูดเงินได้มหาศาล โดยพระไชยบูลย์ ธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายถึงกับลงทุนออกมาเทศนาด้วย
ตัวเองว่าใครมีบ้านให้ขายบ้านใครมีทรัพย์สมบัติ
อะไรให้ขายให้หมด เพื่อมาเป็นประธานรองในงานวันนั้น