เดลินิวส์ 3/7/2542
ไชยบูลย์หว่านอีก 600 ล้านสร้างภาพ
ไชยบูลย์" หว่านเงินเกือบ 600 ล้านสร้างภาพอีก ส่งสาวกไปดูดนักเรียนร่วมตอบปัญหาธรรมะตั้งเป้า 12.3 ล้านคน แจก คนละ 3 พัน ทุ่มไป 375 ล้าน ขณะเดียวกันก็ดูดเจ้าอาวาสมารับผ้าป่ารับเงินซ่อมวัดตั้งเป้าแจก 1 หมื่นวัด ได้แห่งละ 2 หมื่นบาท กดเข้าไปอีก 200 ล้าน ส.ส.ปชป.ให้ปากคำกองปราบฯ ยืนยันศรัทธาเดียรถียร์ ส่วนที่ดินนั้น ยกให้เพื่อ ประโยชน์ในพุทธศาสนา จี้เจ้าคณะจังหวัดปทุมฯรีบพิจารณารับฟ้องหรือไม่ ระบุเตะถ่วง ส่งเรื่องข้อกฎหมาย ให้เจ้าคณะภาค 1 ตีความ ไม่เข้าใจจริงน่าส่งกรมการศาสนาช่วยเหลือมากกว่า
เมื่อวันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานจากจ.แม่ฮ่องสอนว่า ได้มีสาวกธรรมกาย 10 คน พร้อมรถปิคอัพ 2 คัน เดินทางมา ยังโรงเรียน ต่าง ๆ ในเขตพื้นที่เพื่อเข้าพบผู้อำนวยการโรงเรียน ,อาจารย์ใหญ่ โดยให้นักเรียน ในสังกัดส่งตัวแทนม.ปลาย และม.ต้น ไปสอบชิงทุน การศึกษาธรรมะทางก้าวหน้าในเดือนพ.ย.นี้ โดยมีโรงเรียนอ.แม่สะเรียง 6 แห่งตอบตกลงแล้ว ส่วนในเขต อ.เมือง อ.ปาย และอ.แม่ลาน้อยอยู่ระหว่างการตัดสินใจ
การระดมพลครั้งนี้สาวก แต่ละคนจะมีคู่มือประจำตัวหาพลังมวลชนให้นายไชยบูย์ โดยคู่มือ ระบุว่าต้องหาสมาชิก ทุกสาขา อาชีพขยายสาขา ให้แน่นหนาทุกจังหวัด ทุกหมู่บ้าน สำหรับทุนการศึกษาจะมอบให้ทุนละ 3,000 บาท จำนวนโรงเรียน เป้าหมาย 32,492 แห่ง นักเรียนจำนวน 12.3 ล้านคนเศษ ทั้งจากโรงเรียน สังกัดกรมสามัญ ศึกษา,สังกัด กรมอาชีว ศึกษา,สังกัดสปจ. ,โรงเรียน สังกัดกทม.และโรงเรียนเอกชนทุกแห่ง รวมทุนการศึกษาที่มอบให้ 375 ล้านบาท
ส่วนพระครูอนุสิฐธรรมสาร เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยกองมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ได้มีพระจากวัดพระธรรมกาย 2 รูปมาหา โดยแจ้ง คามประสงค์ให้ส่งพระเณรและญาติโยมไปรับองค์ผ้าป่าที่วัดพระธรรมกายในวันที่ 21 ส.ค.นี้วัดละ 2 หมื่นบาท และจะแจกจำนวน 1 หมื่นวัดทั่วประเทศ รวมเป็นเงิน 200 ล้านบาทและได้ติดต่อไปวัดทั่ประเทศแล้ว โดยที่แม่ฮ่องสอน ได้นิมนต์ไว้แล้ว 10 วัด
"ตัวแทนวัดพระธรรมกาย ชี้แจงว่าเงินที่ให้สำหรับใช้ซ่อมแซมวัด ส่วนวัตถุประสงค์อื่นไม่ทราบ โดยถ้าหากมีพระเณร และญาติโยมเดนิ ทางไปจำนวนมาก ก็จะมีการจัดรถบัสรับส่งพร้อมกับอาหารฟรี การไปรับ กองผ้าป่า ถ้าเป็นกิจนิมนต์ พระสงฆ์ คนขัดไม่ได้ แต่จะไปมากหรือน้อยต้องหารอืกันก่อน แต่การสอน ไม่ถูกต้องตามหลักศาสนา ต้องยึดหลักพระไตรปิฎก การทำบุญมาก หรือน้อยได้บุญเหมือนกัน ถ้าทำเป็นหมื่นเป็นแสนครอบครัวแตกแยกบุญก็ไม่เกิด มีแต่ความเดือดร้อน จะหา ความสุขได้ที่ไหน"
สำหรับการดำเนินคดี ต่อศาลสงฆ์ตามกระบวนการนิคหกรรมนั้นนายมาณพ พลไพรินทร์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กรมการศาสนา กล่าวว่า หากพระพระสุเมธาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดมูลจินดารามและเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี รับคำฟ้องนายไชยบูลย์ สุทธิผล ของตนเอง พร้อมกับ ผู้ยื่นฟ้องรายอื่นอีก 2 รายแล้วถือว่าเกิดอธิกรณ์แล้ว ซึ่งตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 24 ข้อ 56 เขียนไว ้ชัดเจนว่า พระสังฆาธิการถ้าต้องอธิกรณ์แล้วผู้บังคับบัญชาใกล้ชิดคือ เจ้าคณะตำบล จะเป็นผู้พิจารณา ดำเนินการสั่งพักหน้าที่ ถอดถอน ออกจากตำแหน่ง ซึ่งรวมถึงพระเผด็จ ทัตตชีโว รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายด้วย
"เหมือนกับระบบ ข้าราชการ การต้องอธิกรณ์คือการเกิดคดีความผิดขึ้นและเป็นคดีที่มีมูล หากเป็นข้าราชการก็จะถูกสั่งพักราชการ ต่อเมื่อมีการสอบสวนแล้วว่าไม่มีความผิดสามารถแต่งตั้งกลับเข้ามารับราชการได้อีก หากไม่มีความผิด ตามข้อกล่าวหาก็กลับมาทำหน้าที่คืนตำแหน่งให้ทั้งเจ้าอาวาสและรองเจ้าอาวาสได้"
นายมาณพกล่าวว่า เมื่อมีการสั่งพักหน้าที่และถอดถอนออกจากตำแหน่งแล้ว เจ้าคณะตำบล จะต้องเสนอให ้เจ้าคณะจังหวัดปทุมธาน ีพิจารณาแต่งตั้งผู้รักษาการแทน ซึ่งจะพิจารณาจากพระในวัดหรือนอกวัดก็ได้ แต่ถ้าเลือกพระ ในวัดพระธรรมกาย คิดว่าปัญหาต่างๆคงจะไม่คลี่คลาย แต่ถ้าใช้พระนอกวัดที่มีความรู้ความสามารถปัญหาก็น่าจะยุติได้เร็ว
การใช้โรงเรียน พลตำรวจบางเขนเป็นที่เรียกนายไชยบูลย์มารับฟังข้อกล่าวหาหรืออาจจะใช้เป็นที่ไต่สวนด้วยนั้น ถือเป็นความรอบคอบ เนื่องจากเป็นคดีที่ประชาชนสนใจ ระหว่างที่มีการไต่สวน อาจจะมีผู้สนับสนุนและคัดค้านจัดม็อบชนม็อบได้ เชื่อว่าภายในโรงเรียน พลตำรวจบางเขนนั้น จะมีการดูแลรักษาความปลอดภัยกว่าที่อื่น อย่างไรก็ตามหากว่าเกิดความวุ่นวายถึงขนาดม็อบชนม็อบ เจ้าคณะจังหวัดปทุมฯ จะต้องใช้กฎมหาเถรฯฉบับที่ 21 สึกนายไชยบูลย์ได้
ส่วนกรณีพระพรหมโมลี เจ้าคณะภาค 1 อ้างว่า ไม่ได้รับหนังสือสอบถาม จากพระสุเมธาภรณ์ สอบถามเรื่องคุณสมบัติ ผู้ฟ้องกฎนิคหกรรมนั้น นายมาณพกล่าวว่า เท่าที่ได้รับทราบนั้นระบุว่าติดขัดข้อกฎหมายในมาตรา 15 วรรค 2 ซึ่งปรากฎว่า การตีความ ตามข้อกฎหมายนั้น มีความชัดเจนในตัวอักษรอยู่แล้ว คือผู้กล่าวหานั้น สามารถกระทำได้ ไม่ว่าผู้กล่าวหา นั้นเป็นพระ หรือฆราวาส แต่ที่มาตรา 15 วรรค 2 บัญญัติไว้ให้ตรวจคุณ สมบัติตามข้อ 4 (8)ก. ก่อนนั้น หมายถึงผู้กล่าวนั้นเป็นพระภิกษุ
"เข้าใจว่า เจ้าคณะจังหวัด คงจะตีความข้อกฎหมายไม่ตรงกับนักกฎหมายที่เขาร่างมา เพราะเจตนารมณ ์ในการเขียนกฎหมาย คงไม่ได้เจาะจงว่า ผู้กล่าวหาพระภิกษุจะต้องเป็นพระเพียงอย่างเดียว และความจริง หากต้องการ นำข้อกฎหมายที่ติดขัด ไปให้มหาเถรฯพิจารณาตีความ ควรเสนอเรื่องผ่านกรมการศาสนาไม่ใช่ผ่านเจ้าคณะภาค 1 เรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของมหาเถรฯ ตีความเองไม่ได ้ก็น่าจะส่งให้กรมการศาสนาซึ่งมีเจ้าหน้าที่และนักกฎหมายพร้อมไปช่วยตีความ"
บ่ายวันเดียวกัน ที่ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร ได้มีการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ 25/2542 โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ เป็นประธานในที่ประชุม มีกรรมการมหาเถรฯเข้าประชุมทั้งสิ้น 13 รูป หลังการประชุมนายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ รองอธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยว่า ไม่ได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย เพราะอยู่ระหว่าง การพิจารณาของเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ส่วนเรื่องการตีความข้อกฎหมายในกฎนิคหกรรมนั้น ควรจะพิจารณา ตามตัวบทกฎหมายที่บัญญัติไว้ หากพิจารณา ไม่ได้ก็ควรประกาศว่า ไม่รับฟ้อง เพื่อผู้กล่าวหานั้นๆจะได้อุทธรณ์ต่อไป
ส่วนที่กองปราบปรามฯ เมื่อเวลา 15.00 น. ของวันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายประกอบ จิรกิตติ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนางวรรณา จิรกิตติ ภริยา ได้เดินทาง เข้าให้ปากคำ กับพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ผกก. 1 ป. ในฐานะคณะพนักงานสอบสวนคดีทุจริตเรื่องที่ดินของนายไชยบูลย์ สุทธิผล ตามหมายเรียก ของพนักงานสอบสวน เนื่องจากนายประกอบและภริยาเป็นผู้ที่บริจาคที่ดินส่วนหนึ่งให้แก่วัดพระธรรมกาย จำนวน 10 แปลง 289 ไร่ ในพื้นที่จังหวัดลพบุรีและตราด โดยใช้เวลาในการสอบปากคำประมาณ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้น นายประกอบกล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้เพื่อให้ความกระจ่างในคดีที่เกิดขึ้น โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ถือเป็นเรื่องดี เป็นการ ทำให้ทุกอย่างแจ่มชัด ซึ่งการถวายที่ดินครั้งนั้นเมื่อให้แล้วก็ไม่ได้คิดอะไรอีก ถือเป็นการทำบุญ ตามที่ศรัทธาทั้งส่วนตัว และครอบครัว การทำบุญก็ไม่ใช่เฉพาะแต่วัดพระธรรมายกทเา่นั้น ส่วนที่เป็นข่าว อยู่ในขณะนี้ก็ได้ติดตาม มาตลอดและก็ยังคงศรัทธา วัดพระธรรมกายเช่นเดิม หากว่า การดำเนินการสอบสวน ของเจ้าพนักงาน พบว่ามีการกระทำความผิดจริง ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่ศรัทธาอยู่
ด้านนางวรรณากล่าวว่า ที่ดินดังกล่าวนั้นได้ซื้อไว้ตั้งแต่เมื่อปี 2534 แต่ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์อะไร จึงได้มอบให้แก่ วัดพระธรรมกาย คิอว่าน่าจะนำไปมช้ประโยชน์ในพระพุทธศาสนาได้ ที่ผ่านมาก็มีความศรัทธานายไชยบูลย์เป็นอย่างมาก คิดว่าทำให้ตนเอง ได้รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้แจ่มชัดขึ้น ส่วนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์อะไร เพราะคงไม่เกิดประโยชน ์กับบุคคลที่ไม่มีความลึกซึ้งในเรื่องนี้