เดลินิวส์ 10/6/2542
ฟ้องไชยบูลย์ 2 ข้อหายักยอก-ทุจริต 'ตูมตาม'ทำเหี้ยม'พิภพ'เบี้ยวเจอดี
อัยการสูงสุด ฟันธงฟ้องเดียรถีย์ได้!! แต่ไม่ตอบข้อกฎหมายทุกประเด็น ใน กรมการศาสนา คิดเอง ว่าจะใช้ มาตรไหน "ตูมตาม" ลั่นเจอ 2 กระทง"ยักยอกทรัพย์-ทุจริตต่อหน้าที่"ขีดเส้นตายอธิบดีศาสนา ไม่แจ้งความ ดำเนินคดีอาญาพระปลอม "ไชยบูลย์ สุทธิผล" เจอแน่ สมช.กับสำนักข่าวกรองฯเร่งหาข้อมูลสนับสนุนกรมการศาสนา ชี้ไม่ต้องการให้โดดเดี่ยว เจ้าคณะปทุมฯ เผย คำฟ้อง เหลือพิจารณาแค่ 3 ราย คาดกลางเดือนนี้ตัดสินได้แน่รับหรือไม่รับ ข่าวดีตั้งแต่ 20 มิ.ย. ให้ประชาชน เข้าเฝ้าฯ สมเด็จ พระสังฆราชได้ "ศิษย์ไชยบูลย์" ห้าวอ้างหารือนักกฎหมายแล้ว แจ้งคดีอาญาลูกพี่ไม่ได้แน่ ไม่ใส่ใจโอนที่ดิน 10 มิ.ย.
ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีนายเด่น โต๊ะมีนา เป็นประธาน การประชุมพิจารณาในประเด็นกรณีปัญหาวัดพระธรรมกาย ซึ่งได้มีการเชิญผู้เกี่ยวข้องจากหลายฝ่ายเข้าร่วมในการประชุมอาทิ นายสุวัฒน์ เงินฉ่ำ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ รองอธิบดีกรมการศาสนา นายพชร ยุติธรรมดำรง รองอธิบดี อัยการฝ่ายทรัพย์สิน ทางปัญญา ตัวแทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ และตัวแทนสำนักข่าวกรอง จ วอน สมช. หาข้อมูลหนุน หลังการประชุม นายเด่นกล่าวว่า ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงความคืบหน้าในการดำเนินการกรณีวัดพระธรรมกาย โดยเฉพาะ ในเรื่องการโอนที่ดินคืนให้วัด ซึ่งกรมการศาสนา ชี้แจงว่าหลังจากวันที่ 10 มิ.ย.จะสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีอาญากับนายไชยบูลย์ได้หรือไม่ ต้องรอการ ตอบข้อกฎหมาย จากสำนักงานอัยการสูงสุดก่อน แต่ทาง กรรมาธิการเชื่อว่า หากอัยการสูงสุดชี้ว่า กรมการศาสนา สามารถดำเนินคด ีอาญาได้ ก็คงไม่กล้าทำ แน่นอน
นายอำนวย สุวรรณคีรี ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯกล่าวว่า รองอธิบดีอัยการฯ ไม่สามารถ ชี้ชัดได้ว่า กรมการศาสนา สามารถฟ้องร้องคดีอาญาได้หรือไม่ เพราะเรื่องนี้ต้องรอมติคณะกรรมการอัยการสูงสุด แต่โดยส่วนตัว แล้วรองอธิบดีอัยการฯ ชี้ว่าปัญหา วัดพระธรรมกายนั้นควรจะเจาะลงไปในเรื่องความผิดพลาดทางพระธรรมวินัย เพราะไม่ใช่เรื่องของวัด อย่างไรก็ตาม ในเรื่อง ที่ดินนั้น ตามพ.ร.บ. คณะสงฆ์ได้แบ่งที่ดินออกเป็น 3 ประเภทคือ ที่วิสุงคามสีมา ที่ธรณีสงฆ์ และที่กัลปนา ที่ทั้ง 3 ประเภทนี้ ถ้าผู้มีจิตศรัทธา ยกให้วัด ก็ถือว่าเป็นของวัดโดยทันที นอกจากนี้กรรมาธิการฯยังได้ขอให้สำนักข่าวกรองฯและสมช. หาข้อมูลต่าง ๆเพิ่มเติม ให้แก ่กรมการศาสนา ในการดำเนินคดี ไม่ควรปล่อยให้กรมการศาสนาโดดเดี่ยว เพื่อความรอบคอบในการทำงาน ที่ประชุม ได้มอบหมายให้ สมช. และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ไปติดตามกรณีที่วัดพระธรรมกายลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ เรื่อง การแจกโล่พระราชทาน ว่าทางวัด สามารถ ทำได้หรือไม่ด้วย
ฟัน"พิภพ"ถ้ายื้อไม่แจ้งความ
ส่วนที่ กระทรวงศึกษาธิการในวันเดียวกัน นายอาคม เอ่งฉ้วน รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินการกับนายไชยบูลย์ว่า กรมการศาสนา ยืนยันที่จะดำเนินคดี อาญากับนายไชยบูลย์ หากไม่โอนที่ดิน คืนให้วัดภายในวันที่ 10 มิ.ย. โดยจะแจ้งความดำเนินคดีในความผิดอาญามาตรา 147 และมาตรา 157 เพราะกรมการศาสนา มั่นใจในข้อกฎหมายว่า น่าจะกล่าวโทษได้เลย และไม่มีนักกฎหมายคนใดเลยออกมาคัดค้าน เมื่ออัยการสูงสุด ยืนยันกลับมาก็จะนำเอกสารไปเพิ่มเติมในภายหลัง
"เมื่อครบกำหนดเวลา ที่ยื่นให้นายไชยบูลย์แล้ว กรมการศาสนาจะให้เวลาเพิ่มอีกโดยจะไปแจ้งความดำเนินคดีในวันที่ 15 มิ.ย. และเมื่อถึงวันนั้น หากว่านายพิภพ กาญจนะ อธิบดีกรมการศาสนายังไม่ไปดำเนินการให้แล้วเสร็จ จะต้องมีเหตุผลที่ดีพอชี้แจง หากเหตุผลนั้น ฟังไม่ขึ้น หรือไม่มีเหตุผลเพียงพอ ผมก็ต้องพิจารณาโทษอย่าง ใดอย่างหนึ่งกับอธิบดีกรมการศาสนา แต่ยังบอกไม่ได้ ว่าจะลงโทษอย่างไรเพราะยังไม่ถึงเวลา"
เย้ยคัตเอาต์ใหญ่หน้า"ธรรมกาย"
ต่อข้อถาม ถึงกรณีที่นายมานิต รัตนสุวรรณ ที่ปรึกษามูลนิธิธรรมกายจะขอเข้าพบเพื่อเจรจาเรื่องโอนที่ดินนั้น รมช.ศึกษาฯกล่าวว่า หมดเวลา เจรจาแล้ว นายมานิตควรไปประสานงานเรื่องโอนที่ดินให้เกิดขึ้นและให้เสร็จสิ้นโดยเร็วมากกว่า ไม่ใช่จะมาขอขยายเวลาอีก นายมานิต ไม่ใช่ ผู้เสียหาย เพราะผู้เสียหายคือเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย หากไม่มีการโอนที่ดินนายไชยบูลย์ก็ต้องตกเป็นผู้ต้องหา นายมานิต ก็อาจจะต้อง ลำบาก ไปด้วยเนื่องจากญาติโยมคงไม่พอใจ อย่ามาตั้งตัวเป็นทนายคอยเจรจา ควรไปดำเนินการ เรื่องนี้ให้เรียบร้อย เพราะเป็นมต ิมหาเถรสมาคม มติที่วัดพระธรรมกายขึ้นป้ายใหญ่โตไว้หน้าวัดว่า "จะปฏิบัติตามมติมหาเถรฯทุกอย่าง"
ส่วนที่ หลายฝ่ายกังวลว่าเมื่อดำเนินคดีนายไชยบูลย์ทางอาญาแล้ว จะไม่มีการดำเนินการทางศาลสงฆ์นั้น นายอาคมกล่าวว่า เป็นคนละเรื่องกัน เพราะศาลสงฆ์นั้นมีการกล่าวหาในเรื่องของการละเมิดคำสอน การอวดอุตริมนุสธรรม รวมถึงเรื่องที่ดิน แต่เรื่องที่ดิน ถ้าฟ้องร้อง ทางอาญาแล้ว ทางศาลสงฆ์ก็ต้องยุติไว้ก่อน แต่เรื่องอื่นก็ยังมีการพิจารณาต่อไป อย่างไรก็ดีในวันที่ 10 มิ.ย. จะมีการประชุม คณะกรรมการ ศึกษา ปัญหาและปรับปรุงการปกครองสงฆ์ ซึ่งวาระสำคัญ ที่จะพิจารณาก็คือ กรณีวัดพระธรรมกาย ข้อเสนอ แนะการปกครอง คณะสงฆ์และแนวทาง การปรับปรุงและปกครองคณะสงฆ์
ฝันโอนที่ดินก่อนกำหนด
ด้าน นายพิภพ กาญจนะ อธิบดีกรมการศาสนากล่าวว่า จากการเข้าไปนมัสการพระสุเมธาภรณ์ เจ้าคณะ จังหวัดปทุมธานีนั้น ทราบว่า คำฟ้องต่าง ๆ นั้น จะมีการนำเข้าสู่กระบวนการนิคหกรรมได้ภายในสิ้นเดือนนี้ (มิ.ย.) ทั้งนี้กรมการศาสนา จะประสานกับทาง เจ้าคณะ จังหวัดปทุมฯ อย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาติดขัด ส่วนเรื่องการโอนที่ดินนั้นที่ผ่านมารู้สึกผิดหวังกับเรื่องนี้มาก เพราะได้มีการพูดคุย กับทางตัวแทน นายไชยบูลย์หลายครั้งแต่ไม่เป็นผล ขนาดมีหนังสือแสดงเจตนาจากนายไชยบูลย์มาด้วยก็ตามที และล่าสุด เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา ก็ได้มีโอกาสเจรจากับกรรมการจัดการเรื่องที่ดินของนายไชยบูลย์ ซึ่งก็ยังไม่มีคำตอบใด ๆ เลย แต่ดูจากสีหน้า ของคณะกรรมการ คิดว่าจะทำให้เรื่องน ี้สมหวังได้บ้าง
"หากวันที่ 10 มิ.ย. ยังไม่มีการโอนที่ดินก็จะรายงานให้รมช.ศึกษาฯทราบ จะหารือเรื่องการแจ้งความดำเนินคดีอาญา หากนายอาคม สั่งการให้กรมการศาสนา ดำเนินการก็จะดำเนินคดีกับนายไชยบูลย์ทันที โดยจะให้เวลานายไชยบูลย์แค่ 16.30 น. ของวันที่ 10 มิ.ย. เท่านั้น"
คำฟ้องเหลือ 3 ราย
เวลา 13.30 น. พระสุเมธาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า ขณะนี้มีคำฟ้องร้อง 6 รายและได้ตัดออกไปแล้ว 3 รายคือกรณีนางสาลี่ เพ็ชร์ชูดี เพราะจะเป็นเรื่องฉ้อโกงที่ดินที่ จ.สุพรรณบุรี น่าจะฟ้องร้องที่สุพรรณบุรีมากกว่า ของพระบานเย็น ขาดเอกสาร หลักฐานหลายอย่าง และของนางกนกวรรณ เลิศตระกูลพิทักษ์ 3 แม่ลูก เพราะวัดไม่ได้หลอกแต่ผู้นำบุญไปติดต่อ เมื่อหลงเชื่อ จึงทำบุญตามเป็นเรื่อง ทางโลก โดยสิ้นเชิง ส่วนการพิจารณานิคหกรรมจะเน้นแง่วินัยสงฆ์ สำหรับคำฟ้องที่รับพิจารณามี 3 รายคือของนายสมพร เทพสิทธา ประธาน ยุวพุทธิกสมาคม นายมาณพ พลไพรินทร์ ผู้เชี่ยวชาญกรมการศาสนา และของนายประจิณ ฐานังกรณ์
"คำฟ้องทั้งหมด ในกลางเดือน มิ.ย. คงทราบว่าจะประทับรับฟ้องหรือไม่ ส่วนถ้ามีการ ดำเนินคดีอาญากัน ก็อาจจะพักจากการ เป็นเจ้าอาวาสไปก่อน หากจะเสียหายต่อรูปคดี ตามหลักจะตั้งรองเจ้าอาวาสเป็นแทน แต่หากรอง เจ้าอาวาสถูกกล่าวหาด้วย ต้องตั้งผู้ช่วย เจ้าอาวาสรูปอื่น ที่ไม่มีส่วนร่วมในข้อกล่าวหาแทน และการสั่งพักจากตำแหน่งไม่ใช่เรื่องยาก โดยสั่งผ่าน ไปยังเจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะตำบลที่จะเป็นผู้ดำเนินการ"
พระสุเมธาภรณ์ กล่าวว่า หากแจ้งความดำเนินคดีอาญา กระบวนการทางนิคหกรรมจะยังไม่สิ้นสุด ต้องฟังผลทางอาญาด้วย ซึ่งหากผล ทางอาญา ชัดเจนก็เป็นการดีที่จะเอามาประกอบการตัดสินใจ
อัยการชี้ฟ้องเดียรถีย์ได้
ทางด้านนายพันธ์ สุริยพร รองอัยการสูงสุด ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาคำร้องของกรมการศาสนาเปิดเผยว่า ได้พิจารณา ประเด็น ข้อหารือ ของกรมการศาสนาทั้งหมดแล้วเห็นว่า ถ้านายไชยบูลย ์มีความผิดตามหลักฐาน ที่ส่งมากรมการศาสนา ก็สมควรฟ้องร้อง กล่าวโทษ ดำเนินคดี แต่อัยการสูงสุดจะไม่ชี้แนะข้อกฎ หมายให้ฟ้องร้องในเรื่องไหนทั้งมาตรา 137 ในข้อหาแจ้งความเท็จ,ตามมาตรา 147 ข้อหา เป็นเจ้าพนักงาน ยักยอกทรัพย์ และมาตรา 157 เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากไม่เหมาะสม เพราะจะเป็นการก้าวก่าย อำนาจ ในกระบวนการยุติธรรม และได้ทำเรื่องเสนอกลับไปยังกรมการศาสนาในวันที่ 10 มิ.ย.นี้
นายพชร ยุติธรรมดำรง รองอธิบดีอัยการ หนึ่งในคณะทำงาน พิจารณาข้อหารือ ของกรมการศาสนา ต่อประเด็นความผิด ทางอาญา ของอดีตเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกายกล่าวว่า เมื่อกรมการศาสนา ได้ข้อเท็จจริงว่า มีพระภิกษุที่ได้รับ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ในการ ปกครอง คณะสงฆ์ มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ได้กระทำผิดในบทบัญญัติดังกล่าว ก็ชอบที่จะกล่าวโทษ ร้องทุกข ์ต่อพนักงาน สอบสวน โดยต้องแจ้งลักษณะความผิดพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความผิด ความเสียหาย รวมทั้งระบุชื่อ รูป พรรณสันฐาน ของผู้กระทำผิดด้วย ส่วนการดำเนินคดีทางแพ่ง จากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่มีในขณะนี้ยังไม่สามารถกระทำได้ จนกว่า กรมการศาสนา จะรวบรวม หลักฐานให้ชัดเจนกว่านี้
นายพชรกล่าวว่า หากกรมการศาสนา ไปแจ้งความร้องทุกข ์กับพนักงานสอบสวนแล้ว ก็จะมีการ ออกหมายเรียก นายไชยบูลย์มาแจ้ง ข้อกล่าวหา ซึ่งหากไม่ได้รับ การประกันตัวการเป็นพระก็ต้องสิ้นสุด เพราะต้องจับสึกก่อนเข้าห้องขัง อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีนั้น เห็นว่าควรจะทำทั้ง ทางสงฆ์ และทางโลก ควบคู่กันไป
ชี้"ตูมตาม"โหดแค่"ละคร"
นายสันติสุข โสภณศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา ได้กล่าวทางสถานีวิทยุเอฟเอ็มคลื่น 97 เมกะเฮิรตซ ในรายการเพื่อบ้านเพื่อเมือง ถึงท่าทีที่แข็งกร้าวของนายอาคมว่า เป็นเพียงการรักษาหน้าไว้เท่านั้น เพราะทราบกันดี อยู่แล้วว่า ยังไงนายไชยบูลย์ ก็ไม่โอนที่ดินคืน ให้แก่วัดแน่นอน ในขณะที่ นายอาคม แสดงบทบาท ที่จะเล่นงาน นายไชยบูลย์ ให้หนักกว่าการใช้กฎนิคหกรรม พระสุเมธาภรณ ์ก็ออกมาระบุว่า จะรอกระบวนการ ทางโลกเสียก่อน ทั้งนี้คดีอาญาต้องใช้เวลา ในการดำเนินการหลายปี ขณะที่ในเรื่อง กฎนิคหกรรมนั้น มีความชัดเจนมาก ในเรื่องของการ ผิดพระธรรมวินัย
สำหรับ การลงนิคหกรรมขั้นต้นข้อ 35 ระบุว่า ก่อนพิจารณา หรือระหว่างการ พิจารณาปรากฏว่า เรื่องที่นำมาฟ้อง ได้มีการฟ้องร้อง ในศาล ฝ่ายราชอาณาจักร ให้รอการพิจารณาเรื่องนั้นไปก่อน หมายความว่า กระบวนการ ลงนิคหกรรม ในเรื่องของที่ดิน ต้องยุติลง โดยเรื่องที่สามารถ ดำเนินการได้ ทันทีคือการละเมิดจริยาพระสังฆาธิการ ที่นายไชยบูลย ์ฝ่าฝืนมติมหาเถรฯ ซึ่งเจ้าคณะจังหวัดปทุมฯมีอำนาจดำเนินการได้ หากไม่อยาก ดำเนินการเองก็เสนอให้เจ้าคณะภาค 1 เป็นผู้ดำเนินการได้ แต่ถ้าไม่มีการดำเนินการใดเลย ก็จะมีความผิด ตามกฎมหาเถรฯ หมวดที่ 4 ข้อ 51 ว่าด้วยผู้ บังคับบัญชาผู้ใด ไม่จัดการลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่ล่วงละเมิดจริยาพระสังฆาธิการ หรือให้ การลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่า ผู้บังคับ บัญชานั้นละเมิดจริยาด้วย
"ผมไม่อยากไปมอง ว่าเป็นการช่วยเหลือกันทั้งหมด เพียงแต่เขาทำหน้าฉากเหมือนกับว่าลงมือกันขึงขัง แต่เมื่อมีอำนาจเต็ม ๆ จะถอดถอน ออกจากตำแหน่ง พระสังฆาธิการกลับไม่ทำกัน เขาคิดกันว่าไปดำเนินคดีทางอาญาเร็วกว่า แต่ปัญหา ก็คือเจ้าคณะจังหวัด ปทุมฯ ไม่พ้นผิด หากไม่มี บทลงโทษนายไชยบูลย์ก่อน"
นายสันติสุข กล่าวว่า ไม่อยากให้นำเรื่องของพระธรรมวินัยไปอิงกับกฎหมายบ้านเมือง เมื่ออดีต เคยมีพระสงฆ์รูปหนึ่ง พัวพันกับคด ีเครื่องอิสริยาภรณ์ แม้ศาลจะไม่ตัดสินให้จำคุกแค่ให้รอลงอาญา แต่ในพระธรรมวินัยนั้น ก็ถือว่าพระสงฆ์รูปนั้น ต้องปาราชิกไปแล้ว เรื่องเหล่านี้ สาธารณชน ไม่ค่อยทราบ ทำให้วัดพระธรรมกาย นำมาอ้างได้ว่าเลือกปฏิบัติ แสดงว่าคณะสงฆ์เองนั่งทับความผิดไว้มาก
20 มิ.ย.ให้เข้าเฝ้า"สังฆราช"
ที่คณะเหลืองรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จลง จากตำหนักคอยท่า ปราโมชเพราะเสวยภัตตาหาร โดยมีพระเถระ และศิษย์ห้องกระจกเข้าเฝ้า จากนั้นนายทินกร รัตนกุศุมภ์ เลขานุการ ฝ่ายคฤหัสถ์กล่าวว่า สมเด็จพระสังฆราชทรงมีรับสั่งว่าอยากให้ประชาชนเข้าเฝ้าอย่างไม่เป็นทางการในเวลา 07.15 น. ของทุกวัน จะได้รับพรเพื่อเป็นสิริมงคล สำหรับพระอาการประชวรนั้น น.พ.สงคราม ทรัพย์เจริญ แพทย์ประจำ พระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้แจ้งว่า ทรงหายจากพระอาการประชวรไข้หวัดใหญ่แล้ว แต่ยังมีอาการ ผิดปกติด้านระบบ ขับถ่ายเกี่ยวกับการปัสสาวะเพียงเล็กน้อย
ส่วนการอนุญาต ให้เข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการนั้นนายทินกรระบุว่า คาดว่าตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย. เป็นต้นไป จะอนุญาตให ้ประชาชนเข้าเฝ้า ได้ถึงด้านในพระตำหนัก ส่วนผลการประชุม มหาเถรฯนั้น สมเด็จพระสังฆราชไม่ได้รับสั่ง หรือสอบถาม แต่อย่างใดรวมถึงเรื่องกรณีวัดพระธรรมกาย แต่ทรงมีพระดำรัส สอบถามผู้เข้าเฝ้า ถึงความเป็นไป ของบ้านเมืองว่า ขณะนี้ประชาชน เป็นอย่างไร นอกจากนี้ทรงมีพระดำรัสถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรังสี) ซึ่งถือเป็น พระที่มีปฏิปทาสูงได้บันทึกคาถา "ชินบัญชร" ไว้ว่า เป็นพระสงฆ์ในอดีตที่ปฏิบัติดีอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด โดยประชาชน ในสมัยนั้นก็ได้ปฏิบัติธรรมกันอย่างจริงจัง
"ธรรมกาย"ห้าวท้าทายรัฐ
นายวีระศักดิ์ ฮาดดา ไวยาวัจกรวัดพระธรรมกายเปิดเผยว่า ขณะน ี้คณะกรรมการดำเนินการ จัดการโอนที่ดิน กำลังหาข้อสรุป เพื่อจะโอนที่ดินคืนแก่วัดพระธรรมกาย แต่การดำเนินการต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ต้องดูผลเสีย ที่อาจจะมี ตามมาด้วย แม้ว่านายไชยบูลย์จะมีหนังสือแสดงเจตนาไปก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม อย่างไรก็ดีในวันที่ 10 มิ.ย. คณะกรรมการฯ จะส่งตัวแทนไปพบกับอธิบดีกรมการศาสนาเพื่อหารือในเรื่องนี้แน่นอน
ส่วนเรื่องท ี่กรมการศาสนาจะแจ้งความดำเนินคดีอาญากับนายไชยบูลย์หากไม่โอนที่ดินภายในวันที่ 10 มิ.ย.นั้น ทางคณะกรรมการฯ ได้หารือนักกฎหมายแล้วทราบว่า กรมการศาสนา ไม่สามารถดำเนินการ ฟ้องร้องคดีอาญา ฐานแจ้งความเท็จ กับนายไชยบูลย์ได้อย่างแน่นอน จึงไม่รู้สึก หนักใจอะไรในเรื่องของการโอนที่ดิน เชื่อว่าจะหารือ ข้อสรุปกับ อธิบดีกรมการศาสนาได้.
สภาทนายรับคดี 3 แม่ลูก
เมื่อเวลา 19.30 น. ที่สภาทนายความแห่งประเทศไทย นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ อุปนายกฝ่ายบริหาร เปิดเผยผลการประชุมที่นานกว่า 2 ชั่วโมงว่า ที่ประชุมมีมติรับให้ความช่วยเหลือกรณีนางสาลี่ เพ็ชร์ชูดี ที่ต้องขอที่ดินที่บริจาคให้กับมูลนิธิธรรมกายคืนกลับมา หรือยกที่ดินดังกล่าวให้เป็นของวัดพระธรรมกาย โดยจะมีการรวบรวมหลัก ฐานต่าง ๆ เสนอกรมการศาสนาก่อน หากว่ากรมการศาสนาดำเนินการช้าหรือไม่ดำเนินการ สภาทนายความฯก็จะเป็นผู้ดำเนินการช่วยเหลือต่อไป ส่วนกรณีของนางกนกวรรณ เลิศตระกูลพิทักษ์และบุตรสาว 2 คนที่ขอเงินคืนนั้น สภาทนายความก็รับให้ความช่วยเหลือเช่นกัน โดยพิจารณาดำเนินคดีใน 2 ทางคือ คดีแพ่งเนื่องจากใช้สิทธิไม่สุจริต ฉ้อฉล โดยจะดำเนินคดีกับวัดพระธรรมกายและนางนิภา ผ่อนผัน
ส่วนในทางอาญานั้นเห็นว่าการบอกบุญด้วยการกล่าวอ้างว่าจะหายจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีการมอบลูกแก้วให้เจ้าทุกข์นั้นเข้าข่ายฉ้อฉล ซึ่งเรื่องนี้น่าจะมีผู้เสียหายในลักษณะเดียวกันหลายคน จึงขอแนะนำว่าผู้ที่เสียหายต่อเรื่องนี้ให้ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน คดีนี้จะกลายเป็นคดีอาญามหาชน ฉ้อโกงประชาชน
ด้านนายวันชัย สอนศิริ เลขาธิการสภาทนายความกล่าวว่า กรณีของนางกนกวรรณนั้นจะต้องมีการพิจารณาในประเด็นการดำเนินคดีอาญา เพราะการมีผู้เสียหายรายเดียวข้อมูลอาจจะยังไม่ชัดเจนไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่ หากมีผู้เสียหายมากกว่า 10 รายขึ้นไปจะทำให้เกิดการขยายผลพิจารณาได้ว่าเป็นการฉ้อโกงประชาชน.