นิสิต 2 มหา'ลัยใหญ ่"จุฬาฯ-เกษตร" ร้อง ให้ชมรมพุทธเลิกเป็นทาสวัดพระธรรมกาย ระบุที่ผ่านมาปิดกั้น ความคิด ขนหนังสือธรรมะ วัดอื่นทิ้งอ้างสอนผิดจะเกิดความเห็นเพี้ยน ต้องใช้ตำรา ของธรรมกายเจ้าเดียว แฉนิสิต-นักศึกษา ถูกวัดฉาว ล้างสมองยึดชมรมเป็นฐาน มีเครือข่าย 50 แห่ง ใช้ชมรมพุทธศาสตร์สากล ที่อยู่ในอุปถัมภ ์สมเด็จวัดปากน้ำ เป็นแกนกลางควบคุม นักศึกษาแพทย์ บางคน คลั่งอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์วัดฉาว ขนาดไม่ต้องรักษาคนไข้ก็ได ้เอาพระดูดทรัพย์ แช่น้ำกินก็หายแล้ว

จากกรณี การเคลื่อนไหวของสมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และกลุ่มคณาจารย์ มหาวิทยา ลัยเชียงใหม่ เรียกร้องให้ ถอดถอนปริญญา พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (พระไชยบูลย์ ธัมชโย)นั้น แหล่งข่าว จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเปิดเผยว่า ก่อนหน้าน ี้ไม่เพียงแต่ พระไชยบูลย์ ธัมมชโยเท่านั้น ที่ได้รับการสนับสนุน ให้ได้รับปริญญาบัตร ในส่วนของพระภาวนาวิริยคุณ (พระทัตตชีโว) ก็ได้รับการสนับสนุน ด้วยเช่นกัน แต่ไม่ผ่าน ความเห็นชอบ จากสภามหาวิทยาลัย

นอกจากน ี้ในปี 2537 ก็มีการเคลื่อนไหว จากกลุ่มกัลยาณมิตรจังหวัดเชียงใหม ่ผลักดันให้พระไชยบูลย์ ได้รับปริญญาบัตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปศาสตร ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ประสบความล้มเหลว โดยทาง สภามหาวิทยาลัย ยืนยันว่า ไม่มีนโยบายมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้แก่พระภิกษุ ทางด้าน ของพระทัตตชีโว ก้เช่นกัน เหล่ากัลยาณมิตร พยายามผลักดันที่ให้ได้รับปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาศิลปศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้ง ปริญญา พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แต่ได้รับการปฏิเสธจากสถาบันการศึกษาทั้ง 2 แห่ง

พระราชกวี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวางแผน มหาวิทยาลัยมหามกุฎุ กล่าวเรื่องเดียวกันว่า ในส่วนของ มหาวิทยาลัย มหามกุฎ ไม่ควรแสดงความคิดเห็น ไม่ก้าวก่ายกัน เป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยพิจารณากันเอง แต่กระแสตอนน ี้เท่าที่ทราบเริ่มรุนแรงขึ้นมาเรื่อยๆ ส่วนของมหามกุฎฯ ก็มีความคิด ในเรื่องการมอบ ใบปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎี บัณฑิตกิติมศักดิ์ มีการกำหนดระเบียบต่างๆแล้ว ผู้ที่จะได้รับ ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน และเป็นผู้สูงสุดก่อน ในฐานะ ที่ทำงานตรงน ี้ต้องการมอบเครื่องเชิดชูเกียตรติให้กับพระและฆราวาส บุคคลแรก ที่ปรารถนาจะมอบให้ คือสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นองค์ประมุข หรือนายกสภา มหาวิทยาลัยมหามกุฎ แต่ตามกฎหมาย ระบุว่าจะไม่มอบให้ กับบุคคลที่ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารในมหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 13 เม.ย.ที่ผ่านมาได้มีโทรศัพท์จากพระและฆราวาสจากทั่วประเทศ แสดงความคิดเห็นพระสุเมธาธิบดี นายกสภ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ที่ขอความเมตตา และะโอกาสให้พระไชยบูลย์ ธัมมชโยโดยส่วนมากจะบอกว่า ความเมตตา ควรมีเฉพาะบางเรื่องกับผู้ที่หลงผิดและกลับตัวได้ ที่สำคัญต้องรู้จัก แยกแยะว่า มันเป็นคนละเรื่องกัน กับปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างกรณี ที่ร้องให้ถอดถอน ใบปริญญาต้องทำให้เป็นตัวอย่าง กับพระรุ่นหลังๆ ว่าพระที่ปฎิบัติไม่ด ีจะถูกลงโทษ อย่างไร หากมีพระผู้ใหญ่เป็นเกราะคุ้มกันเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้ทำลายพระพุทธศาสนา ในแง่ของ ความรู้สึกทั่วไป ที่ประชาชน ต้องการให้มีการดำเนินการอย่างจริงจังชัดเจน

นายจรูญ รักความซื่อ นิสิตปีที่ 3 คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนบทความลงในวารสารจามจุรี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ซึ่งเป็น วารสารภายใน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกร้องให้มีการปรับบทบาทของชมรมพุทธจุฬาฯ เพราะที่ผ่านมา ตกอยู่ใต้อิทธิพลของวัดพระธรรมกายตลอด ถึงแม้ที่ผ่านมา วัดจะสอน ผิดเพี้ยน โดยประธานชมรมพุทธฯจุฬา ยังคงยืนยัน ให้เชื่อวัดเชื่อพระไชยบูลย์ ธัมมชโย น่าจะมีการหาทางป้อง กันมิให้นำเอาชื่อ ชมรมพุทธฯจุฬาฯไปเกี่ยวข้อง พัวพันกับการดำเนินงานของวัด โดยควรจะหยุดกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับวัดเป็นการชั่วคราว

ข้อเขียน ดังกล่าว ระบุว่า ชมรมพุทธฯควรหยุดเป็นทนายแก้ต่างให้วัด เพราะสิ่งที่ชมรมพุทธฯทำมีทั้งการระดมคน โปสเตอร์ ประชาสัมพันธ์ งานให้กับวัด และชักชวนนิสิตชาย ไปแสดงพลังเพื่อลบข้อกล่าวหาต่างๆ โดยไปกระจาย ความเชื่อว่า ถ้าวัดพระธรรมกายล้ม พระพุทธศาสนาก็จะล้มตามไปด้วย

นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยรวมถึงชมรมพุทธฯควรเปิดกว้างทางความคิด เพราะทางพฤตินัย และนิตินัย ปิดกั้น ทางความคิดตลอด ไม่เคยนิมนต์พระ จากที่อื่นมาแสดงธรรม แม้เคยมีคนนิมนต์มาก็ถูกตั้งด่านจากชมรม เช่นพระ ต้องจบปริญญาตร ีเป็นเบื้องต้น จนท้ายสุดต้องผ่านการบวชอย่างน้อย 5 พรรษา ทั้งที่พระรูปนั้น จบจากอเมริกา เป็นอาจารย์สอน นักศึกษาปริญญาเอก และหนังสือที่อยู่ในชมรมพุทธฯมีแต่ของธรรมกาย และล่าสุด ไปชักชวน ให้นิสิตบวชธรรมทายาท โดยอ้างว่าคนบวชจะได้บุญถึง 64 กัลป์ คนชวนจะได้บุญไปครึ่งหนึ่ง

ด้านพระภาสกร ภูริวัฑฒโน พระนิสิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ยังได้เขียน บทความเรื่องวัดพระธรรมกาย เงาเลอะเลือน แห่งสังคมยุคพระศรีอารย์?Ž โดยเนื้อหา ส่วนหนึ่งกล่าวถึง การเข้าไปยึดครองชมรมพุทธ ของวัดพระธรรมกายว่าเป็นการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิด พระภาสกร ระบุว่า วัดพระธรรมกาย มุ่งเป้ามายังกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยยึดครองชมรมพุทธในสถาบันการศึกษาชั้นนำ โดยเริ่มจาก การคัดนักเรียน ระดับมัธยมเข้ามาฝึกอบรม ปลูกฝังความคิดของวัด เมื่อนักเรียนเหล่านั้น สอบเข้ามหาวิทยาลัยได ้ก็จะเข้าไปร่วมกิจกรรม ตามรมรมพุทธที่มีอยู่ เมื่อถึงเวลาเลือกตั้ง กรรมการชมรม รุ่นต่อไป ก็อาศัยนิสิตนักศึกษา ที่ผ่านการจัดตั้ง จากวัดเรียบร้อยสมัครเข้าแข่งขันเลือกตั้ง เพื่อครอบครองและกุมอำนาจในชมรมพุทธต่อไป

"การเข้าไปเกาะกุม ชมรมพุทธของวัดสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากรู้จุดอ่อน ของกิจกรรมนักศึกษาที่ขาดกำลังคน และเงินในการทำกิจกรรม วัดเข้าไปส่งเสริมจุดพวกนี้ โดยพระภาสกรเอง สมัยที่เป็น นิสิตของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ก็เห็นการเข้าไป ครอบงำชมรมพุทธศาสตร์ฯจุฬาฯ เมื่อยึดครองได้แล้ว ก็ถอนรากถอนโคน เพื่อนนิสิต หรือบุคคล ที่มีความคิดเห็น ไม่สอดคล้องกับแนวทางของวัดออกจากชมรม"

นอกจากนั้น ยังมีการขนหนังสือธรรมะรวมทั้งข้อเขียนของพระ และครูบาอาจารย์ต่างๆที่เป็น
สมบัติของชมรมแต่เดิม ซึ่งมีความเห็น หรือความคิดไม่สอดคล้อง กับแนวทางของธรรมกาย ออกมาใส่เข่งโยนทิ้ง
พระภาสกร ที่เป็นน้องใหม่ ในเวลานั้น ช่วงปี 2521-2522 เข้าไปถาม ก็ได้รับคำตอบว่าหนังสือเหล่านั้นเป็นมิจฉาทิฐิ อาจทำให ้ไขว้เขวได้ ต้องกำจัดทิ้งเสีย ซึ่งหมายความ โดยนัยคือหนทางที่ถูกต้องก็มีแต่ธรรมกายเท่านั้น

วิธีการของวัดเช่นน ี้เป็นความคับแคบทางความคิด ลำพังถ้าผู้ศรัทธาในธรรมกายจะคิดหรือเชื่อถืออย่าง ไรย่อมเป็นสิทธ ิโดยชอบธรรมของ แต่ละบุคคล แต่การจะยึดครองชมรมพุทธฯซึ่งเป็นองค์กรส่วนกลางของนิสิตนักศึกษา พร้อมกับการปิดกั้นอิสระในทางเลือกนี้ แม้แต่พระพุทธเจ้ายังไม่เคยปิดโอกาสใคร จึงก่อให้เกิด ความกังขาว่า การที่วัดเข้ามา สนับสนุกิจกรรม ของชมรม ในมหาวิทยาลัยต่างๆนั้น เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจจริง หรือมีเจตนาแอบแฝง เพื่อประโยชน์ ของกลุ่มตน ในฐานะเป็นฐาน ที่ตั้งเพื่อหว่านล้อมหาศรัทธาสานุศิษย์หรือ
เพื่อบอกบุญกฐินผ้าป่าหากินไปวัน ๆ

รายงานจากสมาคม นิติเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดเผยว่า ศิษย์เก่าเกษตรศาสตร ์มีความอึดอัดในท่าทีของชมรม พุทธของมหาวิทยาลัย และน่าจะมีการปรับเปลี่ยนบทบาท เพราะปิดกั้นตัวเองมุ่งแต่เป็นสาขาให้ธรรมกายเท่านั้น รายงานข่าว จากคณะกรรมาธิการ การศาสนาฯเปิดเผยเพิ่มเติมว่า ในรายงาน ของคณะกรรมาธิการฯ กรณีปัญหาวัดพระธรรมกาย ได้ระบุถึง การเข้าครองครองชมรมพุทธในสถานศึกษาของวัดด้วย โดยปัจจุบันมีเครือข่าย 50 แห่ง และจะเน้น การดึงนิสิต นักศึกษาเข้ามาบวชธรรมทายาท ปีละ 400-500 คน รวมถึงขยายฐานล่างลงไปเป็นโครงการธรรมทายาทหญิง โครงการ ยุวธรรมทายา ที่ลงไปถึงเด็กระดับมัธยมต้น

การบริหาร ชมรมพุทธศาสตร์ที่วัดพระธรรกมายควบคุมจะเป็นการรวบอำนาจเผด็จการ ประธานต้องถูกเลือก และมีคำสั่งจากวัด โดยตรงว่าใครจะได้ และกรรมการ ทุกคนต้องเป็น ชาววัดพระธรรกมาย ศึกษา และปฏิบัติในแนวทาง ของวัดมาก่อน หนังสือและสื่อเผยแพร่ที่ไม่ใช่ของวัดจะถูกทำลายทิ้ง

กิจกรรมสำคัญ ของชมรมพุทธศาสตร์นอกจากเป็นเครือข่ายของวัดในการหาคนหนุ่มสาวเพื่อหวังกำลังเงินและคนแล้ว ยังต้องการ ปลูกฝังความคิดวิชชา ธรรมกาย โดยผ่านการจัดแข่งขัน ตอบปัญหาธรรมะ"ทางก้าว หน้า" ซึ่งมีนักเรียน นักศึกษาทุกระดับ แข่งปีละเกือบ 2 ล้านคน และบังคับให้ใช ้และตอบตามหนังสือ ชื่อว่ามงคลชีวิต ฉบับธรรมทายาท ซึ่งแต่งโดยพระสมชาย ฐานวุฑโฒ ผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่ของวัดเป็นคู่มือตอบเท่านั้น ถ้าตอบจากหนังสืออื่นจะไม่ได้คะแนน โดยหนังสือดังกล่าว มีการบิดเบือนคำสอนในศาสนาพุทธ สอนว่าธรรมกายและนิพพานเป็นอัตตา

ที่น่าเป็นห่วง คือมีนักศักษาที่ศรัทธาวัดพระธรรมกายจำนวนมากเรียนแพทย์ จากการ สัมภาษณ์นักศึกษาแพทย ์บางคนในคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งเป็นสมาชิก ชมรมพุทธศาสตร์ถึงกับเชื่อมมั่นว่า การนำพระมหา สิริราชธาต ุมาแช่น้ำดื่ม สามารถทำให้รอดตาย หายป่วย ร่ำรวย มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นอันตราย ต่อวงการแพทย์ โดยเฉพาะ หลังจบการศกึษา จะต้องชดใช้ทุนให้รัฐบาลตามจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ ถ้าความคิดดังกล่าว ถูกเผยแพร่ออกไปยังประชาชน ผู้ไร้การศึกษา ความเชื่อ ที่งมงายอาจขยายไปทั่วประเทศ

นอกจากนั้น นักศึกษาแพทย์หญิงอีกคนเชื่อว่า เธออาจบรรลุธรรมกายและเข้าสู่อายนตนิพพานไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เธอจึงบริจาคเงิน ให้วัดเดือนละ 7,000 บาท ทั้งทีไ่ด้รับเงิน ค่าศึกษาและหอพักเดือนละ 10,000 บาท เหลือใช้จ่ายแค่ 3,000 บาท บางเดือน ไม่พอใช้จ่าย ต้องไปขออาศัยหอพักของเพื่อน

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า วัดพระธรรมกายตั้งชมรมพุทธศาสตร์สากลขึ้นมา เพื่อเป็นแกนกลาง ในการดูแล ชมรมพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ โดยมี สำนักงานใหญ่ ในวัดพระธรรมกาย และอยู่ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัช
มังคลาจารย์(ช่วง วรปุญโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ และกรรมการมหาเถรสมาคม

พระดิลก ตีลฺโก (พระดิลก ตู้จินดา) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดช่องลม จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นผู้หนึ่ง ที่เคยบวช อยู่ในวัดพระธรรมกาย เปิดเผยว่า ได้ออกจาก วัดพระธรรมกาย มานานกว่า 10 ปีแล้ว ตอนที่ออกมาใหม่ๆ ทางวัดก็ยังโทรศัพท์ติดต่อ มาบ่อยๆ เนื่องจาก มีงานที่รับผิดชอบอยู่ คนที่รับช่วงต่อ ไม่เข้าใจ ในบ้างเรื่อง ต้องสอบถาม มเกี่ยวกับงาน ตอนที่จะออกมา จากอาตมา ก็ป่วย จึงอยากกลับรักษาตัว และมาจำพรรษาในวัดใกล้บ้าน จากนั้น ก็ไม่ได้สนใจหรือติดตาม เรื่องราวของวัดอีกเลย ไม่อยาก วิพากษ์ วิจารณ์เพราะไม่อยากจะยุ่งและไม่ใช่หน้าที่

ส่วนเรื่องทาง ที่วัด เตรียมจัดงานวันคุ้มครองโลก 22 เม.ย. 2542 ซึ่งตรงกับวันเกิดปีที่ 55 ของพระไชยบูลย์ ธัมมชโย เจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย โดยวิธีดึงพระ-เณร จำนวน 100,000 รูปมาร่วมงาน โดยรับบริจาคกองทุนๆละ 500 บาทเพื่อเป็นทุน การศึกษาของพระภิกษุสามเณร ซึ่งมีการจัดสรรกันเงินกองทุนแต่ละกองทุนออกเป็น 2 ส่วน พระภิกษุ สามเณร จะได้รับ 200 บาทต่อรูป ในขณะที่วัดต้นสังกัดจะได้รับ 300 บาท โดยมอบให้พระทัตตชีโว รองเจ้าอาวาสฯ ทำหนังสือ ส่งไปยังวัดต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมกับแนบ โครงการตอบปัญหาธรรมก้าวหน้ามาให้นั้น

พระดิลก กล่าวว่า วัดช่องลม ก็ได้รับหนังสือนี้ โดยขอมา 10 รูป ซึ่งทางวัดยังไม่ได้มีพิจารณา แต่วันที่ 22 เม.ย.นั้น ตรงกับ วันพระ ขึ้น 8 ค่ำเดือน 6 จะมีงานยุ่งมาก แม้จะเป็นวัดหลวง แต่พระเพียง 20 รูป ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตรกันมาก หากส่งพระ ไปร่วมงานก็อาจจะเกิดปัญหา แก่วัดเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ได้