เรื่องย่อหนังสือ "แฟ้มคดีธรรมกาย
"

- ข้อกล่าวหาวัดพระธรรมกาย และพระไชยบูลย์ สุทธิผล
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน แต่ละข้อกล่าวหา
ยังไม่เคยได้รับการดำเนินการให้เกิดความกระจ่าง ทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีหน้าที่โดยตรงและจากวัดพระธรรมกาย
คงปล่อยให้อึมครึมลี้ลับ เกิดความอึดอัดเอือมระอาแก่พุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก
- คณะทำงานรวบรวมข้อมูล-หลักฐานกรณีวัดพระธรรมกาย
ได้ทำการศึกษา ตรวจสอบ รวบรวม วิเคราะห์ ค้นหา นับตั้งแต่เริ่มแรกที่ได้ทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการศาสนาฯ
บางครั้งต้องถึงกับเข้าไปฝังตัวในกลุ่มกัลยาณมิตรของวัด
พระธรรมกาย เข้าไปศึกษาหาหลักฐานจากชมรมพุทธศาสตร์สากลในมหาวิทยาลัยต่างๆ
เป็นต้น คณะทำงานฯ จำต้องตั้งปณิธานเป็นบรรทัดฐานไว้เสมอว่า การทำงานเกี่ยวกับความเชื่อ
ความนับถือส่วนบุคคลเช่นนี้ จะต้องทำงานประกอบด้วยความเมตตา รู้จักให้อภัย
รู้จักการเสียสละ รอบคอบ และที่สำคัญ จะต้องไม่ละเมิดสิทธิ
ของบุคคลอื่น
- แต่จากการค้นหาข้อมูล ยิ่งสาวลึกเข้าไป ยิ่งพบความไม่ชอบมาพากลของวัดพระธรรมกายและบุคคลใกล้ชิด
มากยิ่งขึ้น พบเห็นการจัดตั้งเครือข่ายเหมือนองค์กรอาชญากรรมใหญ่ๆ มีการใช้กลวิธีเล่ห์เพทุบายเพื่อประทุษร้าย
บุคคลผู้วิพากษ์วิจารณ์วัดพระธรรมกายนานัปการ และขณะนี้เหตุการณ์บานปลายจนถึงขั้นกล่าวจาบจ้วงสถาบัน
พระมหากษัตริย์ กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ไปแล้ว
- ดังนั้น คณะทำงานฯ จึงต้องหันกลับมาตั้งต้นใหม่ว่า
"เราควรจะมีเมตตา ให้อภัยแก่คนที่ไม่รู้จักสำนึก หรือไม่ ซึ่งในกรณีของวัดพระธรรมกายนี้
เราสรุปได้ชัดเจนว่า บุคลากรของวัดพระธรรมกายและผู้ที่เกี่ยวข้องล้วนไร้สำนึก
ผิดชอบชั่วดี ส่วนหลักการเคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ซึ่งวัดพระธรรมกายชอบยกขึ้นอ้าง
เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเองนั้น คณะทำงานฯเห็นว่าเราจะเคารพศักดิ์ศรีและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของ
ประชาชนผู้ที่ถูกวัดพระธรรมกายหลอกลวง มากกว่าการพิทักษ์สิทธิของวัดพระธรรมกายซึ่งเป็นตัวการทำความเดือดร้อน
ให้แก่ประชาชน และทำความเสียหายให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนาอันเป็นที่รักของเรา
- ณ วันนี้ คณะทำงานฯ จึงตัดสินใจนำเสนอเผยแพร่ข้อมูลหลักฐาน
ปรากฏเป็นหนังสือ "แฟ้มคดีวัดพระธรรมกาย
เล่มที่ 1 เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด ดังมีหัวข้อและสรุปเนื้อหาย่อได้ดังนี้
- 1. รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีฉบับที่
1
- ใน พ.ศ. 2532 หน่วยงานความมั่นคงและการข่าวของรัฐ
ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายตรงต่อนายก
รัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในหลายกรณี เช่น การทำธุรกิจในทางลับ การมรณภาพของพระชิตชัย
มหาชิโต พฤติการณ์ส่วนตัวของพระไชยบูลย์ที่ไม่ชอบมาพากล การขอเข้าพบหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์
ปราโมช เพื่อขอให้ยุติข้อ
เขียนในคอลัมน์ ซอยสวนพลู แต่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์มิให้เข้าพบ เป็นต้น คณะทำงานฯ
ไม่ทราบเหตุผลว่า ข้อมูลที่
ประทับตราว่า ลับมาก อยู่ในข่ายที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน รัฐบาลกลับไม่ดำเนินการให้ถูกต้องตามอำนาจ
ตามความชอบธรรมแห่งกฎหมายและการปกครองรัฐ กลับปล่อยให้ปัญหาวัดพระธรรมกายลุกลามแผ่ขยายออกไปจน
ถึงปัจจุบัน
- 2. รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีฉบับที่
2
- ใน พ.ศ. 2535 หน่วยงานความมั่นคงและการข่าวของรัฐ
ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายตรงต่อ
นายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งในปีนั้น ประเทศไทยเกิดวิกฤติทางการเมือง ทำให้ต้องเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีถึง
3 ครั้ง อำนาจรัฐคาบเกี่ยวระหว่าง รสช. กับอำนาจจากการเลือกตั้ง นายกฯ อานันท์
ปันยารชุน เป็นนายกเฉพาะกิจครั้งที่สอง จึงไม่สามารถสั่งปฏิบัติการเรื่องละเอียดอ่อนเช่นนี้ได้
อีกทั้งนายกฯ พลเอกสุจินดา คราประยูร ก็ประสบปัญหาทางการเมืองความไม่พอใจของประชาชน
ทั้งระยะเวลาดำรงตำแหน่งเพียงเดือนกว่า จึงน่าเชื่อว่าคงไม่สามารถจัดการปัญหาวัดพระธรรมกายตามรายงานของหน่วยงานความมั่นคงได้
- ก่อนหน้านี้ ในปี 2534 วัดพระธรรมกายถูกจัดเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
และอยู่ในบัญชีดำ (Black List) ของสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)
แต่จากปัญหาความไม่ลงตัวในอำนาจของ รสช. จึงไม่อาจจัดการ
ปัญหาดังกล่าวได้ ปล่อยให้วัดพระธรรมกายสร้างเครือข่ายองค์กรใหญ่โต มีกลุ่มผลประโยชน์เข้าไปสมรู้
ร่วมคิดจำนวน
มากขึ้น กระทั่งแผ่ขยายอาณาจักรสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนทุกหย่อมหญ้าในปัจจุบัน
- 3. ผลประโยชน์และรายได้ของพระธัมมชโย
- มูลนิธิธรรมกาย มีนโยบายระดมทุนจากประชาชนมากมายหลายวิธีการ
ในห้วงหลายปีที่ผ่านมา สุจริตชนโดยทั่วไป
ย่อมรู้เห็นว่า มีเงินหมุนเวียนในมูลนิธิแห่งนี้นับ 10,000 ล้านบาท แต่จากเอกสารงบดุลของมูลนิธิฯ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 ที่รายงานต่อทางการ มูลนิธิฯ มีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียง
3 ล้านกว่าบาทเท่านั้น สำหรับงบดุลสิ้นสุดปี 2541 มูลนิธิฯ แห่งนี้ยังไม่รายงานต่อทางการแต่อย่างใด
ทั้งที่เวลาผ่านเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2542 แล้ว ทางการเองก็ปล่อยปละละเลย
ไม่ตรวจสอบ ไม่จัดการกับปัญหาของมูลนิธิฯ ปล่อยให้การดำเนินการของมูลนิธิธรรมกายกระทำการท้าทายอำนาจรัฐ
ละเมิดกฎหมายบ้านเมืองอยู่ตลอดเวลาที่ผ่านมา
- คณะทำงานฯ เชื่อว่า รายได้และผลประโยชน์ของพระธัมมชโย
รวมแล้วไม่น่าจะต่ำกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาทอย่าง
แน่นอน ทรัพย์สินส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะปกปิด ส่วนเงินสดจะปรากฏอยู่ในบัญชีลับๆ
ซึ่งทางวัดพระธรรมกายได้
มีหนังสือแจ้งไปยังสาขาของธนาคารที่ฝากเงินว่า ห้ามเปิดเผยบัญชีของพระธัมมชโยและบุคคลรอบข้างเด็ดขาด
ถ้าเปิดเผยทางวัดฯ จะถอนเงินฝากทั้งหมดซึ่งก็สร้างความหวาดกลัวให้กับธนาคารผู้รับฝากเป็นอย่างมาก
เพราะเกรงว่ายอดเงินก้อนมหึมาจะโยกย้ายไปฝากธนาคารอื่น ด้วยเหตุผลข้อนี้ คณะทำงานฯ
จึงตรวจสอบอีกครั้ง
จึงพบว่า ปัจจุบันพระธัมมชโยน่าจะมีเงินสดหลายพันล้านบาท ใกล้เคียงกับเงินสดของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
- 4. การตัดต้นไม้มงคลของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง
- พระธัมมชโย กระทำการละเมิด กระทำการหมิ่น อาฆาตมาดร้าย
ต่อพระบรมเดชานุภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการสั่งตัดต้นไม้ที่ทรงปลูกโดยสมเด็จย่าฯ
สมเด็จพระเทพฯ และสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ ซึ่งเป็นการปลูกแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพราะพระธัมมชโยอาฆาตสถาบันฯ ว่าในกรณีขอพระราชทานสมณศักดิ์ไม่ได้ตามต้องการ
เหตุการณ์ดังกล่าววัดพระธรรมกายชี้แจงว่า ผืนดินมีค่าความ
เป็นกรด-ด่าง หรือค่า pH สูง ทำให้ไม่เติบโต ต้องโยกย้ายไปปลูกพื้นที่ใกล้เคียง
และภาพที่เห็นในสื่อมวลชนเป็นต้น
หมากพุ่มเตี้ย เป็นต้น
- คณะทำงานฯ ได้ทำการพิสูจน์ทราบ ด้วยการใช้ภาพถ่ายมาเปรียบเทียบกัน
ปรากฏว่าวัดพระธรรมกายชี้แจง
ข้อความอันเป็นเท็จต่อสาธารณชน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในภาพถ่าย จึงสรุปได้ว่า
พระธัมมชโยได้กระทำ
การอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จริง อีกทั้งมีเหตุผลที่รับทราบกันทั่วไป
ได้แก่ พระธัมมชโยตั้งปณิธานว่าถ้าเป็นฆราวาสจะต้องเป็นพระจักรพรรดิ (Emperor)
ถ้าออกบวชจะต้องเป็น พระบรมพุทธเจ้า สานุศิษย์วัดพระธรรมกายล้วนคิดว่าตัวเองเป็นสาขาของพระพุทธเจ้า
หรือ Sub Buddha บรรลุธรรมชั้นสูงกว่าใครๆ
ในประเทศไทย จึงไม่แปลกใจว่าทำไมคนเหล่านี้ถึงกล้าละเมิด จาบจ้วง สถาบันชั้นสูงของไทย
ทั้งในศาสนจักร
และอาณาจักรอย่างหน้าตาเฉย
- 5. กรณีการมรณภาพของพระชิตชัย
มหาชิโต (วิญญูนันทกุล)
- ค่านิยมในการอัดวิชชาธรรมกายบนดอยสุเทพ-ปุยอันเป็นวิธีการ
อปกติ ของพระธัมมชโย ทำให้เกิดอาการเครียด
แก่พระชิตชัย มหาชิโต เป็นอย่างมาก เพราะพระชิตชัย มหาชิโต ไม่นิยมการพูดเท็จ
เป็นพระที่มีสัจจะสูง พระธัมมชโย
ถามว่า เห็นพระธรรมกายไหม พระชิตชัยตอบว่า ไม่เห็น ตามความเป็นจริง จึงทำให้พระธัมมชโยโกรธขึ้งอย่างรุนแรง
จนกระทำการอเปหิสั่งไม่ให้ใครคบหากับพระชิตชัย ไม่ให้ออกสังฆสมาคม ทั้งที่พระชิตชัยมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก
ยิ่งเพิ่มความเครียดแก่พระชิตชัย จึงเป็นสาเหตุให้พระชิตชัยมรณภาพอย่างเป็นปริศนา
- การมรณภาพของพระชิตชัย แม้ทางการพิสูจน์จะทราบได้ว่าเป็นการกระทำอัตวินิบาตกรรมหรือฆ่าตัวตาย
ก็ล้วนมีแหล่งกำเนิดมาจากพฤติกรรมและวิธีการของพระธัมมชโยทั้งสิ้น พระธัมมชโยจึงน่าจะมีความผิดเป็นตัวการ
กระทำการใดๆ อันจงใจหรือเจตนาให้บุคคลอื่นฆ่าตัวตาย ซึ่งปัจจุบันเรื่องนี้ก็ยังเป็นปริศนาดำมืดอยู่เช่นเดิม
ญาติพี่น้องตระกูลวิญญูนันทกุล ยิ่งมีความเชื่อว่าเป็นการฆาตกรรมอำพรางอยู่จนปัจจุบัน
- 6. กรณีการถือครองที่ดินทั่วประเทศ
- การถือครองที่ดินของพระธัมมชโย ที่มักชี้แจงต่อสาธารณชนว่ามีผู้บริจาคนั้น
เป็นความเท็จแทบทั้งสิ้น เพราะที่ดินที่พระธัมมชโยโอนให้วัดตามกำหนดเส้นตายของกรมการศาสนานั้น
ข่าวในทางลับแจ้งว่าเป็นที่ดินที่
ดร.ประกอบ กีรจิตติ ถวายแทบทั้งสิ้น จึงเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิถูกต้อง
ส่วนที่ดินอีกกว่า 1,400 ไร่นั้น เป็นการได้มาโดยการสั่งให้สานุศิษย์ผู้ใกล้ชิดทำการกว้านซื้อไว้แล้วยกถวายพระธัมมชโยในภายหลัง
- ในช่วงยื่นคำขาดที่ผ่านมา วัดพระธรรมกายและสานุศิษย์พยายามเปลี่ยนแปลง
ปลอมแปลงเอกสารที่ดิน
เพื่อให้ได้ข้อยุติว่า เป็นการบริจาค เพื่อหลีกเลี่ยงข้อหายักยอกทรัพย์
เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ฯลฯ โดยกระทำการดังกล่าวที่บ้านของ ดร.ประกอบ
กีรจิตติ ส.ส.เขต 10 กทม. พรรค ปชป. โดยการประสานงานหรือ
ล็อบบี้ของ พรรณพิพา วัชโรบล อดีตผู้สมัคร ส.ส. เขต 3 พญาไท พรรค ปชป. ผู้เป็นญาติของนางสาวลีลาวดี
วัชโรบล อดีตนางเอกภาพยนตร์ สานุศิษย์ผู้คอยเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับวัดพระธรรมกายเพื่อการระดมทุนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
- คณะทำงานฯ จึงได้เข้าทำการตรวจสอบการถือครองที่ดินในนามของพระไชยบูลย์
สุทธิผล ในพื้นที่ อ.ภูเรือ จ.เลย ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายสอง วัชรศรีโรจน์,
นางชนัสถ์นันท์ สุขุมพานิช, นางวรรณา อุดมผล, นายเพชร แก่นทรัพย์
ไปกว้านซื้อที่ดิน น.ส.1 ก. จากชาวบ้านในพื้นที่ อ.ภูเรือ จ.เลย ใกล้กับที่ดินของนายแพทย์ชัยยุทธ
กรรรณสูต ซึ่งประชาชนผู้ยากไร้ในพื้นที่ได้สิทธิการครอบครองจากการเข้าไปทำประโยชน์ในป่าสงวนไร้สภาพ
หรือได้มาจากการจัดสรรที่ทำกินของรัฐ หลังจากนั้นก็ขอเปลี่ยนเป็น น.ส.3 ก.
สามารถจำหน่ายถ่ายโอนได้แล้ว กระทำการยกให้พระไชยบูลย์ ในภายหลัง และตีราคาต่ำกว่าราคาประเมินของทางการ
อันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีที่ดิน
- คณะทำงานฯ จึงสรุปว่า กรณีการถือครองที่ดิน พระธัมมชโยใช้เงินบริจาคของวัดให้สานุศิษย์ไปทำการกว้านซื้อที่ดิน
แล้วยกถวายเป็นสมบัติของตนเองในภายหลัง ซึ่งถือว่าเป็นการเบียดบังทรัพย์สินของวัด
ฉ้อโกงประชาชน
- 7. กรณีแหล่งผลิตพระมหาสิริราชธาตุ
- พระธัมมชโยพยายามปั้นเรื่องเท็จ โดยนำเอาเรื่องในชาดกมาผสมผสานกับ
สินค้า ที่ออกมาจำหน่าย คือ
พระมหาสิริราชธาตุ ที่อ้างว่าพญานาครักษาไว้หลายร้อยล้านปี แต่จากการตรวจสอบของคณะทำงานฯ
พบว่า วัตถุธาตุดังกล่าวนำเข้ามาจากประเทศพม่า และประเทศยุโรปตะวันออก ไม่ใช่วัตถุธาตุที่ทรงคุณค่าดังคำโฆษณา
แต่อย่างใด
- คณะทำงานฯ ได้ส่งคนเข้าไปสอบถามพนักงานโรงงานของบริษัท
D. Gems International จำกัด ของนางสงบ
ปัญญาตรง สีกาอีกคนหนึ่งของพระธัมมชโย ปรากฏว่าเป็นโรงงานผลิตพระมหาสิริราชธาตุเถื่อน
ใช้แรงงานต่างด้าว
หนีเข้าเมือง ไม่มีสวัสดิการใดๆ แก่คนงานตามกฎหมายคุ้มครองและสวัสดิการแรงงาน
เรื่องนี้จึงสรุปได้ว่า วัดพระธรรมกายโดยมีผู้นำบุญเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกระทำการหลอกลวงประชาชนทำให้เสียทรัพย์
จนหลายครอบครัวต้องบ้านแตกสาแหรกขาด เกิดความเดือดร้อนไปหลายพื้นที่ทั่วประเทศ
ดังปรากฏเป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้
- 8. กรณีความสัมพันธ์กับสตรีเพศ
- เกือบจะเป็นเรื่องปกติเสียแล้ว สำหรับพระสงฆ์ชื่อดังที่จะต้องมีสันถวไมตรีทางกามรสกับสตรีเพศ
เช่น
พระยันตระ อมโรภิกขุ, พระภาวนาพุทโธ, นายจันทร์ อาจหาญ หรือหลวงตาจันทร์ วัดป่าชัยรังสี
เป็นต้น
- แต่กรณีของพระธัมมชโย เป็นการเกี่ยวพันกับสตรีถึง
7 คน สตรีผู้ที่พระธัมมชโยให้ความอภิรมย์มากที่สุด ได้แก่
นางเพียงนิล ศิริเกษม ม่ายลูกสอง อดีตภรรยาน้อยของนายสุวิทย์ มหาแถลง เพื่อนของนายสอง
วัชรศรีโรจน์ ซึ่งปัจจุบันปรากฏข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ และอีกหลายฉบับ
จนกระทั่งเสี่ยสุวิทย์ มหาแถลง เสียชีวิตอย่างปริศนาภายในห้องทำงาน ท่ามกลางความเสียใจของ
นางอาภรณ์ มหาแถลง ภรรยาหลวง ปัจจุบันนางเพียงนิลได้ยกลูกสาวให้เป็นบุตรบุญธรรมของพระธัมมชโย
บางกระแสกล่าวว่า เด็กหญิงคนดังกล่าวมีอาการของโรคประจำตัวคล้ายกับพระธัมมชโย
น่าจะเกิดจากกรรมพันธุ์หรือไม่
- นอกจากนี้ ยังมีสตรีผู้ใกล้ชิด ที่พระธัมมชโยมีความสนิทสนมอย่างมากอีก
4 คน ได้แก่ นางจิรวัฒน์ (อี๊ด),
นางสงบ ปัญญาตรง, นางสาววิชญา ไตรวิเชียร และคนสุดท้ายที่ฮือฮาโจษขานกันมากที่สุด
เพราะสามีของเธอบุกเข้าไปประจานพระธัมมชโยถึงในวัดพระธรรมกายท่ามกลางสานุศิษย์ชั้นนำ
สีกาคนล่าสุดนี้ชื่อว่า
นางแก้วตา หรือทยา หรือติ๋ม เรื่องการปะทะคารมระหว่างสามีของเธอกับพระธัมมชโย
เป็นที่โจษขานกันในวัดสนุก
ปากจนทุกวันนี้
- 9. คำให้การของพยานบุคคล อดีตแขนข้างขวาของพระธัมมชโย
- กลุ่มผู้นำบุญ ที่มีบทบาทในการหาเงินทุนให้พระธัมมชโยมากที่สุด
จนพระธัมมชโยยกย่องให้ เป็นสาขาหนึ่งของ
พระบรมพุทธเจ้า หรือ Sub Buddha" ให้คำให้การชัดเจนหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการชักชวนคนทำบุญ
การตามตื๊อคน
ให้ทำบุญมากที่สุด วิธีการหา เหยื่อ เพื่อพาไปตบทรัพย์บนดอยสุเทพ-ปุยในพิธีการอัดวิชชาธรรมกาย
- คำให้การดังกล่าว ให้ความกระจ่างถึงวิธีการ ตบทรัพย์
ของวัดพระธรรมกายและพระธัมมชโยชัดเจนที่สุด
หนังสือ
"แฟ้มคดีธรรมกาย เล่มที่ 1"
มีจำหน่ายที่
วัดสวนแก้ว จ.นนทุบรี
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์ และศาลาพระเกี้ยว
ดวงกมล สยามสแควร์และมาบุญครอง
บุ๊คเชสท์ สยามสแควร์, อาร์ซีเอ, เยาฮัน
บุ๊คคอนเนอร์ Big C วงศ์สว่าง, ชมอักษร แจ้งวัฒนะ
มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร
มหาจุฬาบรรณาคาร มหาจุฬาราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ
ศึกษิตสยาม หลังกระทรวงมหาดไทย
สโมสรรัฐสภา บริเวณรัฐสภา หน้าอาคาร 2
ร้านนายอินทร์ ทุกสาขา
ร้านซีเอ็ด ทุกสาขา
ดอกหญ้า ทุกสาขา
หรือ เรียก Pager เบอร์ 1144-77477
รายได้ส่วนหนึ่งสมทบทุน กองทุนป้องปรามภัยทางพระพุทธศาสนา
วัดสวนแก้ว