พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 31
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หน้า 223 ข้อ 1327-1330 ทีปสูตร
๘. ทีปสูตร
อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ
[ ๑๓๒๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
[ ๑๓๒๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะ
หน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ( พึงขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาโดย ความเห็นสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้พิจารณาโดย ความเห็นสละคืนหายใจเข้า ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
[ ๑๓๒๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า
เมื่อแต่ก่อนตรัสรู้ ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์ยังมิ
ได้ตรัสรู้ ก็ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม
นี้โดยมาก กายไม่ลำบาก จักษุไม่ลำบาก และจิตของเราย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
[ ๑๓๓0 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า แม้กายของเราไม่พึงลำบาก จักษุของเราไม่พึง
ลำบาก และจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ก็พึงมนสิการ
อานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
หน้า 227
อรรถกถาทีปสูตร
ทีปสูตรที่ ๘ คำว่า เนว เม กาโยปิ กิลมติ
น จกฺขูนิ ความว่า โดยทั่วไป เมื่อกำลังทำงานกัมมัฏฐานอย่างอื่น
กายย่อมเหน็ดเหนื่อยบ้าง จักษุย่อมลำบากบ้าง จริงอยู่ เมื่อกำลังทำงานในธาตุกัมมัฏฐาน
กายย่อมลำบาก เป็นเหมือนอาการ
จับใส่ในเครื่องยนต์แล้วเบียดเบียน เมื่อกำลังทำงานในกสิณกัมมัฏฐานอยู่ จักษุก็กลอกไปมา
ย่อมเหนื่อย เป็นเหมือนอาการ
ทะลักตกลงไป แต่เมื่อกำลังทำงานในกัมมัฏฐานนี้
กายก็ไม่เหนื่อยเลย จักษุทั้งสองข้างก็ไม่ลำบากด้วย ฉะนั้น ท่านจึงกล่าว
อย่างนั้น
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 31
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หน้า 248 ข้อ 1363-1368 อิจฉานังคลสูตร
๑. อิจฉานังคลสูตร
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ
[ ๑๓๖๓ ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่
ณ ไพรสณฑ์ชื่อ อิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลนคร ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สักสามเดือน ใครๆ
ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
ใครๆ ไม่เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า เวันแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว
[ ๑๓๖๔ ] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นโดยล่วงสามเดือนนั้นแล้ว
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีรย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว
พึงตอบพวกอัญญเดียรถีรย์
ปริพาชกนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่จำพรรษาด้วยสมาธิ
อันสัมปยุตด้วยอานาปานสติมาก
[ ๑๓๖๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามีสติหายใจออก
มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้าสั้น ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก...
ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละ
คืนหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า
[ ๑๓๖๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระ
อริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง
ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุต
ด้วย อานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้างภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล
ย่อมปรารถนา
ความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
[ ๑๓๖๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์เครื่อง
นำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ สมาธิอัน สัมปยุตด้วยอานาปานสติ
อันภิกษุเหล่านั้น
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ
[ ๑๓๖๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระ
อริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง
ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุต
ด้วย อานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง
จบอิจฉานังคลสูตร
วิสุทธิมรรคแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
ภาค ๑ ตอน ๒ เสสกสิณนิเทส
หน้า 199-200 อาโลกกสิณ
อาโลกกสิณ
ส่วน ( นัย ) ในอาโลกกสิณ ( พึงทราบดังนี้
) โดยคำ ( ในอรรถกถา ) ว่า " พระโยคาวจร ( ผู้ปฏิบัติ ) ผู้จะขึ้นเอา
อาโลกกสิณ ย่อมถือเอานิมิตในแสงที่ช่องฝาบ้าง ที่ช่องดาลบ้าง ที่ช่องหน้าต่างบ้าง
" ดังนี้ ( ว่า ) สำหรับผู้มีบุญมีอธิการได้
สร้างไว้ก่อน เพียงแต่ได้เห็นแสงอาทิตย์หรือแสงจันทร์เข้ามาทางช่อง มีช่องฝาเป็นต้น
ช่องใดช่องหนึ่งแล้ว ทำให้เกิดเป็นดวง ขึ้นที่ฝาหรือที่พื้นก็ดี ลอดหว่างกิ่งต้นไม้ที่มีใบทึบ
ทำให้เกิดเป็นดวงที่พื้นดินนั่นก็ดี เท่านั้นนิมิตก็เกิดขึ้นได้ แม้พระ
โยคาวจรนอกนี้ ( ที่ไม่มีบุญ ) ก็พึง ( เพ่งดู ) ดวงแสงมีประการดังกล่าวแล้วนั้นแหละ
ภาวนาไปว่า โอภาโส
โอภาโส หรือว่า อาโลโก อาโลโก ก็ได้
เมื่อไม่อาจ ( ทำ ) อย่างนั้นได้๑
พึงตามประทีบเข้าไว้ในหม้อ
ปิดปากหม้อเสีย๒
ทำช่องเข้าที่ ( ข้าง ) หม้อแล้วตั้งหันหน้า ( ช่อง ) เข้าฝา แสงประทีปออกทางช่องนั้น
ทำให้เป็นดวงขึ้นที่ฝา
พึง ( เพ่งดู ) ดวงแสงนั้น ภาวนาไปว่า อาโลโก อาโลโก
ดวงแสงนี้อยู่ได้นานกว่าดวงแสงนอกนั้น ( ที่กล่าวมาข้างต้น ) อุคคหนิมิตในอาโลกกสิณนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับดวงที่ติดอยู่ฝาหรือที่พื้นนั่นเอง
( ส่วน ) ปฏิภาคนิมิต
เป็นดวงหนาและใสคล้ายกับก้อนแสง คำ
( พรรณนา ) ที่เหลือก็เช่นเดียวกันนั้นแล
หมายเหตุ :
๑ มหาฎีกาอรรถาธิบายว่า
ดวงแสงที่เกิดแต่แสงอาทิตย์และจันทร์นั้น ตั้งอยู่ไม่นาน ( เพราะมันเคลื่อนไปตามดวงอาทิตย์และจันทร์
) ผู้ไม่มีบุญ ไม่อาจ
ภาวนาให้นิมิตเกิดในชั่วเวลาอันสั้นนั้นได้ จึงต้องใช้ประทีปหม้อ
๒ เพราะแสงที่ออกทางปากหม้อมันใหญ่
และจะทำให้ตาพร่า
จะเห็นได้ว่าอวิชชาธรรมกาย ที่อุปโลกขึ้นมานั้นไม่ใช่ อโลกกสิณ เพราะอโลกกสิณใช้การเพ่งแสงสว่างที่ตกกระทบผนัง
หรือ ฉากเป็นอารมณ์ และ ใช้คำภาวนาว่า " อาโลโก " หรือ " แสงสว่าง
" ซึ่งหลักของการเพ่งกสิณก็คือ คำภาวนา
และอารมณ์ที่ใช้จะต้องเป็นอย่างเดียวกันเสมอ จะไปใช้คำภาวนาอย่างอื่นซึ่งไม่ตรงกับอารมณ์ที่ใช้เพ่งไม่ได้
ความจริงแล้วอารมณ์ในสมถกัมมัฏฐาน มีถึง 40 อารมณ์มีให้เลือกตามจริตของแต่ละบุคคล
และการสมถกัมมัฏฐานนั้นเป็น
เพียงบาทฐานให้เจริญวิปัสสนาต่อเพื่อความหลุดพ้นอาสวะกิเลสทั้งหลาย การเจริญสมถกัมมัฏฐานเพียงอย่างเดียวโดยไม่เจริญ
วิปัสสนาต่อไปนั้นไม่มีทางที่จะหลุดพ้นไปได้แต่อย่างใด ก็เหมือนอาฬารดาบส
และ อุทกกดาบส ที่สามารถเจริญสมถกัมมัฏฐาน
ได้อย่างเชี่ยวชาญแต่ก็ยังต้องหมุนเวียนอยู่ในวัฏฏะต่อไปเพราะไม่ได้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
กิเลสต่างๆจึงยังไม่ได้ละไม่ได้ตัด
เพราะสมถะกัมมัฏฐานเป็นเพียงแต่กดทับนิวรณ์ ไม่ให้โผล่มาชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น
เมื่อออกจากสมาธิกิเลสก็กลับเข้ามาอีก
สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานคืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร?
และอารมณ์กรรมฐาน 40 มีอะไรบ้าง?
( download ไฟล์ สำหรับ Microsoft word ภาษาไทย
, หมายเหตุ : ใช้ font ที่เป็น UPC )