เนื้อความ : |
นางสาววราญาณ์ ดำรงวุฒิการณ์ ผู้กล่าวหา มูลนิธิวัดพระธรรมกาย โดยในฐานะนิติบุคคล และผู้ต้องหา นายไชยบูลย์ สุทธิผล ในฐานะส่วนตัว
ต่อหน้า
สอบสวนที่ ชื่อ นางสาววราญาณ์ ดำรงวุฒิการณ์ อายุ 23 ปี เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ อาชีพ (ลงให้ชัดเจนว่าอาชีพชนิดใด ถ้าเป็นข้าราชการให้ปรากฏว่าในหรือนอกราชการ มีเบี้ยหวัดหรือมีบำเหน็จหรือบำนาญ ให้ลงตามประเภทที่รับ) ประกอบธุรกิจส่วนตัว ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านเลขที่ 81/23 ถนนบางขุนเทียนชายทะเล ตำบล แสมดำ อำเภอบางขุนเทียน จังหวัด กรุงเทพฯ โทร ชื่อบิดา นายวรายุทธ ชื่อมารดา นางอรัญญา เกี่ยวข้องเป็นอะไรกับคู่กรณี ไม่เกี่ยวข้อง สาบานตนแล้ว ขอให้ถ้อยคำว่า ข้าฯ ขอให้การต่อหน้าพนักงานสอบสวนด้วยความสัตย์จริงดังต่อไปนี้
ถาม ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด ประกอบอาชีพใด ตอบ ข้าฯ มีภูมิลำเนาและพักอาศัยอยู่ตามบ้านเลขที่ดังกล่าวข้างต้น ประกอบอาชีพดูแลกิจการ ของครอบครัว อยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวข้างต้น
ถาม ท่านมาพบเจ้าพนักงานตำรวจด้วยเรื่องใด ตอบ ข้าฯ มาพบเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีกับมูลนิธิวัดพระธรรมกาย ในฐานะนิติบุคคล และนายไชยบูลย์ สุทธิผล หรือ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และประธานมูลนิธิวัดพระธรรมกายในฐานะส่วนตัว ในความผิดฐานร่วมกันฉัอโกงทรัพย์
ถาม รายละเอียดที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ตอบ เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. 2541 มารดาของข้าฯนางอรัญญา ดำรงวุฒิการณ์ ได้รู้จักกับนายภัค ดวงสร้อยทอง ซึ่งเป็นวิทยากรสอนเรื่องวิชาภูมิโหรศาสตร์จีน ที่ชมรมภูมิโหรศาสตร์ ถนนสี่พระยา เขตบางรัก กทม. ที่มารดาของข้าฯ ได้เข้าอบรมมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2537 ได้ชักชวนให้มารดาของข้าฯ เข้าร่วมพิธีทางศาสนาของวัด โดยให้เหตุผลว่าให้เข้าไปดูกิจกรรมในวัดก่อนว่าดีอย่างไร ซึ่งมารดาของข้าฯ ก็ได้เริ่มเข้าวัดมาตั้งแต่ต้นปี2541 โดยเฉลี่ยเดือนละ1-2 ครั้ง จนกระทั่งในเดือน
.. ได้มีเจ้าหน้าที่มูลนิธิธรรมกายได้ชักชวนให้มารดาข้าฯ สร้างพระธรรมกายประจำตัวโดยยกตัวอย่างบุคคลอื่นที่สร้างพระธรรมกายประจำตัว มีความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ธุรกิจและครอบครัวประสบความสำเร็จในทุกๆ ด้าน มารดาของข้าฯ จึงได้ตัดสินใจที่จะสร้างพระธรรมกายประจำตัวในครั้งแรกเป็นจำนวนทั้งสิ้น 4 องค์ๆ ละ 10,000 บาท โดยชำระเป็น ในชื่อของบุคคลดังต่อไปนี้ 1. อรัญญา ดำรงวุฒิการณ์ (ความสัมพันธ์กับผู้กล่าวหา-มารดา) ใบอนุโมทนาบัตรวัดพระธรรมกายเลขที่่ สพ. ลงวันที่ 2. วราญาณ์ ดำรงวุฒิการณ์ ใบอนุโมทนาบัตรวัดพระธรรมกายเลขที่่ สพ. ลงวันที่ 3. อรัญยุทธ์ ดำรงวุฒิการณ์ (ความสัมพันธ์กับผู้กล่าวหา-น้้องชาย) ใบอนุโมทนาบัตรวัดพระธรรมกายเลขที่่ สพ. ลงวันที่ 4. วีรญาณ์ ดำรงวุฒิการณ์ (ความสัมพันธ์กับผู้กล่าวหา-น้้องสาว) ใบอนุโมทนาบัตรวัดพระธรรมกายเลขที่่ สพ. ลงวันที่ ภายหลังจากที่ได้มีการบริจาคเพื่อสร้างพระธรรมกายประจำตัวในครั้งแรกไปแล้ว มารดาของข้าฯ ก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมบ่อยขึ้น จนกระทั่งหลังจากวันแสดงปาฏิหาริย์อัศจรรย์ตะวันแก้ว เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2541 ทางวัดได้ชักชวนโน้มน้าวให้มารดาของข้าฯ บริจาคเงินเพื่อสร้างพระธรรมกายประจำตัวในครั้งที่ 2 อีกเป็นจำนวน 3 องค์ โดยผู้ที่ทำหน้าที่บอกบุญ ชักชวน โน้มน้าวคือพระธรรมสาร จิตตาภรโณ ปัจจุบันเป็นพระจำวัดอยู่ที่วัดพระธรรมกาย สำหรับการบริจาคเงินเพื่อสร้างพระในครั้งหลังมารดาของข้าฯได้ตัดสินใจบริจาคเงินทำพระธรรมกายประจำตัว โดยชำระเป็น ในชื่อของบุคคลดังต่อไปนี้ 1. วิภา สุวรรณชีวกร (ความสัมพันธ์กับผู้กล่าวหา-ป้า) ใบอนุโมทนาบัตรวัดพระธรรมกายเลขที่่ สพ. ลงวันที่ 2. สุชาติ วิจักขโณดม (ความสัมพันธ์กับผู้กล่าวหา-น้าชาย) ใบอนุโมทนาบัตรวัดพระธรรมกายเลขที่่ สพ. ลงวันที่ 3. มยุรี วิจักขโณดม (ความสัมพันธ์กับผู้กล่าวหา-น้าสาว) ใบอนุโมทนาบัตรวัดพระธรรมกายเลขที่่ สพ. ลงวันที่ (ซึ่งข้าฯ ได้มอบให้เจ้าพนักงานไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีแล้ว) ต่อมาในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2541 ทางวัดได้ติดต่อให้มารดาข้าฯและข้าฯเข้าร่วมพิธีเททองหล่อพระประจำตัวที่บริเวณสภาธรรมกายสากล วันดังกล่าวเจ้าหน้าที่มูลนิธิได้มอบวัตถุทรงกลมสีดำคล้ายลูกแก้ว (มหาสุวรรณนิธิ) ให้กับผู้ที่บริจาคเงินสร้างพระสำหรับประกอบพิธี แต่พิธีดังกล่าวทางวัดไม่ได้ชี้แจงหรือแจ้งให้ทราบว่าองค์ไหนเป็นของใคร และประดิษฐานอยู่ที่ใด จนกระทั่งเสร็จสิ้นพิธี หลังจากวันดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน (วันที่ 5 เมษายน 2542) ทางวัดก็ไม่ได้มีเอกสารใดชี้แจงเรื่องดังกล่าว รวมถึงจำนวนองค์พระในพิธีว่ามีองค์ใดบ้างที่เป็นของข้าฯ ต่อมาภายหลังในเดือนกุมภาพันธ์ 2542 ทางวัดได้มีการชักชวนโน้มน้าวให้มารดาข้าฯขี้นไปปฎิบัติธรรมที่จังหวัดเชียงใหม่ในระหว่างวันที่ 14-21 กุมภาพันธ์ 2542 หลังจากวันดังกล่าวทางวัดยังได้ติดต่อชักจูง ให้มารดาของข้าฯบริจาคเงินเข้าร่วมกิจกรรมของทางวัดอีกเป็นจำนวน 150,000 บาทในวันที่ 7 มีนาคม 2542 โดยสั่งจ่ายเป็นเช็คธนาคารกรุงเทพ สาขาสาธุประดิษฐ์ เลขที่ 4537896 ต่อมาจากการติดตามข่าวสารกรณีตรวจสอบวัดพระธรรมกายผ่านทางสื่อต่างๆ ของข้าฯ จากข้อสรุปของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภา ผู้แทนราษฎร มหาเถรสมาคม ที่ระบุถึงความผิดของข้อกล่าวหาดังกล่าวของทางวัดพระธรรมกายอันได้แก่ แนวทางการสั่งสอนที่ผิดเพี้ยนจากพระไตรปิฎก วิธีการเรี่ยไรบุญที่เข้าข่ายหลอกลวง กระบวนการโฆษณาที่เป็นเท็จ และพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมของเจ้าอาวาสในเรื่องธุรกิจ รวมทั้งเอกสารพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ที่ระบุถึงความผิดอันชัดเจนของวัดพระธรรมกาย เป็นเหตุให้ข้าฯได้รับความเสียหายซึ่งข้าฯ เห็นว่าการกระทำของมูลนิธิพระธรรมกายและเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายเป็นการกระทำที่หลอกลวงโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ อันควรแจ้งให้ข้าฯทราบ หรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าได้รับความเสียหาย ข้าฯ จึงได้มาแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับมูลนิธิวัดพระธรรมกายในฐานะนิติบุคคล และนายไชยบูลย์ สุทธิผล หรือพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และประธานมูลนิธิวัดพระธรรมกาย ในฐานะส่วนตัว ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์
ถาม เหตุใดท่านจึงสร้างพระธรรมกายประจำตัว ตอบ มารดาของข้าฯ หลงเชื่อว่าหากได้สร้างพระธรรมกายประจำตัวแล้ว มารดาของข้าฯและครอบครัวจะประสบความสำเร็จในอาชีพ และหน้าที่การงาน มีความเจริญรุ่งเรือง ครอบครัวมีความสุข อีกทั้งทางวัดและเจ้าหน้าที่ของทางวัดยังได้พูดชักจูง โน้มน้าวทำให้มารดาของข้าฯ เชื่อในเรื่องอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์ และอำนาจความศักด์สิทธิ์ ของพระมหาสิริราชธาตุ อันเป็นวัตถุมงคลที่ทางวัดจะได้มอบให้กับผู้ที่บริจาคสร้างพระธรรมกายประจำตัวที่จะช่วยให้ผู้ถือครอง รอดตาย หายป่วย ร่ำรวย มีชื่อเสียง ตามเนื้อความที่ได้เผยแพร่ลงในวารสารพระมหาสิริราชธาตุ เทปบันทึกเสียง สื่อโฆษณาอื่นๆ ที่ทางวัดได้พิมพ์แจก และส่งให้ข้าฯทุกเดือน นอกจากนี้ทางวัดได้มีการพูดถึงสรรพคุณและอานุภาพของวัตถุมงคลดังกล่าวด้วยการยกกรณีตัวอย่างจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จในพิธีแสดงธรรมทุกๆวันอาทิตย์อีกด้วย ทำให้มารดาของข้าฯ และข้าฯเชื่อว่าวัตถุมงคลดังกล่าวมีความศักดิ์สิทธิ์จริง ซึ่งต่อมาภายหลังข้าฯก็ได้ทราบว่าบุคคลดังกล่าวที่ทางวัดยกมาเป็นตัวอย่างนั้นเป็นบุคคลที่มีผลประโยชน์ร่วมกับทางวัดทั้งสิ้น
ถาม ท่านเชื่อว่าวัดพระธรรมกายหลอกลวงท่านอย่างไร ตอบ ตั้งแต่มารดาข้าฯและข้าฯได้บริจาคเงินสร้างพระธรรมกายเป็นจำนวนทั้งสิ้น 7 องค์ แล้ว ข้าฯและมารดายังไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงตามคำกล่าวอ้างของทางวัดพระธรรมกายถึงสรรพคุณของวัตถุมงคลดังกล่าวแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม ข้าฯกับพบว่าสถานะความเป็นอยู่ และธุรกิจของข้าฯกำลังประสบกับปัญหา สภาพคล่องทางการเงินอันเป็นผลเนื่องมาจากการผ่อนชำระเพื่อใช้ในการสร้างพระธรรมกายประจำตัว อีกทั้งพฤติกรรมของทางวัดพระธรรมกาย และผู้ชักจูง (พระธรรมสาร) เป็นเจตนาที่ส่อไปในทางมิชอบ คือพยายามชักจูง โน้มน้าวให้มารดาของข้าฯและข้าฯทำบุญอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้หยุดหย่อน เป็นจำนวนเงินครั้งละมากๆ หากข้าฯไม่เห็นด้วยทางวัดก็จะพยายามชักจูง โน้มน้าวผ่านทางด้านมารดาของข้าฯที่มีสุขภาพไม่ค่อยจะแข็งแรง อีกทั้งยังมีบุคลิกที่เชื่อคนง่ายให้ทำบุญด้วยการโทรมาพูดจารบเร้าในช่วงเวลากลางคืนประมาณ 21.00-22.00น. เป็นประจำอันเป็นการผิดวิสัยของสมณเพศในพระพุทธศาสนา รวมถึงยังพยายามชักจูงให้มารดาข้าฯเข้าร่วมกิจกรรมและบริจาคโดยไม่ให้ข้าฯรู้เห็น ข้าฯเองพยายามติดต่อขอรายละเอียดชี้แจงกรณีบริจาคครั้งหลังสุดจากพระธรรมสาร และทางวัดพระธรรมกาย ก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน อันเป็นการแสดงออกถึงเจตนาอันไม่บริสุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นดอย การบริจาคอื่นๆ ประกอบกับการแสดงรายละเอียดที่ไม่ชัดเจนในเรื่องความเป็นเจ้าของพระธรรมกายประจำองค์ หรือการตอบข้อสงสัยของประชาชนในกรณีต่างๆ ของทางวัดพระธรรมกายที่ทางวัดพยายามจะเลี่ยงในการตอบให้ตรงประเด็น ทำให้ข้าฯมีความเชื่อว่ามารดาของข้าฯและข้าฯถูกหลอกลวง อันเป็นเหตุให้เสียทรัพย์ และผลประโยชน์อันที่พึงมีพึงได้
ถาม ท่านทราบว่าถูกหลอกลวงเมื่อใด ตอบ ประมาณกลางเดือนมีนาคม 2542 ภายหลังจากที่ข้าฯทราบว่ามารดาของข้าฯได้แอบบริจาคเงิน 150,000 บาท ให้กับทางวัดพระธรรมกาย และจากข้อมูลที่สื่อมวลชนและสมเด็จพระสังฆราชออกมายืนยัน
ถาม เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เกี่ยวข้องในคดีนี้มาก่อนหรือไม่ ตอบ ไม่เคย
203.144.249.143 |