เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ 1

เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ 1 พระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณ์ ประเทศอังกฤษ เป็นฉบับสากล?

สมาคมบาลีปกรณ์พิมพ์พระไตรปิฎกอักษรโรมันได้ ก็เพราะมีพระไตรปิฎกของ พวกเราให้เขาคัดลอก
         เอกสารของวัดพระธรรมกายได้อ้างว่า
         "แม้ในยุคปัจจุบันก็มีนักวิชาการพระพุทธศาสนาทั้งในดินแดนตะวันตก เช่น ยุโรป อเมริกา และทาง ตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ถกเถียงกันมาก (เกี่ยวกับเรื่องอัตตา) . . ."
         เรื่องนี้ได้ตอบไปแล้วเป็นส่วนมาก แต่ยังมีแง่ที่ควรพูดไว้เป็นเรื่องเบ็ดเตล็ดอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งไม่สู้มี ความสำคัญนัก คือเรื่องของนักวิชาการตะวันตกว่ามีทัศนะอย่างไร
         แต่ก่อนที่จะพูดเรื่องทัศนะของนักวิชาการตะวันตกโดยตรง ก็อยากจะพูดถึงพระไตรปิฎกบาลีอักษร โรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ์ประเทศอังกฤษ ที่เอกสารของวัดพระธรรมกายอ้างว่า
         " . . . พระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับอักษรโรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ์ แห่งประเทศอังกฤษ (Pali
Text Society) ซึ่งเป็นพระไตรปิฎกบาลีฉบับสากล เป็นที่อ้างอิงของนักวิชาการพุทธศาสนาทั่วโลกในปัจจุบัน "
         สมาคมบาลีปกรณ์ คือ Pali Text Society นั้น ตั้งขึ้นในกรุงลอนดอนเมื่อ ค.ศ 1881 ตรงกับ พ.ศ 2424 โดย Professor T.W. Rhys Davids แล้วก็ได้พิมพ์พระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถาภาษาบาลีฉบับอักษรโรมัน และคำแปลภาษาอังกฤษ มาตามลำดับ ได้จำนวนมากทีเดียว
         
เบื้องต้นจะต้องเข้าใจกันให้ชัดไว้ก่อนว่า พระไตรปิฎกภาษาบาลีนั้นที่จริงมีฉบับเดียวเท่านั้น คือที่
รักษา สืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งที่พระอรหันต์ 500 รูปประชุมกันรวบรวมคำตรัสสอนของพระพุทธเจ้ามาตั้งเป็น
หลักไว้ เมื่อหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน ที่เรียกว่าสังคายนาครั้งที่ 1 แต่พระไตรปิฎกบาลี
ฉบับนี้
เมื่อชาวพุทธในประเทศต่างๆ จะนำไปรักษาและศึกษาในประเทศของตนๆ ก็คัดลอกกันไปโดยใช้อักษรของประเทศ
ของ ตนๆ แล้วก็เรียกว่าฉบับอักษรนั้นๆ หรือฉบับของประเทศนั้นๆ เช่น ฉบับอักษรสิงหล หรือฉบับลังกา ฉบับอักษร ไทย หรือฉบับไทย ฉบับอักษรพม่า หรือฉบับพม่า ฯลฯ
ความแตกต่างก็มีเพียงอักษรที่ใช้เขียนหรือจารึกเท่านั้น ภาษาก็ยังคงเป็นภาษาบาลีตามเดิม และเนื้อหาทั้งหมดก็เป็นคำความเดียวกันในภาษาบาลีของเดิม         เพราะเหตุที่ท่านถือว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกบาลีนี้เป็นเนื้อเป็นตัว
ของพระพุทธศาสนา เมื่อคัดลอกกันไป ก็เกรงว่าอาจจะมีการผิดเพี้ยนตกหล่น ท่านจึงคอย
ตรวจสอบกันอยู่เสมอๆ เวลาที่ ประชุมกันตรวจสอบเป็นครั้งใหญ่ๆ อย่างที่เรียกว่าสังคายนา
ครั้งหนึ่งๆ ก็รวบรวมเอาพระไตรปิฎกบาลีที่มีใน ประเทศต่างๆ ทั้งหลาย มาตรวจชำระโดย
สอบทานกัน
         แต่ต้องเข้าใจว่า พระสงฆ์ที่ร่วมทำสังคายนานั้น ไม่ใช่มาดัดแปลงถ้อยคำหรือข้อความใดๆ
ในพระไตรปิฎก
เพราะความมุ่งหมายอยู่ที่จะรักษาของเดิมไว้ให้แม่นยำบริสุทธิ์บริบูรณ์ที่สุด (ถ้าใครขืนแทรกอะไรเข้าไป ก็ เรียกว่าเป็นสัทธรรมปฏิรูป คือของเทียมหรือของปลอม)
ดังนั้น ถ้าพบอะไรแปลกกันในต่างฉบับ แม้แต่เล็กน้อยที่สุด เช่นอักษรต่างกันตัวเดียว อย่าง จ หรือ ว ท่านก็จะทำเชิง
อรรถบอกไว้ว่า ฉบับนั้นมี จ ฉบับนี้มี ว เพราะฉะนั้น ความแตกต่างหรือพิเศษกว่ากัน ก็มีเพียงว่า
         
1. ฉบับไหนพิมพ์ทีหลัง ก็มีโอกาสได้ตรวจทานหลายฉบับ ก็ได้เปรียบที่จะบอกข้อแปลก เช่นบันทึกไว้ ในเชิงอรรถว่า ที่แปลกกันเล็กๆ น้อยๆ นั้นฉบับไหนเป็นอย่างไร
          2. เมื่อการพิมพ์ทันสมัย อุปกรณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็มีการจัดรูปหน้า จัดย่อหน้า วรรคตอน
ตั้งหัวข้อ ให้ตัวอักษรหนา-บาง-เอน ทำดัชนีต่างๆ และวางระบบอ้างอิง เป็นต้น ให้ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น
          แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เนื้อตัวของพระไตรปิฎกแท้ๆ ก็ของเดิม อันเดียวกัน
          เมื่อสมาคมบาลีปกรณ์ คือ Pali Text Society ที่กรุงลอนดอน จะพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษร โรมัน แต่ชาวตะวันตกไม่เคยมีพระไตรปิฎกภาษาบาลีมาก่อน เขาก็มาคัดลอกเอาไปจากพระไตรปิฎก
บาลีฉบับ อักษรสิงหลของลังกา ฉบับอักษรไทยของประเทศไทย และฉบับอักษรพม่าของพม่า
นี่แหละ โดยเทียบเคียงสอบ ทานกัน แล้วพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน
ซึ่งถ้าพูดง่ายๆ ก็คืออักษรฝรั่ง อย่างที่ใช้เขียนภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส เป็นต้น นั่นเอง แต่เพราะปัญหาเรื่องทุนและกำลังคนที่มีอยู่น้อย จึงต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเลือกพิมพ์ ออกมาทีละเล่มสองเล่มตามความพร้อมหรือเท่าที่มีกำลัง คัมภีร์ใดที่เห็นว่าสำคัญใช้ประโยชน์มาก และมีนักปราชญ์ผู้รู้บาลีที่จะทำได้ ก็ทำออกมาก่อน โดยไม่มีลำดับ ไม่เป็นระบบที่จัดวางไว้โดยรวมทั้งหมด

ถึงแม้มีความเพียร แต่เพราะขาดกำลังและประสบการณ์ พระไตรปิฎกอักษรโรมัน จึงลักลั่นไม่เป็นระบบ

         คัมภีร์ที่ Pali Text Society พิมพ์ออกมา นอกจากไม่เป็นลำดับ และไม่ครบถ้วนแล้ว คัมภีร์ไหนมีคนใช้
น้อย พิมพ์ออกมาแล้วนานๆ พอหมดไปก็ต้องปล่อยให้ขาดคราว หาได้ยาก และก็ไม่มีระบบรวมเป็นชุด เช่นพระสูตรนิกายหนึ่งๆ ก็แยกออกมา จัดเป็นชุดเฉพาะนิกายนั้นๆ โดยเฉพาะนิกายย่อยคือ
ขุททกนิกาย กระจัดกระจายมาก
         นอกจากนั้น เมื่อเขาทำไปก็จึงได้เรียนรู้ไป บางอย่างเกิดเป็นปัญหาขึ้นก็แก้ไขไม่ได
         ยกตัวอย่างเช่น พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย ซึ่งมีอยู่ 3 หมวด (3 ปัณณาสก์) ตามปรกติก็ย่อมแบ่ง เป็น
3 เล่ม เช่นในพระไตรปิฎกบาลีอักษรไทยก็คือเล่ม 12-13-14
แต่ฉบับ Pali Text Society เมื่อจะพิมพ์ ไม่ได้วาง
แผนให้ดี หรือคิดพลาดไป ปรากฎว่ามัชฌิมนิกายเล่ม 1 รวมเอาหมวดแรกจบแล้วยังเกินเข้าไปหมวด 2 ด้วย แต่ก็ไม่จบ ได้ราวครึ่งเดียว เลยกลายเป็นว่ามัชฌิมนิกาย หมวด 2 คือมัชฌิมปัณณาสก์เข้าไปอยู่ในเล่ม 1 เสีย เกือบครึ่ง ส่วนที่เหลืออยู่พอพิมพ์เป็นเล่ม 2 ก็กลายเป็นเล่มเล็กๆ บางๆ
         ต่อมาเมื่อ Pali Text Society พิมพ์ฉบับแปลภาษาอังกฤษ ได้รู้ความบกพร่องนี้ ก็เลยจัดแยกเล่มของ ฉบับแปล ให้ตรงกับที่นิยมกันทั่วไป เป็นเหตุให้พระไตรปิฎกฉบับ Pali Text Society ฉบับบาลีกับฉบับแปลภาษา อังกฤษไม่ตรงกัน คือฉบับแปลภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาค 2 เมื่อจะดูภาษาบาลี ก็กลายไปอยู่ในเล่ม 1 ครึ่งเล่ม และอยู่ในเล่ม 2 อีกครึ่งเล่ม กลายเป็นความลักลั่น
         อีกตัวอย่างหนึ่ง เมื่อจะพิมพ์พระวินัยปิฎกภาษาบาลี ตอนแรกคงคิดว่าจะจัดลำดับเล่มอย่างไรดี แล้วก็ ไม่ได้ดำเนินตามแบบแผนของการจัดแบ่งคัมภีร์ที่มีมาแต่เดิม คงจะเห็นว่าวินัยปิฎก ตอนมหาวรรค (ของไทยได้แก่เล่ม 4) มีเรื่องในพุทธประวัติหลังตรัสรู้ใหม่ ก่อนจะตั้งพระศาสนา ก็เลยเอาเล่ม 4 อย่างของเรานี้ไปจัดเป็นเล่ม 1 เสร็จแล้วเล่ม 1 อย่างฉบับของไทยก็กลายเป็นเล่ม 3 ของฉบับ Pali Text Society แต่ต่อมาเมื่อจะพิมพ์ฉบับ แปลภาษาอังกฤษ คงเห็นว่าที่ตนทำไปตอนพิมพ์พระวินัยปิฎกบาลีนั้น ไม่ถูกต้อง ควรจะทำตามวิธีจัดแบ่งที่มีมา แต่เดิม ก็เลยจัดลำดับเล่มของฉบับแปลใหม่ ทำให้พระวินัยปิฎกฉบับแปลภาษาอังกฤษของ Pali Text Society มีลำดับเล่มตรงตามแบบคล้ายของไทย แล้วก็กลายเป็นว่าพระไตรปิฎกบาลีส่วนวินัยปิฎกของ Pali Text Society ฉบับต้นเดิมภาษาบาลี กับฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษของตนเองนั้น ลำดับเล่มลักลั่นไม่ตรงกัน          ส่วนฉบับภาษาบาลีที่จัดลำดับผิดไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นมัชฌิมนิกายก็ตาม เป็นวินัยปิฎกก็ตาม จะจัด ลำดับเล่มใหม่ก็ทำไม่ได้ เพราะว่าหนังสือนั้นถูกใช้อ้างอิงกันไปมากแล้ว ถ้าพิมพ์ใหม่หลักฐานที่อ้างอิงกันไว้เดิม ก็มาค้นหาไม่ได้ ก็จะสับสนวุ่นวาย จึงต้องปล่อยไปอย่างนั้น
         ยิ่งขุททกนิกายด้วยแล้ว ก็วุ่นวายไปหมด คือไม่มีระบบ ต้องแยกพิมพ์เป็นเล่มๆ บางเล่มก็พิมพ์รวมกัน ไปทั้งบาลีในพระไตรปิฎกและอรรถกถา โดยเฉพาะบางเล่มเวลาอ้างจะยุ่งยากหรือปนเป ตัวอย่างเช่น คัมภีร์ชาดก
(Jataka) ซึ่งรวมกัน แยกไม่ออกระหว่างชาดกที่มาในพระบาลีคือในพระไตรปิฎกแท้ๆ กับส่วนที่เป็นอรรถกถา

พระไตรปิฎกบาลีฉบับสากลโดยรูปแบบ ยังไม่มี แต่โดยเนื้อหา พระไตรปิฎกบาลีเป็นสากลตลอดมา

         พระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันของ Pali Text Society ที่จะเรียกได้ว่า "เป็นสากล" ก็มีความหมายอยู่ อย่างเดียว คือมีความได้เปรียบในแง่ที่ใช้อักษรฝรั่ง ซึ่งเรียกเป็นทางการว่าอักษรโรมัน
         อักษรฝรั่งนั้นมากับภาษาอังกฤษ ซึ่งเกือบจะเป็นภาษากลางของโลก คนอ่านกันทั่วไป
ชาวพุทธใน ประเทศต่างๆ ที่อ่านพระไตรปิฎกภาษาบาลีนั้น อ่านอักษรของกันและกันไม่ค่อยได้ อย่างพระไทยหรือคนไทยก็ อ่านพระไตรปิฎกบาลีฉบับอักษรสิงหลของลังกาไม่ค่อยได้ หรือจะอ่านฉบับอักษรพม่าก็อ่านไม่ค่อยเป็น คนพม่า ก็เช่น
เดียวกัน จะอ่านของไทยหรือของลังกาก็ไม่ค่อยได้ คนลังกาก็อ่านของไทยหรือของพม่าไม่ค่อยเป็น อย่างนี้ เป็นต้น แต่คนทุกประเทศนี้รู้จักอักษรฝรั่ง เวลาจะเขียนเรื่องพระพุทธ ศาสนาให้คนต่างชาติอ่าน ก็เลยมาใช้ พระไตรปิฎกบาลี
ฉบับอักษรโรมันซึ่งเป็นอักษรฝรั่ง อันนี้เป็นเหตุให้ฉบับของ Pali Text Society ได้รับการอ้างอิง และใช้กันมากกว่า
         แต่ถ้าว่าถึงเนื้อหาข้างในแล้ว ก็อยู่ที่ว่า ใครทำก่อนทำหลัง ฉบับที่ทำทีหลังก็ได้เปรียบ อย่างที่พูดไป แล้ว ฉบับ
ของ Pali Text Society นั้นพิมพ์ทีหลังฉบับของลังกา ไทย และพม่า จึงมีโอกาสสอบทานเทียบเคียง ฉบับทั้งสามนั้น แล้วทำเชิงอรรถได้มากหน่อย
แต่ต่อมาตอนหลังไทยก็ดี พม่าเป็นต้นก็ดี ก็มีการตรวจชำระกันใหม่ อย่างของพม่า ก็มีฉบับ ฉัฏฐสังคีติ ซึ่งตรวจชำระสมัยฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ช่วง พ.ศ 2500 ซึ่งมีพระสงฆ์ และนักปราชญ์ประเทศต่างๆ ไปร่วมประชุมมาก
         ตามประวัติดังที่ว่ามา เวลานี้พระไตรปิฎกบาลี
ฉบับฉัฏฐ-สังคีติของพม่าก็จึงได้รับความนิยมมาก
เมื่อ ใครจะตรวจชำระพระไตรปิฎกกันใหม่ ไม่มีใครไปเอาฉบับอักษรโรมันของ Pali Text Society เป็นแบบ
มีแต่เขา ไปเอาฉบับฉัฏฐสังคีติของ
พม่าเป็นหลัก แล้วก็เอาฉบับอื่นๆ รวมทั้งฉบับอักษรโรมันนั้นมาเทียบเคียง ยกตัวอย่าง เช่น พระไตรปิฎกบาลีฉบับมหาจุฬาฯ เมื่อตั้งฉบับของไทยเราเองเป็นฐานแล้ว ก็สอบทานโดยให้
ความสำคัญแก่ ฉบับฉัฏฐสังคีตินั้น
หรือฉบับอักษรเทวนาครี ที่ท่านโกเอ็นก้าทำ สำหรับใช้ในประเทศอินเดีย ก็เอาตามฉบับฉัฏฐ สังคีติของพม่าเลยทีเดียว
         
เพราะฉะนั้น ที่ว่าพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณ์ หรือ Pali Text Society เป็นฉบับ
สากลอะไรนั้น ก็จึงไม่ได้มีความหมายอะไร นอกเสียจากว่าคนระหว่างประเทศได้อาศัยอักษรฝรั่งเป็นสื่อที่จะได้ อ่านกันระหว่างประเทศได้เท่านั้นเอง
         ประเทศไทยเราเวลานี้ เมื่อทำพระไตรปิฎกบาลี พร้อมทั้งอรรถกถา ซึ่งตอนนี้มีคำแปลภาษาไทยด้วย แล้ว เป็นฉบับคอมพิวเตอร์ ก็คิดว่า ชาวพุทธทั่วไปไม่ควรจะต้องไปอาศัยฉบับอักษรโรมันของฝรั่งซึ่งราคาแพงมาก เพียงเพื่อจะ
ค้นเทียบเลข หน้าคัมภีร์ในเวลาที่คนชาติอื่นเขาอ้างอิง ก็จึงใช้วิธีเอาเลขหน้าของฉบับอักษร โรมันของสมาคมบาลีปกรณ์มา
ใส่ไว้ในฉบับของเราด้วย พร้อมกันนั้นก็สามารถกดปุ่มแปลงบาลีอักษรไทยเป็น บาลีอักษรโรมันบนหน้าจอได้ด้วย เพราะฉะนั้น
ความจำเป็นในการที่จะใช้พระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันของ สมาคมบาลีปกรณ์ก็จึงหมดไปแทบจะโดยสิ้นเชิง          
วิธีที่ว่ามานี้แหละ เป็นหนทางสำคัญที่จะทำให้เกิดความเป็นสากลที่แท้จริง พระไตรปิฎก
บาลีนั้นเป็นสากลอยู่แล้ว คือ ของเถรวาทไม่ว่าประเทศไหน ก็เป็นอันเดียวกัน
แต่ในที่นี้พูดถึงความ
เป็นสากลของเล่มหนังสือ และตัวอักษรที่ใช้อ่าน ในความหมายที่ว่าฉบับเดียวก็ใช้เทียบกันและอ้างอิงไปได้ระหว่างทุกฉบับด้วย ซึ่งเป็น โครงการที่จะทำต่อไป คือจะใส่เลขหน้าของฉบับฉัฏฐสังคีติของพม่า และฉบับสิงหลเป็นต้น มารวมอยู่ในฉบับ เดียวกันของไทยนี้ให้หมด

           ถ้าทำครบตามที่ว่ามานี้เมื่อไร เราใช้ฉบับอักษรไทยฉบับเดียวก็อ้างไปได้ทั่ว หรือเจอการอ้างที่มาของ พระไตรปิฎกไม่ว่าฉบับไหน จะเป็นอักษรโรมันของอังกฤษ หรือฉบับฉัฏฐสังคีติของ พม่า หรือฉบับสิงหลของ ลังกา หรือฉบับเทวนาครีของอินเดีย ก็สามารถมาค้นหาในฉบับคอมพิวเตอร์ของไทยนี้ได้หมดในที่เดียว โดยเฉพาะการที่ไม่ต้องใช้ฉบับ
อักษรโรมันนั้นช่วยทุ่นกำลังเงินได้มาก เพราะว่าฉบับอักษรโรมันนั้นราคาแพงเป็น พิเศษ
         ที่พูดมาให้รู้ว่าเขามีความบกพร่องผิดพลาดมากมายอย่างนี้มิใช่เป็นเรื่องที่จะไปเย้ยหยันพระไตรปิฎก บาลีฉบับ
อักษรโรมันของ Pali Text Society แต่ตรงข้ามเราควรจะยกย่องและส่งเสริมเขาด้วยซ้ำไป เพราะว่า ทั้ง ที่เขามีกำลังคน
น้อย และมีกำลังทรัพย์น้อย ก็ยังมีความเพียรพยายามและตั้งใจจริงอย่างนี้ นับว่าน่าสรรเสริญ พวกเราเสียอีก ทั้งๆ ที่มีกำลังพุทธศาสนิกชนมาก มีกำลังเงินทองในทางพระศาสนามาก แต่ไม่ค่อยนำมาใช้ใน ด้านที่เป็นงานหลักสำคัญของ
พระศาสนาอย่างคัมภีร์นี้ จนกระทั่งต้องมีเอกชนทำขึ้นมา
         ในหมู่พวกเรานี้ ใครมีกำลังทรัพย์มาก จะไปช่วยสนับสนุนเขาก็สมควร แต่การที่จะไปให้กำลังทรัพย์ สนับสนุนนั้น ก็ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ให้เพราะความนับถือ

หันจากพระไตรปิฎกแปลของ Pali Text Society ชาวตะวันตกที่ศึกษาพุทธศาสนา เหออกมาสู่ทางเลือกอื่น

         ส่วนพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษนั้น ก็อย่างที่พูดแล้วว่าน่าสรรเสริญความเพียรพยายาม และความตั้งใจ
จริงของเขา นอกจากนั้น ยังน่าชื่นชมระเบียบวิธีในการทำงานของเขา ซึ่งสืบเนื่องมาจากวัฒน ธรรมทางวิชาการของตะวันตก อันทำให้ผลงานของเขามีลักษณะเป็นวิชาการมาก และอำนวยประโยชน์แก่การ ศึกษาค้นคว้าไม่น้อย เช่น ประมวลความรู้
ความคิดเกี่ยวกับคัมภีร์เล่มนั้นๆไว้ เป็นบทนำอย่างยืดยาวยิ่ง มี เชิงอรรถช่วยขยายความรู้และช่องทางการค้นคว้าต่อไป และมีระบบการอ้างอิงที่ดี รวมทั้งศัพท์สงเคราะห์ และ ดัชนีต่างๆ
         อย่างไรก็ตาม ความเป็นนักภาษาบาลีและวัฒนธรรมทางวิชาการเท่านั้นยังไม่พอ การที่จะแปลคัมภีร์ พุทธศาสนาให้ถูกต้องแม่นยำนั้น ต้องมีความเข้าใจหลักธรรม คือเข้าใจตัวพระพุทธศาสนาด้วย ยิ่งลึกซึ้งเท่าไรก็ ยิ่งดี แต่ก็น่าเห็นใจผู้แปล ที่เขาทำไปตามกำลังสุดความสามารถ และเมื่อคนรุ่นหลังเรียนรู้เข้าใจมากขึ้น ก็มีการ แก้ไขปรับปรุงเรื่อยมา
คัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษของ Pali Text Society จึงได้มีการเปลี่ยน แปลงต่อๆ มา
         ยกตัวอย่างคัมภีร์มัชฌิมนิกายที่พูดไปแล้ว เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษ ระยะแรกเป็นฉบับที่ Lord Chalmers แปล ต่อมาก็รู้กันว่ามีความผิดพลาดบกพร่องมาก จึงแปลใหม่โดยคนใหม่ คือ Miss I. B. Horner ที่กล่าวถึงแล้ว
         อย่างไรก็ดี ในแง่ของคัมภีร์แปล ตลอดจนหนังสือตำรับตำราต่างๆ ทางพระพุทธศาสนานี้ ระยะหลังๆ เมื่อมีชาวตะวันตกมาบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา เช่นมาบวชอยู่ลังกา ได้เรียนรู้ลึกซึ้งมากขึ้น คนก็หันมายอม
รับนับถือและถือตามหนังสือตำรับ ตำรา และแม้แต่หนังสือแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาของพระภิกษุชาว ตะวันตกที่มาบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนาแล้วนี้มากกว่า
         
พวกนักปราชญ์ชาวตะวันตก เช่นที่ Pali Text Society นั้น แม้จะมาสนใจในทางพุทธศาสนา แต่
หลาย ท่านก็สนใจแบบนักวิชาการ โดยที่พื้นฐานเป็นชาวคริสต์มาแต่เดิม จึงมีแนวคิดติดมาในแบบที่
ยึดถือในอัตตา (Soul)

         บางท่านแม้มาเป็นนักปราชญ์ภาษาบาลี ก็ยังนับถือศาสนาคริสต์อยู่ เพราะความที่ไม่คุ้นกับ บรรยากาศคำสอนในพระพุทธศาสนามาแต่เดิม ทำให้ไม่สามารถเข้าใจซึ้งถึงหลัก
ธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาได้
         เพราะฉะนั้น คนทั้งหลายทั่วไปที่ศึกษาเนื้อหาธรรมของพระพุทธศาสนา จึงหันไปให้ความสนใจ คอย ฟังคอยอ่านหนังสือของพระฝรั่งบ้าง พระลังกาบ้าง ที่รู้พุทธศาสนา ยกตัวอย่างเช่น พระNyanatiloka ชาว เยอรมัน ที่ไปบวชอยู่ในลังกาจนกระทั่งมรณภาพในลังกานั้น และมีลูกศิษย์ซึ่งเป็นชาวเยอรมันเช่นเดียวกัน ชื่อ พระ Nyanaponika ซึ่งก็มรณภาพไปแล้ว ต่อมาก็มีรูปอื่นๆ เช่น พระ Nanamoli ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ
         Pali Text Society เอง ตอนหลังๆ นี้ เมื่อพิมพ์งานแปลคัมภีร์ภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษ แทนที่จะใช้ฝี มือของพวกนักปราชญ์ตะวันตกที่อยู่ในเมืองฝรั่งอย่างเดิม ก็หันมาพิมพ์คัมภีร์ที่พระฝรั่งแปลมากขึ้น อย่างงาน ของพระ Nanamoli ภิกษุชาวอังกฤษที่บวชอยู่ในลังกา ก็ได้รับการตีพิมพ์มาก
         ยิ่งระยะหลังๆ นี้ ก็มีความโน้มเอียงที่ว่าชาวตะวันตกและฝรั่งที่ศึกษา
พระพุทธศาสนาจะหันไปใช้พระไตรปิฎกฉบับแปลที่สำนักพิมพ์อื่นพิมพ์ แทนที่จะใช้ฉบับแปล
ของ Pali Text Society
อย่างเช่นเวลานี้ มัชฌิม นิกาย ที่พูดถึงเมื่อกี้ ก็มีฉบับของ Wisdom Publications ซึ่งพิมพ์ฉบับแปลของพระฝรั่งที่มาบวชอยู่ในลังกา คือ Bhikkhu Nanamoli (ชาวอังกฤษ บวชปี 1949 = พศ. 2492) และ Bhikkhu Bodhi (ชาวอเมริกัน บวชปี 1972 = พศ. 2515) เป็นต้น แสดงถึงการที่ว่า วงการศึกษาพุทธศาสนา
ยุคหลังๆ นี้ไม่ค่อยเชื่อถือคำแปลคัมภีร์ของ Pali Text Society

         ยิ่งกว่านั้น นักศึกษาพระพุทธศาสนา ที่เป็นฝรั่งมาบวชเรียนเหล่านี้แหละ ได้พยายามทำผลงานแปล ใหม่กันขึ้นเอง เช่นอย่างพระชาวอเมริกัน ชื่อ Bhikkhu Bodhi นั้น ที่มาบวชอยู่ในลังกา แล้วมาดำเนินการจัด พิมพ์หนังสือทางพระพุทธศาสนา จนกระทั่งเวลานี้ได้เป็นประธาน และบรรณาธิการ ของ Buddhist Publication Society ในศรีลังกา
         เพราะฉะนั้น หนังสือที่เป็นหลักจริงๆ ของ Pali Text Society ก็คือคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลีและ
อรรถกถา ภาษาบาลี ที่ใช้อักษรโรมัน ซึ่งวงการศึกษาภาษาบาลียังใช้กันอยู่ด้วยเหตุผลเพียงว่าเพราะพวก
นักศึกษาทั้งหลายโดยทั่วไปต้องอาศัยอักษรฝรั่งเป็นสื่อในการที่จะติดต่อระหว่างกัน