เปิด'เหลา'ธรรมกาย 'กังเจียมทู้' หัวข้อข่าว มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม 2541


[ Follow Ups ] [ Post Followup ] [ Sensitive Forum ] [ FAQ ]

Posted by ฉึกกะฉัก on December 11, 1998 at 13:02:32:

เปิด'เหลา'ธรรมกาย 'กังเจียมทู้' หัวข้อข่าว มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม 2541

เสิร์ฟเจ้าสำนักทุกวัน ชอบ 'ขี้เมาปลาช่อน'

กมธ.ศาสนาฯ แหยง'ธรรมกาย' เลิกสอบต่อ โยนลูกให้มหาเถรฯ เสี่ยภัตตาคารดัง 'กังเจียมทู้' เผยเมนูเด็ดเจ้าอาวาสสั่งทุกวันขาดไม่ได้ ต้มขี้เมาปลาช่อน และเต้าหู้ทรงเครื่อง

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ที่รัฐสภา น่ายเด่น โต๊ะมีนา ประธานคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม แถลงภายหลังการประชุมพิจารณาเรื่องการดำเนินการของวัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งได้เชิญนาย อาคม เอ่งฉ้วน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายพิภพ การจนะ อธิบดีกรมการศานา มาชี้แจงว่า มีมติจะยุติบทบาทในเรื่องนี้ไว้ก่อน เนื่องจากกรมการศาสนาชี้แจงว่า ได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานทั้งหมดส่งไปยังมหาเถรสมาคม (มส.) เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมตามหลักคำสอนของวัดพระธรรมกาย ว่าขัดต่อหลักคำสอนทางศาสนาพุทธหรือไม่ หากตัดสินเป็นอย่างไรก็ต้องยอมรับ

นายอำนวย สุวรรณคีรี รองประธานกรรมาธิการกล่าวว่า เป็นกรณีศึกษาที่จะทำให้ช่วยชาวพุทธฉลาดขึ้น สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรคือสิ่งดี อะไรที่ส่อไปในทางมอมเมา แม้แต่ในหลักคำสอนในเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ได้มีการปฏิบัติอย่างครบถ้วนหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเครื่องมือของพวกฉกฉวยหาผลประโยชน์จากศาสนา ควรให้สันติบาลหรือสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เข้าไปหาข้อมูลในวัดต่างๆเพื่อเสนอให้ผู้ใหญ่ได้พิจารณา สื่อมวลชนก็ควรเสนอข่าวเพื่อช่วยให้ศาสนาสะอาดขึ้น

ผู้ใกล้ชิดภายในวัดพระธรรมกายผู้หนึ่งเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ทางวัดเคยสั่งอาหารจากภัตตาคาร กังเจียมทู้ มารับประทาน โดยจ่ายเป็นรายเดือนประมาณเดือนละ 100,000 บาท หรือมากกว่านั้น เนื่องจากภัตตาคารกังเจียมทู้เป็นภัตตาคารมีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งในเขต อ.คลองหลวง และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักกิน

นอกจากนี้พระธัมมชโยยังมีรถประจำตัวถึง 3 คันที่มักใช้ออกงานเป็นประจำคือ รถจิ๊บเชโรกี รถเบนซ์ เอส 500 และรถยี่ห้อเชฟโรเล็ตอีก 1 คัน ซึ่งไม่มีใครทราบมาก่อนว่ารถทั้ง 3 คันจอดอยู่บริเวณใด รวมทั้งคนขับรถประจำตัวก็ไม่มีใครทราบว่าพักอยู่ที่ใด เนื่องจากทุกอย่างภายในวัดถูกเก็บเป็นความลับตลอดเวลา

นายธงชัย หรือ "เสี่ยเล็ก" เจ้าของภัตตาคารกังเจียมทู้เปิดเผย "มติชน" ว่า กว่า 10 ปีที่ผ่านมาได้ทำอาหารส่งวัดนี้จริง ปกติวัดจะส่งคนมาสั่งอาหารซึ่งจะต้องเป็นลูกศิษย์ที่ไว้ในได้อยู่กับทางวัดมาไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงจะมีสิทธิ์ทำหน้าที่นี้ จะสั่งเป็นประจำทุกวันเป็นอาหารชุดรับประทาน 7 รูป ตอนแรกตนเคยเข้าไปสั่งอาหาร และนั่งดูระหว่างการฉันอาหารด้วย ในวงจะประกอบด้วยพระราชภาวนาวิสุทธิ์ หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาส พระภาวนาวิริยคุณ หรือพระทัตตชีโว รองเจ้าอาวาสวัด ส่วนที่เหลือจะเป็นพระที่ใกล้ชิดมาก

นายธงชัยกล่าวว่า ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ทางวัดจะสั่งอาหารเป็นกรณีพิเศษคือเลี้ยงคนได้ประมาณ 200 - 300 คน ด้วย โดยเฉพาะวันที่ทางวัดจัดงานใหญ่ๆ อย่างไรก็ตามในเดือนหนึ่งทางวัดจะจ่ายเงินเป็นรายเดือนๆละประมาณ 30,000 - 40,000 บาท ไม่ใช่เป็นแสนอย่างที่เป็นข่าว เพราะบางครั้งวัดจะเป็นผู้จัดอาหารดิบมาให้กับทางร้านเพื่อให้เป็นคนทำไปส่ง

"ขณะนี้ทางร้านไม่ได้ทำอาหารให้วัดเป็นเวลา 10 กว่าปีมาแล้ว สาเหตุอาจเป็นเพราะทางวัดเบื่อรสชาติอาหารก็เป็นได้ เพราะสั่งรับประทานทุกวันจนเกิดความจำเจ รองลงมาคงเป็นเรื่องราคา ระยะหลังเท่าที่ทราบวัดได้สั่งอาหารจากตลาดรังสิต แต่ไม่ได้ผูกขาดโดยทางวัดจะตระเวณสั่งไปเรื่อยๆ เพราะระยะหลังจะสั่งครั้งละมากๆ ส่วนมากจะเป็นอาหารกล่องแต่วัดจะสั่งกับร้านที่ศรัทธาทางวัด เพราะจะได้ราคาถูก เพราะร้านที่จัดอาหารให้ถือว่าเป็นการช่วยทำบุญอย่างหนึ่ง สำหรับอาหารที่เจ้าอาวาสและรองเจ้าอาวาสชอบมากและต้องสั่งประจำขาดไม่ได้มี 4 อย่างคือ ต้มขี้เมาปลาช่อน แกงป่าลูกชิ้นปลากราย ทอดมันปลากราย และเต้าหู้ทรงเครื่อง" นายธงชัยกล่าว และว่า เดิมตนเคยศรัทธาวัดนี้มาก เห็นว่าระยะหลังเริ่มมีอาการแปลกมากๆ ที่แน่ๆ วัดนี้สร้างใหญ่โตเกินไปไม่เหมาะ ที่ผ่านมามีคนใหญ่คนโตเข้าวัดนี้มาก

วันเดียวกันผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศในวัดพระธรรมกายว่า มีประชาชนไปกราบไหว้พระบางตามาก มีแค่ประมาณ 30 - 40 คน ส่วนสถานที่ก่อสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ยังคงมีคนงานก่อสร้างกว่า 1,000 คน ก่อสร้างไม่หยุด ป้ายคัตเอาต์โฆษณาขนาดใหญ่ที่ติดอยู่บริเวณรอบๆวัด ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความจากลักษณะที่สื่อออกมาเป็นการชวนคนบริจาคเงิน โดยใช้โฆษณาจูงใจในเรื่องราวปาฏิหาริย์

นายยุทธชัย อุตมา รองอธิบดีกรมการศาสนา ให้สัมภาษณ์ว่า กรมได้รวบรวมข้อมูลคำสอนของวัดพระธรรมกายเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีหนังสือธรรมะของวัด 11 เล่ม เทปธรรมะ 43 ม้วส และวีดิโอเทปอีก 2 ม้วน ในเบื้องต้นไม่พบประเด็นความขัดแย้งคำสอนในพระไตรปิฎก แต่ นายพิภพ กาญจนะ เห็นว่าเพื่อความรอบคอบและไม่ประมาท จึงได้ตั้งคณะทำงานโดยเชิญผู้มีความรู้ด้านศาสนา โดยเฉพาะมหาเปรียญ มีตนเป็นประธาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดอีกครั้ง ก่อนจะเสนอ มส. ชึ่งคงไม่ทันการประชุมในวันที่ 11 ธันวาคม เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ในวันที่ 11 ธีนวาคม กรมจะนำข้อมูลเบื้องต้นที่ได้เสนอพระพรหมโมลี เจ้าคณะภาค 1 เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ซึ่งได้รับมอบจาก มส.ให้ตรวจสอบวัดนี้ รวมถึงผลสรุปเบื้องต้นการรับฟังความคิดเห้นผ่านสายโฮปไลน์เพื่อความหวัง พร้อมทั้งเสนอประวัติวัด มีการก่อสร้าง ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ และข้อวิพากษ์วิจารณ์ตามสื่อต่างๆ เช่นการสร้างพระมหาธรรมกายเจดีย์ การหาทุนเรี่ยไร ในลักษณะบริหารธุรกิจ การสร้างบุญโดยใช้วัตถุเป็นเครื่องล่อศรัทธา และอิทธิปาฏิหาริย์"

นายยุทธชัยกล่าวว่า จะหารือเจ้าคณะภาค 1 เพื่อหาข้อยุติเรื่องที่เกิดขึ้นให้สงบโดยเร็ว โดยกรมจะจัดประชุมไตรภาคีระหว่างวัดพระธรรมกาย พระพรหมโมลี และกรมการศาสนาขึ้น หากเรื่องใดวัดทำถูกต้องตามหลักการก็จะให้ดำเนินการต่อไป แต่หากเรื่องใดผิดแปลกแหวกแนวก็ให้วัดแก้ไขให้ถูกต้อง รวมทั้งให้วัดปรับปรุงประเด็นต่างๆที่มีประชาชนต่อต้านด้วย ในการประชุม มส.วันที่ 11 ธันวาคมนี คาดว่าคงยังไม่มีผลสรุปที่ยุติเรื่องเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน พระเถระชั้นผู้ใหญ่ต้องใช้เวลาพิจารณาอย่างรอบคอบ นอกจากนี้ ในการพิจารณาของกรรมาธิการศาสนา ศิลป และวัฒนธรรม ที่ได้พิจารณาเรื่องวัดพระธรรมกายในวันเดียวกันนี้ นายอาคมได้ให้กรมดำเนินการอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ เพราะเกรงว่าจะมีศาสนาอื่นเข้ามาแทรกแซงได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจชมรมพุทธศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่วนใหญ่จะบริหารโดยกลุ่มที่เป็นสมาชิกของวัดพระธรรมกาย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาฯ ราคำแหง ฯลฯ จะมีที่ไม่ได้บริหารโดยกลุ่มธรรมกายเพียงบางแห่งเท่านั้น เช่น มหิดล เชียงใหม่ และโรงเรียนนายร้อยสามเหล่าทัพ ซึ่งทางธรรมกายได้พยายามที่จะเข้าไป โดยในบางแห่งที่ยังไม่มีชมรมพุทธศาตร์ก็จะมีรุ่นพี่ที่นิยมวัดนี้สนับสนุนให้รวมกลุ่มรุ่นน้องเพื่อให้ตั้งชมรมขึ้น

กรณีที่มีชมรมพุทธอยู่แล้ว รุ่นพี่จะชักชวนนักศึกษาปีที่ 1 มาร่วมกิจกรรม อาทิการตักบาตร จากนั้นก็ลองแวะเข้ามาในชมรม ซึ่งรุ่นพี่จะแนะนำให้น้องใหม่นั่งสมาธิ สวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น เป้าหมายคือ เพ่งให้เห็นดวงแก้วกลมใสที่ศูนย์กลางกาย ทุกครั้งจะเปิดเทปฝึกนั่งสมาธิของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และจะถูกคะยั้นคะยอให้เป็นผู้ร่วมกิจกรรมอื่นเช่น การบอกบุญเพื่อนๆและญาติ โดยการบริจาคเงิน นอกจากนี้ยังนิมนต์พระหนุ่มรุ่นพี่ที่ตั้งใจบวชตลอดชีวิตทีวัดพระธรรมกายมาเทศน์ ส่วนกิจกรรมประจำภาคการศึกษาในช่วงปิดเทอมจะชักชวนนักศึกษาชายไปร่วมอุปสมบทหมู่ธรรมทายาทที่วัด ส่วนนักศึกษาหญิงไปอบรมธรรมทายาทหญิง หลายคนกลับเปลี่ยนความคิดเดิม จากไม่เชื่อเป็นเชื่อในแนวทางของวัด และตั้งใจจะบวชตลอดชีวิต

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า หลายคนที่เข้าไปวัดนี้แล้วจะกลับมาจัดกิจกรรมในสถาบันให้เข้มข้นขึ้น เช่นจัดปักกลดธุดงค์ในสถาบัน หรือประสานกับชมรมพุทธในมหาวิทยาลัยอื่นๆที่เป็นสายธรรมกายด้วยกันเผยแพร่แนวคิดธรรมกายให้กับนักเรียนมัธยมเช่น ชักชวนให้เข้าร่วมตอบปัญหาทางก้าวหน้า ซึ่งเป็นรายการตอบปัญหาธรรมะที่ทางวัดจัดขึ้นทุกปี คำถามส่วนใหญ่จะมาจากหนังสือมงคลชีวิตของทางวัด มีคนตั้งข้อสังเกตว่าเนื้อหาบางส่วนเบี่ยงเบนไปจากคำสอนตามหลักพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังโน้มน้าวชมรมพุทธในสถาบันอื่นด้วย ซึ่งเคยมีการเกณฑ์นักศึกษาสายธรรมกายเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกชมรมเพื่อออกเสียงให้ชมรมเข้าวัดพระธรรมกาย

น.พ.สมสกล ภิรมย์วรากร อดีตรองประธานชมรมพุทธศาสตร์มหิดล กล่าวว่า ชมรมพุทธ์จะเน้นไปในทางสายวัดป่า ไม่ให้ความสำคัญกับรูปแบบและพิธีกรรม แต่มุ่งไปที่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ พุทธศาสนาไม่ได้แปลว่าธรรมกาย การศึกษาเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่ธรรมกายวัดเดียว




Follow Ups:



Post a Followup

Name:
E-Mail:

Subject:

Comments:

Optional Link URL:
Link Title:
Optional Image URL:


[ Follow Ups ] [ Post Followup ] [ Sensitive Forum ] [ FAQ ]