วิเคราะห์ วัดพระธรรมกาย จากบันทึก 'พระมโน เมตตานันโท' โดย ดร.พระมหาจรรยา สุทธิญาโณ คอลัมน์หน้า 12 นสพ.มติชน รายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2541

Posted by ฉึกกะฉัก on December 21, 1998 at 13:07:16:

วิเคราะห์ วัดพระธรรมกาย จากบันทึก 'พระมโน เมตตานันโท' โดย ดร.พระมหาจรรยา สุทธิญาโณ คอลัมน์หน้า 12 นสพ.มติชน รายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2541

"เปิดบันทึกมหาบัณฑิตอ๊อกซ์ฟอร์ด พระมโน เมตตานันโท" บันทึกชิ้นนี้สร้างความตะลึงงันให้แก่ผู้ที่สนใจติดตามข่าวภายในวงการพระพุทธศาสนาอย่างมาก พอๆกับเป็นปาฎิหาริย์ทีเดียว

ทั้งนี้เพราะถ้านับลำดับความสำคัญของพระสงฆ์จำนวนมากในวัดพระธรรมกายแล้ว ท่านรูปนี้จะเป็นพระสงฆ์ที่มีความสำคัญในระดับไม่ต่ำกว่าหมายเลข 3 ของวัด

การที่มีพระสงฆ์ระดับนำของวัดออกมาให้ข้อมูลต่อสาธารณชนอย่างตรงไปตรงมาจึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างมาก

ขณะนี้กล่าวได้ว่า บรรดาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย ข้อมูลของท่านมโนจะเป็นข้อมูลที่ใกล้แหล่งข้อมูลมากที่สุด และแน่นอนก็ควรจะเป็นข้อมูลที่น่าจะมีคนให้ความเชื่อถือได้มากอีกชิ้นหนึ่ง

ด้วยเหตุที่ท่านมโนมีความใกล้ชิดกับวัดพระธรรมกายมายาวนาน มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งทั้งในด้านจิตใจและการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่ท่านกล่าวถึงวัดพระธรรมกายไม่ว่าในด้านใดล้วนเป็นผลึกที่สะสมมาจากความคิดที่ผสมผสานกันเข้ากับประสบการณ์ จึงควรจะถือเป็นเอกสารสำคัญที่จะใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาเรื่องราวบางเรื่องให้เกิดความกระจ่างยิ่งขึ้น

สิ่งที่เราสามารถพบได้จากการศึกษาบทความของท่านคือ ปรากฎการณ์ต่างๆที่ทางวัดพระธรรมกายได้นำเสนอต่สังคมที่น่าสนใจมีดังต่อไปนี้

1.วัดพระธรรมกายสามารถดึงดูดคนหนุ่มสาวมาจากรั้วมหาวิทบาลัยเข้าไปได้มากกว่าวัดอื่นในประเทศไทย หรือตั้งแต่มีประเทศไทยมาก็คงจะไม่ผิด หากจะศึกษาจากภุมิหลังของเจ้าอาวาสก็จะพบว่าเจ้าอาวาสเติบโตมาจากสังคมเมืองภายในรั้วมหาวิทยาลัย ชีวิตส่วนใหญ่ก่อนจะบวชสัมผัสอยู่กับชาวมหาวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่

ท่านมีความเข้าใจนักศึกษาดีกว่าอุบาสกอุบาสิกาทั่วไปที่ดำเนินชีวิตอยู่นอกมหาวิทยาลัย จุดเริ่มต้นของวัดพระธรรมกายจึงเล็งไปที่มหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นการเสนอจุดขายไปในตัวก็มุ่งไปสู่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆของประเทศมิใช่มหาวิทยาลัยสงฆ์ มหาวิทยาลัยเอกชน หรือมหาวิทยาลัยเปิด แต่อย่างใด

คนที่คุ้นเคยกนในสถาพเดียวกันย่อมคุยกันรู้เรื่องเปนที่ถูกอกถูกใจได้อย่างรวดเร็ว เช่น ชาวนาพบชาวนาย่อมมีเรื่องเสวนากันได้นาน นักธุรกิจคุยกันก็คุยกันได้นาน นักปฏิวัติสังคมพบกันก็คุยกันได้นาน

เช่นเดียวกันนักศึกษาด้วยกันพบกันก้คุยกันได้ ท่านะมมชโยพบกับท่นมโน ท่านมโนในฐานะนักเรียนแพทย์จุฬาฯ ก็มีความประทับใจท่านธัมมชโยทันที เพราะสามารถคุยกันในภาษานักศึกษาหรือคนหนุ่มสาวมี่แสวงหา

เมื่อท่านมโนมีความพอใจศรัทธาเชื่อมั่นแล้ว ท่านมโนนำเอาธรรมะที่เข้าใจแล้วไปอธิบายกับเพื่อนนักศึกษาในภาษาที่เขาสื่อกันเข้าใจกันก็ย่อมเข้าใจง่ายกว่าท่านธัมมชโยเป็นผู้สื่อ

นับว่าเมล็ดพืชแห่งธรรมกายได้รับการหว่านในเนื้อนาที่ดินดีอุดมสมบูรณ์ ไม่นานนักเมล็ดพืชแห่งธรรมกายก็แตกดอกออกหน่อขยายพันธ์ได้โดยเร็ว

2. มีการกล่าวกันว่า วัดพระธรรมกายพยายามส่งคนของตนเองมายึดชมรมพุทธของมหาวิทยลาลัยต่างๆ สิ่งนี้เป็นที่ประจักษ์แจ้งของชาวชมรมพุทธในมหาวิทยาลัยหลายแห่งว่า แทนที่ชมรมพุทธจะเป็นตัวอย่างของชมรมที่มีสันติสุข แต่กลับเล่นการเมืองกันอย่างหนักหน่วง

วัดพระธรรมกายบริหารงานแบบคนมีความรู้ในการจัดการ ย่อมแตกต่างออกไปจากการเผยแผ่ธรรมะตามประเพณีแบบธรรมชาติที่เคยมีมา การเดินเข้าสู่หมาวิทยาลัยมิใช่ไปเผยแผ่คำสอนเท่านั้น แต่เข้าไปตั้งองค์กรให้ได้เสียก่อน แล้วจึงเผยแผ่ทีหลัง

ดังที่ท่านมโนได้กล่าวว่า "การเติบโตของอาตมาในชมรมพุทธเป็นสิ่งที่ท่านเจ้าอาวาสติดตามมาโดยตลอด และถึงแม้ว่าจะประสบกับความยากลำบากเป็นอย่างมาก จากการต่อต้านของกรรมการคนอื่นๆ ในที่สุดอาตมามีชัยเหนือการเลือกตั้งในครั้งนั้น พลิกผันชีวิตของคนหนุ่มสาวอีกจำนวนหมื่นคนในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเกือบทั่วประเทศให้หันหน้าเข้าสู่วัดพระธรรมกาย"

ท่านมโนเองยอมรับว่า การที่ท่านเที่ยวเผยแผ่เรื่องธรรมกายนั้นได้รับการค้ดค้านจากเพื่อร่วมชมรมอยู่มาก และเวาที่ท่าจะเข้าไปใช้ชมรมเป็นฐานในการทำงานก็ได้รับการคัดค้านอย่างรุนแรงจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยอย่างเฉียดฉิว ตรงนี้ก็ชี้ให้เห็นว่า การที่เข้าใจว่าพุทธาสนาคือธรรมกายหรือธรรมกายคือพระพุทธศาสนาตามที่ท่านมโนเคยเข้าใจแต่เยาวัยนั้น มิใช่ว่าจะทำให้เพื่อนร่วมชมรมหรือสถาบันทั้งหมดเห็นด้วย

การได้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป้นฐานมิใช่หวังผลในระยะสั้น แต่ผลในระยะยาวมีมากมายมหาศาล ไม่วาจะอยู่ในฐานะผู้มีทรัพย์สินมากมาย เพราะนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าของเมืองไทยจะหาคนยากจนเข้าไปเรียนได้ยากมาก เมื่อจบแล้วก็มีการมีงานเป็นหลักเป็นฐานส่งผลให้สามารถทำบุญระบบเงินดาวน์โครงการหมื่นล้านในอีกสิบกว่าปีต่อมา

และแน่นอนที่สุดลองเชื่อชนิดสุดฤทธิ์สุดเดชกันแล้ว ครอบครัวลูกหลานว่านเครือต่อไปก็จะถูกถ่ายทอดกันไปไม่มีที่สิ้นสุด จำนวนผู้ที่เชื่อถือก็ขยายผลมากยิ่งขึ้น

3.เสน่ห์ของวัดพระธรรมกายที่มีต่อคนหนุ่มสาว คนหนุ่มสาวทั่วไปในมหาวิทยาลัยล้วนมีนิสัยใฝ่รู้เป็นนักแสวงหา ซึ่งสิ่งที่แสวงหานั้นมีอยู่หลายอย่างชนิดสุดแท้แต่ใครจะแสวงหาอะไร

หนุ่มสาวเป็นจำนวนมากเมื่อเขาคิดถึงศาสนา เขาคิดถึงความสงบเย็นที่ชีวิตจะพึงมีอย่างแท้จริง เขาเบื่อหน่ายศาสนาในฐานะที่เป็นสิ่งปลอบใจชั่วครู่ยามที่ปนเปื้อนด้วยไสยศาสตร์มากกว่าพุทธศาสตร์

ธรรมกายในยุคแรกๆ มีความฝันของคนหนุ่มสาว มีคำตอบที่แตกต่างจากศาสนาในความหมายที่เขาเคยเห็นอย่างเคยชินและซ้ำซาก ธรรมกายในยุคเริ่มต้นได้ทำหน้าที่ตอบสนองความฝันอันเจิดจ้าของคนหนุ่มสาวช่างฝันอย่างแท้จริง

แม้สิ่งดีๆเหล่านี้จะเลอะเลือนไปเพราะอำนาจวัตถุเข้ามากระทบอย่างรุนแรง ชาวธรรมกายก็มักจะพูดด้วยความอหังการเสมอๆว่า วัดพระธรรมกายมีวัตรปฏิบัติที่ดีกว่าวัดอื่นๆอีกมาก และกลายเป็นความอหังการที่นำไปสู่การแตะต้องไม่ได้ ใครมาแตะต้องวิพากษ์วิจารณ์ก็จะถูกตั้งข้อหาว่าเป็นมารศาสนาไปเลย

ปัจจุบันนี้ธรรมกายพยายามนำเสนอภาพคนหนุ่มสาว จำนวนหนึ่งในจำนวนแสนเข้าไปปฏิบัติธรรมในวันสำคัญ แต่พบว่าย่อมแตกต่างจากเดิมไปมากกล่าวคือ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยตามชมรมพุทธต่างๆคงมีไม่มากพอจึงมีข่าวอย่างไม่เป็นทางการออกมาจากชาวบ้านว่า มีการติดต่อกับผู้มีอำนาจในกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเด็กที่อยู่ในสังกัดไปปฏิบัติธรรมที่วัดพระธรรมกายให้ได้มาตามจำนวนที่กำหนดมาเป็นจำนวนเรือนแสน

เมื่อสื่อมวลชนจับข่าวนี้ออกมาเผยแพร่ท่านที่เคยช่วยกันจัดการชักมีอาการกลัวๆกล้าๆ พากันครึ่งรับครึ่งปฏิเสธกันพัลวัน ประเด็นนี้ธรรมกายพยายามปฏิเสธว่าไม่เคยบังคับใครมาแน่นอน ที่สุดไม่เคยเห็นชาวธรรมกายเอาปืนจี้ใครมาวัด แต่การจัดหัวหน้าทีมออกชักชวนโน้มน้าวจนเขาทนไมได้ต้องคล้อยตามก็เป็นการบังคับที่น่ารำคาญชนิดหนึ่งเหมือนกัน

ถ้าธรรมกายมั่นใจว่าศรัทธาแท้ยังมีอยู่มากอย่างเหลือเฟือเฉกเช่นในอดีต ก็ออกมาประกาศให้ชัดลงไปเลยว่าให้ผู้ปฏิบัติธรรมตามศรัทธาไม่ต้องกะเกณฑ์ บอกด้วยว่าใครไปชักชวนจู้จี้ก็อย่าได้เชื่อเขาง่ายๆ ให้มาด้วยศรัทธาล้วนๆ ไม่มีการชักชวนคนกันแบบธุรกิจเครือข่ายอีกต่อไป

4.หาเงินนำหน้าภาวนาตามหลัง แม้ภาพพจน์ของวัดพระธรรมกายจะถูกนำเสนอว่าเป็นสถานที่บำเพ็ญภาวนาระดับแนวหน้าของเมืองไทย แต่ภาวนากลายเป็นสินค้าและที่พักผ่อนชั่วคราวของชาววัด ส่วนงานหลักคือการหาเงินต่อไปดังบันทึกที่ว่า "สำนึกของคนวัดอยู่กับเงินและการแสวงหาเงิน แข่งกับการบอกบุญ แข่งกันระดมให้ทะลุเป้า ส่วนการภาวนาเป็นการพักจิตชาร์จแบตเตอรี่ เพื่อให้กลับมาบอกบุญได้ใหม่อีกสำหรับฤดูกาลบอกกบุญงวดหน้า นี่คือวัฎสงสารของวัดพระธรรมกาย"

(อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้)