ฟ้ายังรํ่าไห้ มติอัปยศ อุ้ม"ไชยบูลย์"ต่อ ไม่สนพระบัญชา พระสังฆราช ที่มีลายพระหัตถ์ ล่าสุดชี้ชัดได้ทำหน้าที่ รักษา ศาสนา ไม่ให้ถูกทำลาย จากอดีตเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย ไม่เข้าประชุม มานั่งรับรู้รับฟังอีกแล้ว องค์กรสงฆ์ ประชุมเกือบ 4 ชั่วโมง ยืนยันต้องใช้กฎนิคหกรรม ถึงกระชากผ้าเหลือง ออกจากร่างได้ กระเตง เข้าเอวไม่แตะ แม้แมวข่วนทั้งที่มีอำนาจ ปลดจากเจ้าอาวาส งานนี้ ลางออกแต่ต้น "ตัวเงิน-ตัวทอง" โผล่ พระพยอม เตือนวิกฤติ ชาวพุทธสุดทนเกือบรุมสหบาทากรมศาสนา อัด "พิภพ" ถูกวัดฉาว หลอก แค่ทำหนังสือ แสดงเจตจำนง ก็แจ้น ไปรายงาน มหาเถรฯ ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย วิ่งหัวซุกหัวซุนหนีหน้า สมช.-กองทัพ-สันติบาลประกาศ จะนำปัญหาเข้าที่ประชุมสภาความมั่นคง ระบุ ลัทธ ิธรรมกาย เข้าข่าย บ่อนทำลายชาติ ปล่อยให้คนในผ้าเหลือง-กรมศาสนาจัดการกันต่อไปไม่ ได้ "อาคม" ย้ำอีกครั้ง ให้กรมศาสนา หาข้อมูล ฟ้องปาราชิกใน 10 วัน ประเมินยืดเยื้อ รัฐบาลมีสิทธิ์พัง

การประชุม มหาเถรสมาคมในวันที่ 10 พ.ค. นี้ ได้รับการจับตาจากชาวพุทธทั่วประเทศ เนื่องจาก จะมีการ พิจารณา ความผิด และการเปลื้องผ้าเหลือง ออกจากร่าง ของนายไชยบูลย์ สุทธิผล อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ที่รู้จักกัน ในนามพระธัมมชโย โดยสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีลายพระหัตถ ์ระบุชัด แล้วว่า เป็นพระปลอม เป็นคนเอาผ้าเหลืองมาห่ม ขาดจากความเป็นพระไปแล้ว เนื่องจากการลักทรัพย์ นำเงินบริจาค ไปซื้อที่ดิน เป็นของตัวเอง ซึ่งขั้นตอนต่อไปก็คือขั้นตอนการเปลื้องผ้าเหลืองโดยมหาเถรสมาคมฯ

พระสังฆราชไม่เข้าประชุม

อย่างไร ก็ตาม การประชุมวันน ี้สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ไม่ทรง เข้าร่วมการ ประชุม มหาเถรสมาคมด้วย โดยได้มีลายพระหัตถ์ ฉบับล่าสุด ชี้แจงอย่างชัดเจนว่า ได้ทำหน้าท ี่เกี่ยวกับเรื่อง อดีต เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายแล้ว จะไม่มานั่งรับรู้รับฟังด้วย

สำหรับรายละเอียด ของลายพระหัตถ์ฉบับดังกล่าวก็คือ "ได้แจ้งให้เป็นที่เข้าใจดีทั่วกันแล้วก่อนหน้านี้ ว่าในตำแหน่ง ผู้เป็นสมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ทำหน้าท ี่เกี่ยวกับเรื่องอดีตเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย เพื่อเทิดทูน รักษาพระพุทธศาสนาให้พ้นถูกทำลาย สมบูรณ์ดีที่สุด แล้วตามอำนาจ

ท่านกรรมการ มหาเถรสมาคมทั้งหลาย จะทำอะไรต่อไปตามความต้องการ จะไม่มานั่งรับรู้รับฟังในที่ประชุมวันนี้ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2542"

จากนั้น ได้มีการลงพระนาม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2542

ทางด้าน ม.ล.จิตติ นพวงศ์ ศิษย์สมเด็จพระสังฆราช หรือรู้จักกันดีในนามศิษย์ห้องกระจก กล่าวว่า ที่สมเด็จพระสังฆราช ไม่เข้าร่วมประชุม เพราะถือ ทรงทำหน้าที่ ในฐานะพระประมุขสงฆ ์เรียบร้อยแล้ว โดยได้ทรงมี ลายพระหัตถ์ หลายฉบับให้กรรมการมหาเถรฯ นำไปพิจารณา จึงไม่ประสงค์ เข้าไป มีพระดำรัสใด ๆ อีก อย่างไรก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นการกดดันกรรมการมหาเถรฯ โดยได้ทรงรับสั่ง ให้พระเลขาฯ ร่างหนังสือ เพื่อแจ้ง การไม่เข้าประชุม ตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว

ล่ารายชื่อไล่ "ไชยบูลย์" พ้นพระ

สำหรับ บรรยากาศ ในวันสำคัญครั้งนี้ เริ่มที่วัดบวรฯ โดยเมื่อเวลา 08.00 น. สมเด็จพระสังฆราช ทรงประทับอย ู่ในพระตำหนัก ตามการถวาย คำแนะนำ ของคณะแพทย์ผู้ถวายการรักษา โดยสำนักเลขานุการฯ ได้นำสมุดเยี่ยม พระอาการ มาตั้งไว้ที่หน้าพระตำหนัก เพื่อให้ประชาชน ได้ลงนามถวายพระพร ซึ่งก็มีพุทธศาสนิก ชน ทยอยมาร่วมลงนาม ถวายพระพร และเยี่ยมพระอาการอย่างต่อเนื่อง กระทั่งเวลา 09.00 น. น.พ.สงคราม ทรัพย์เจริญ แพทย์ประจำพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เดินทางมาถวายการตรวจพระอาการ ซึ่งใช้เวลา กว่า 45 นาที จากนั้น ได้เปิดเผยว่า พระอาการขณะนี้ดีขึ้นแล้ว ส่วนจะทรงเสด็จ มาเป็นองค์ประธาน การประชุมมหาเถรสมาคมหรือไม่นั้น คงต้องแล้วแต ่พระองค ์จะทรงพิจารณา ด้วยพระองค์เอง

ส่วนที่หน้า ตำหนักเพชร ก่อนหน้าที่จะมีการประชุมมหาเถรฯ จะเริ่มขึ้น ได้มีกลุ่ม คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา (ศ.พ.พ.) จำนวน 20 คน เดินทาง มารวมกลุ่มกันเพื่อล่ารายชื่อ พุทธศาสนิกชน ประกาศไม่ยอมรับความเป็นพระ ของนายไชยบูลย์ โดยได้มีการนำแผ่นป้ายผ้าขนาดใหญ่ 4 ผืน มาติดบริเวณ ด้านหน้าตำหนักเพชร โดยแผ่นป้ายผ้าเหล่านี้มีใจความเช่น "หน้าด้านอยู่ทำไม ไปลงนรกสิจ๊ะ" หรือ "ธรรมกาย ชั่วร้ายที่สุด อยากลงนรก ต้องปกป้อง ธรรมกาย" และ"คบคนชั่วเป็นมิตร ต้องทำผิดชั่วทั้งชาติ"

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่มารักษาการณ์อยู่บริเวณดังกล่าว ได้ขอให้ กลุ่มที่ติดป้ายผ้านั้น ปลดป้ายออก และให้ไปติดนอกบริเวณ ซึ่งทางกลุ่มดังกล่าว ก็ได้นำแผ่นป้ายผ้า ไปติดไว้ที่หน้าวัดแทน รวมทั้ง มีการตั้งโต๊ะ แจกใบปลิว และร่วมลงชื่อในการขับ "ไชยบูลย์" ออกจาก พระพุทธศาสนาด้วย

พระหลานหลวงพ่อสดมาด้วย

ในช่วงเช้า วันเดียวกันน ี้ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งเดินทางมาที่วัดบวรฯ โดยระบุว่ามาเพื่อให้กำลังใจสมเด็จพระสังฆราช จากการ สอบถาม พระรูปดังกล่าว ทราบว่า ชื่อหลวงปู่จำเนียร อายุ 103 ปี และอ้างว่า เป็นหลานชาย ของหลวงพ่อสด จันทสโร เกจิดังต้นแบบวิชชาธรรมกาย ทั้งนี้ หลวงปู่จำเนียร กล่าวว่า เดินทางมาไกลจาก จ.สุพรรณบุรี เพื่องานนี้โดยเฉพาะ ส่วนกรณ ีที่วัดพระธรรมกายมักจะนำชื่อหลวงพ่อสด มาแอบอ้าง แสดงปาฏิหาริย์นั้น อาตมา เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ หลวงพ่อสด ตายไปแล้วจะมาได้อย่างไร

"พูดสุนัข ๆ พวกที่เชื่อ มันงมงาย มันโง่ คนมันบ้าแบบไหนก็เป็นแบบนั้น พวกที่เชื่อเรียกว่าเป็นพวกลูกหมา อยากจะรู้ว่า เป็นลูกศิษย์สมัยไหน รู้ที่มาท่าน หรือเปล่าว่า ท่านเป็นใครมาจากไหน จริง ๆ แล้ว หลวงพ่อสด กับโยมแม่อาตมา อพยพกันมาจากประเทศลาว หลวงพ่อสดมีศักดิ์เป็นอา"

หลวงปู่จำเนียร กล่าวด้วยว่า เรื่องที่ดินนั้น ก็ไม่รู้ว่าทำไมเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายถึงได้มีมากมายขนาดนั้น ทั้ง ๆ ที่หลวงพ่อสดเอง ยังไม่มีที่ดินเป็นของตนเองเลย แม้แต่ไร่เดียว

คุ้มกันแน่นหนาใช้ ตร. กว่าร้อย

ในด้าน การรักษาความปลอดภัย บริเวณหน้าตำหนักเพชรนั้นก่อนการประชุมเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ชนะสงครามในเครื่องแบบจำนวน 25 นาย นอกเครื่องแบบราว 12 นาย เจ้าหน้าที่ตำรวจ จากกองบังคับการ สืบสวนสอบสวนนครบาล 1 จำนวน 10 นาย เจ้าหน้าที่ จากศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาต ิ(ศรภ.) 15 นาย ได้ร่วมกัน ตรึงกำลังที่บริเวณหน้าวัด และบริเวณตำหนักเพชร นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากกองพลาธิการ ที่เตรียม ไว้กู้ระเบิดอีกจำนวน 4 นาย เข้ามาตรวจสอบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีวัตถุระเบิด

เวลา 12.00 น. พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พร้อมด้วยพล.ต.ต.คงเดช ชูศรี ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ได้เดินทาง มาตรวจ ความเรียบร้อย ที่บริเวณตำหนักเพชร และโดยรอบวัด บวรนิเวศฯ และกำชับให้เจ้าหน้าที่ดูแลอย่างเข้มงวด จากนั้นพล.ต.ต.คงเดชเปิดเผยว่า ให้ตำรวจสน.ชนะสงครามฯประสานงานกับเจ้าหน้าที่ ศรภ. อย่างเต็มท ี่ในการรักษาความปลอดภัย ป้องกันเหตุร้าย และอย่าทำให ้ประชาชนตื่นตระหนก อย่างไรก็ตาม เท่าที่ตรวจสอบเชื่อว่า จะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ต่อข้อถาม ที่ว่าหากมหาเถรฯ มีมติให้สึกจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป ผบก.น. 1 กล่าวว่า ก็ต้องส่งมอบ มติมหาเถรฯ ให้กรมการศาสนา และทางกรมการศาสนา ก็ต้องไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้ดำเนินการ ถ้าทางวัด ไม่ยอมทางตำรวจก็ต้องจับกุมในข้อหาแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่มารักษา ความปลอดภัยนั้น ได้มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากหน่วยปราบจลาจลมาเสริมอีกจำนวน 3 กองร้อย เพื่อเตรียมรับ สถานการณ์หากเกิดความวุ่นวาย

ผู้สื่อข่าว รายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 12.40 น. นายวีรศักดิ์ สุนทรจามร กับพรรคพวกรวม 5 คน ซึ่งอ้างตัวว่า เป็นกลุ่ม พุทธศาสนิกชนไทย ได้เดินทาง มารวมตัว ที่บริเวณหน้าหอสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และได้ใช ้เครื่องขยายเสียง ประกาศเรียกร้อง ให้ประชาชน ที่เดินทางผ่านไปมาร่วมกันลงชื่อ สนับสนุนให้มหาเถรฯ ดำเนินการ กับวัดพระธรรมกาย ตามลายพระหัตถ์ ของสมเด็จพระสังฆราช แต่ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้าไปห้ามปราม และขอร้องไม่ให้มีการใช้เครื่องขยายเสียง สร้างความไม่พอใจ ให้แก่นายวีรศักด ิ์และกลุ่มเป็นอย่างมาก

ลูกเสือชาวบ้านหนุนฟัน

ต่อมาเวลา 13.00 น. บรรยากาศ หน้าตำหนักเพชรเริ่มตึงเครียดและคับแคบลงไปมาก เมื่อบรรดา พุทธศาสนิกชน และสื่อมวลชน เดินทางมา เพื่อทำหน้าที่ของแต่ละฝ่าย กระทั่งต้องมีการประกาศ ผ่านเครื่องขยายเสียง ขอร้องให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดออกไปจากบริเวณหน้าตำหนักเพชร พร้อมทั้ง ได้นำแผงเหล็ก มาปิดกั้น ไม่ให้ประชาชน ผ่านเข้ามา และได้มีการ ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ชนะสงครามกว่า 70 นาย ตำรวจ นอกเครื่องแบบ 25 นาย เจ้าหน้าที่ ศรภ. อีก 25 นาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก กก.สส.น. 1 อีก 10 นาย มาเสริมกำลัง เนื่องจาก มีข่าวลือว่า ลูกศิษย์ วัดพระธรรมกาย กำลังนำ กำลังเจ้าหน้าที่ เดินทางมาชุมนุมกดดัน ที่หน้าตำหนักเพชร

ในเวลา 13.30 น. ปรากฏว่าได้ม ีกลุ่มลูกเสือชาวบ้านจากจังหวัดชลบุรีจำนวนกว่า 700 คน เดินทางมา ที่บริเวณหน้าวัด ถือพระบรมสาทิสลักษณ ์ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ รวมทั้ง ของสมเด็จพระสังฆราชนำหน้าก่อนจะแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่า มายื่นหนังสือ ถวายพระพร สมเด็จพระสังฆราช ให้ทรงมีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงหายจากพระอาการประชวร นอกจากนี้นางสิริวรรณ วัชรเฉลิม แกนนำ ลูกเสือชาวบ้านได้กล่าวว่า จะรอฟังมติของมหาเถรฯ จนถึงที่สุด หากผลที่ออกมา ไม่มีความชัดเจน ตามลายพระหัตถ ์ของสมเด็จพระสังฆราช จะเดินทางกลับไปบ้าน เพื่อรวบรวม ประชาชนมาชุมนุม เคลื่อนไหวอีกครั้งในวันที่ 11 พ.ค. เพื่อให้มีการดำเนินการ ตามพระวินิจฉัย ของสมเด็จพระสังฆราชให้ได้

"ตัวเงิน-ตัวทอง" โผล่

การประชุม ในครั้งน ี้มีผู้บริหารระดับสูงของกรมการศาสนาเข้าร่วมหลายคน นำโดยนายพิภพ กาญจนะ อธิบดีกรมการศาสนา, นายสำรวย สารัตถ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเลขาธิการ มหาเถรสมาคม, นายอำนาจ บัวศิริ ผู้อำนวยการ สำนักงานพุทธมณฑล ซึ่งหลังจาก ผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าสู่ที่ประชุมครบแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ปิดประตูตำหนักเพชร และมีกำลังเจ้าหน้าที่ 20 นาย คอยเฝ้ารักษาการณ์

นอกจากนั้นใ นระหว่างที่นายสำรวย มาถึงที่ประชุมเป็นคนแรกนั้น ปรากฏว่าได้มี "ตัวเงินตัวทอง" ซึ่งอยู่ในคลอง ข้างตำหนักเพชร ขึ้นมานอนอาบแดด สร้างความฮือฮา ให้กับประชาชน ที่ไปรอฟังมติมหาเถรฯ เป็นอย่างมาก และต่างวิพากษ์ วิจารณ์กันว่าการประชุมมหาเถรฯ ครั้งนี้ ต้องมีอะไร พิเศษแน่นอน เพราะที่ผ่านมา ไม่เคยออกมา ปรากฏตัวให้เห็นมาก่อน

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ได้มีผู้แจกจ่ายใบปลิวแสดงความคิดเห็นกรณีปัญหาวัดพระธรรมกายหลายกลุ่ม มีทั้งที่สนับสนุน วัดพระธรรมกายและโจมตี โดยใบปลิว สนับสนุนฉบับหนึ่งระบุว่า การลงโทษ พระภิกษุว่า ต้องปาราชิกฐาน ฉ้อโกงนั้น ควรให้ศาลพิพากษาว่ามีความผิดฐานฉ้อโกงเสียก่อน ถ้าศาล ยังไม่พิพากษา ก็ยังถือว่าผู้นั้นบริสุทธิ์ แต่ขณะเดียวกัน ก็มีหลายกลุ่มออกใบปลิว เรียกร้องให้มหาเถรฯ พิจารณา กรณีปัญหา วัดพระธรรมกาย แล้วมีมติ ให้เป็นไปตามลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระสังฆราช เพื่อเป็นการรักษาไว้ ซึ่งพระพุทธศาสนา

บรรดาสาวก ของวัดพระธรรมกายเดินทางมาสังเกตการณ์ด้วย โดยนำเอากล้องวิดีโอมาถ่ายภาพกลุ่มผู้สื่อข่าว รวมทั้ง ผู้ที่ชุมนุม สนับสนุนลาย พระหัตถ์ของ สมเด็จพระสังฆราชไว้ นอกจากนี้ ก็มีชายวัยประมาณ 40 กว่าปีผู้หนึ่ง แต่งกายด้วยชุดขาว พยายาม จะเดินเข้าไปใน สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช แต่ถูกเจ้าหน้าที่อาสาสมัครวัดบวรฯห้ามเอาไว้ ชายคนดังกล่าว จึงประกาศว่า คนที่มาชุมนุมกัน ที่นี่ต่างมายั่วยุ ทั้งที่คนของวัดพระธรรมกายหยุดแล้ว จากนั้นก็ได้เดินหนีไป อย่างไรก็ตาม บรรดาสาวก ของวัดพระธรรมกายเหล่านี้ ได้ถูก เจ้าหน้าที่ตำรวจ นอกเครื่องแบบ ตามประกบ อยู่ตลอด เนื่องจากเกรงว่าจะเข้ามาก่อเหตุร้าย

กรรมการ มส.เข้าประชุม 15 รูป

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า เวลา 13.40 น. พระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นกรรมการ มหาเถรสมาคมได้ทยอย เดินทาง มาถึงที่ประชุมตำหนักเพชร วัดบวรฯ รวม 15 รูป โดยเป็น ฝ่ายธรรมยุต 6 รูป และฝ่าย มหานิกาย 9 รูป

สำหรับ ฝ่ายมหานิกาย 5 รูปแรกปรากฏข่าวมีความสัมพันธ์อันดีกับวัดพระธรรมกาย ได้แก่ พระพรหมโมลี วัดยานนาวา, พระธรรมวโรดม วัดเบญจมบพิตรฯ, พระพรหมจริยาจารย์ วัดเบญจมบพิตรฯ, พระธรรมกิตติวงศ์ วัดราชโอรสาราม และเคยเป็นที่ปรึกษาวัดพระธรรมกายและสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ส่วนอีก 4 รูป ได้แก่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม, พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศน์เทพวราราม,พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุฯ, สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม

ส่วนสายธรรมยุต 6 รูป ได้แก่ พระสุธรรมาธิบดี วัดราชาธิวาส, พระธรรมปัญญาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม, พระธรรมกวี วัดบวรนิเวศฯ เข้าประชุมแทน พระญาณวโรดม วัดเทพศิรินทรา วาส, พระธรรมเมธาภรณ์ วัดราชบพิตรฯ, พระอุดมญาณโมลี วัดสัมพันธวงศ์, และสมเด็จพระวันรัต วัดเทพศิรินทราวาส

กรรมการ มหาเถรฯ ที่ไม่ได ้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วย สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์นายไชยบูลย์ ได้เดินทาง ไปต่างประเทศ, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชประดิษฐฯ, สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิตร ซึ่งอาพาธและสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ก็ไม่ได้ทรงเข้าร่วม ประชุมในฐานะ ประธานในการประชุมด้วย

สมเด็จวัดสระเกศเลี่ยงประธาน

ที่ประชุมมหาเถรฯ ได้มีมติ มอบหมายให้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม เป็นประธาน ในที่ประชุม แทนสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งที่ผ่านมา ตามหลักอาวุโสแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ที่มีอาวุโสสูงสุด ฝ่ายมหานิกาย จะต้องทำหน้าที่นี้แทนทุกครั้ง โดยเริ่มประชุมเวลา 14.00 น.

ระหว่างที่ มหาเถรฯ ได้ประชุมพิจารณาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาวัดพระธรรมกายนั้น ปรากฏว่า กลุ่มพุทธศาสนิกชน ที่ยกขบวนกันมาหลายกลุ่ม เพื่อแสดงพลัง กดดันมหาเถรฯ โดยยึดถนน หน้าวัดบวรนิเวศฯ เปิดเป็นเวทีไฮด์ปาร์ก โจมตีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ และวัดพระธรรมกายด้วยถ้อยคำที่รุนแรง ประชาชน ที่ผ่านไปมา ก็ให้ความสนใจ เป็นจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่า ในกลุ่มพุทธศาสนิกชน ที่เดินทางมาร่วมฟัง ผลการ ประชุมของมหาเถรฯ นั้นมีช่างภาพ และช่างกล้องวิดีโอ ของวัดพระธรรมกายแทรกตัว เข้ามาปะปนอยู่ด้วย และมีการบันทึกภาพ เหตุการณ ์อย่างต่อเนื่อง โดยตลอด แต่ตำรวจ ก็ส่งสายสืบตามประกบ และดูความเคลื่อนไหวโดยตลอด

กระทั่งเวลา 16.00 น. ฝนเริ่มโปรยปรายลงมาอย่างหนัก ขณะที่การประชุมมหาเถรฯ ยังไม่มีวี่แวว จะยุติทั้งที่เวลา ผ่านไปกว่า 2 ชั่วโมงแล้ว บรรยากาศ บริเวณหน้าตำหนักเพชร เริ่มวุ่นวาย เพราะเป็นที่โล่ง ไม่มีที่กำบัง อย่างไรก็ตาม เวลา 17.45 น. การประชุม วาระสำคัญ ที่ชาวพุทธทั่วประเทศ จับตาก็ยุติลง โดยเจ้าหน้าที่ ตำรวจกว่า 30 นาย ต้องจัดแถว กันเส้นทางให้รถของพระเถระ ที่เดินทางมาร่วมประชุมได้ทยอยกันกลับ

จากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงเปิดประตูตำหนักเพชร ให้บรรดาผู้สื่อข่าว และพุทธศาสนิกชน ที่เฝ้ารออยู่ได้เข้ามาภายในบริเวณ ทันใดนั้น สถานการณ์เริ่มวุ่นวายขึ้นทันที เพราะทั้งผู้สื่อข่าว และประชาชน ต่างแย่งกัน กรูเข้ามาบริเวณหน้าตำหนักเพชรจนเบียดเสียดยัดเยียดกัน ขณะที่สายฝน เริ่มตกหนักขึ้นเรื่อย ๆ แต่อธิบดีกรมศาสนา และคณะกลับยืนหลบฝน อยู่ที่ระเบียงหน้าตำแหน่งเพชร และปล่อยให้ทั้งผู้สื่อข่าว และประชาชน ตากฝนรออยู่ข้างล่าง แม้จะมีความพยายามประสานงานให้เปลี่ยนแปลงสถานที่แถลงข่าว แต่คณะ ของอธิบดี กรมการศาสนาก็ไม่สนใจ คว้าโทรโข่ง ขึ้นแถลงข่าว ท่ามกลางเสียงก่นด่า ของประชาชนที่มารอผลการประชุม

อธิบดีแถลง "อุ้ม" ไชยบูลย์

นายพิภพ กาญจนะ อธิบดีกรมการศาสนา แถลงว่า มหาเถรฯ มีมติเกี่ยวกับกรณีวัดพระธรรมกายด้วยกัน 2 เรื่อง คือ 1. เรื่องการโอนที่ดิน ที่ประชุม ลงมติรับทราบ ตามที่อธิบดีกรมการศาสนา ร่วมกับเจ้าคณะภาค 1 เกี่ยวกับโอนที่ดิน ทั้งหมด ให้เป็นของวัดพระธรรมกาย ตามหนังสือ แสดงเจตจำนง ของเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย และให้เจ้าคณะภาค 1 รายงานผล ให้มหาเถรฯ รับทราบโดยผ่านเจ้าคณะใหญ่หนกลาง ส่วนกรณีอื่น ให้กรมการศาสนาติดตาม เพื่อให้เกิดผลทางการปฏิบัติต่อไป

เกี่ยวกับพระดำริ ที่สมเด็จพระสังฆราชประทานมาทั้งหมด มหาเถรฯ มีมติ สนองพระดำริโดยลำดับ แต่ให้ชอบด้วยกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม เมื่อกล่าวถึงตอนน ี้ประชาชน ที่เฝ้ารออยู่ ต่างปรบมือ แสดงความยินดี แต่อธิบดีกรมศาสนากลับหยุดดื้อ ๆ ไม่เปิดโอกาส ให้ผู้สื่อข่าวซักถาม โดยบอกว่า ตนขอพูดเพียงเท่านี้ สร้างความไม่พอใจ ให้กับประชาชน ที่ยืนรออยู่ด้านล่างมาก จึงมีประชาชน รายหนึ่งตะโกน สวนขึ้นมาอย่างมีอารมณ์ว่า "สึกมั้ย..ตอบมาเลยว่าสึกไม่สึก" บรรยากาศการแถลงข่าวเริ่มทวีความเครียดไปอีก เพราะประชาชน ต่างพากัน ตะโกนถามอธิบดี ว่าสึกหรือไม่สึก

ถึงตอนนี้ อธิบดีกรมการศาสนา เริ่มมีสีหน้าเคร่งเครียดขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดได้ดึงแขนนายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ รองอธิบดีกรมการศาสนา ให้แถลงต่อ ซึ่งนายสุทธิวงศ์กล่าวว่า การสึกเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายนั้น จะต้องเป็นไป ตามกฎมหาเถรฯ ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ซึ่งจะต้องมีผู้ฟ้องร้อง และมีผู้พิจารณาตามกฎ

ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีนี้ใครสมควรจะเป็นผู้ฟ้องร้องได้ รองอธิบดีกรมการศาสนากล่าวว่า คือผู้ที่เสียหาย ใครเสียหายก็ฟ้องร้องขึ้นมา ส่วนจะใช้เวลา นานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับกระบวนการพิจารณา ทางคณะสงฆ์ ต่อกรณี ที่สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีลายพระหัตถ์ฉบับล่าสุด ระบุชัดว่านายไชยบูลย ป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายแล้ว นายสุทธิวงศ์กล่าวว่า เรื่องนี้ ไม่ได้มีการพิจารณาในที่ประชุม สรุปแล้วว่า เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ยังไม่ได้สึก

ด้านนายอำนวจ บัวศิริ ผู้อำนวยการพุทธมณฑล กล่าวว่า พระดำริเป็นต้นเหตุการพิจารณาว่าปาราชิกหรือไม่ ซึ่งมหาเถรฯ ขอทำตามขั้นตอน กระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนการฟ้อง นิคหกรรม จะต้องมีการฟ้องร้องกัน ตามลำดับ เริ่มตั้งแต่เจ้าคณะตำบล ถ้ามีการฟ้องร้อง เจ้าคณะตำบล ก็ต้องรับคำฟ้อง หากผู้เสียหายมีหลักฐาน แต่ขณะนี้ ยืนยันว่าเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย ยังไม่ปาราชิกอย่างแน่นอน จนกว่า

จะมีการ พิจารณาของศาล นายพิภพยังกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าให้ไปเจอกันที่กรมและจะแถลงรายละเอียดให้ทราบ ปรากฏว่า เมื่อนักข่าว กลับไปถึงกรม ก็ไม่มีการแถลง โดยนายพิภพ โทรศัพท์มาสั่งให้เจ้าหน้าที่ปิดห้อง และกลับบ้านกันให้หมด

หมดน้ำยาปกครองสงฆ์

ผลการประชุมครั้งนี้ ทำให้มีการมองว่า มหาเถรฯ อุ้มนายไชยบูลย์ เพราะอย่างน้อยสุดมหาเถรฯ น่าจะปลด นายไชยบูลย์ จากเจ้าอาวาสวัด หรือมหาเถรฯ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเอง

ทางด้าน พระพิศาลธรรมวาที (พระพยอม กัลยาโณ) ประธานมูลนิธิวัดสวนแก้ว เปิดเผยถึงมติมหาเถรฯ ที่มีออกมาว่า จะสร้างความวุ่นวาย ให้แก่สังคมไทยไม่ใช่น้อย และสร้างความอึดอัดใจ ให้กับประชาชนด้วย เนื่องจาก มติดังกล่าว ทำให้ดูเหมือนว่า ลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระสังฆราช ไม่มีความหมาย เป็นอักษร ในกระดาษแผ่นหนึ่งเท่านั้น และจะทำให้ "นายไชยบูลย์" เหิมเกริมมากขึ้น อย่างไรก็ดี หลังจากนี้ไป คงต้องถามไปยังมหาเถรฯ ว่าต่อไป จะปกครองสงฆ์ได้อย่างไร ในเมื่อสมเด็จพระสังฆราชทรงวินิจฉัยออกแล้ว แต่มหาเถรฯ กลับ ไม่ได้ดำเนินการตาม

"อาตมานึกแล้ว ว่ามติมหาเถรฯ ต้องออกมาเช่นนี้ จะเห็นว่าลายพระหัตถ์ มติมหาเถรฯ และถ้อยแถลง ของกรมการศาสนานั้น ไม่ได้สอดคล้องกันเลย ไปคนละทิศละทาง ต่อจากนี้ก็คิดเพียงว่า พระธัมมชโยนั้นสิ้นไปแล้ว เหลือแต่นายไชยบูลย์ ที่จะต้องร่วมทุกข์ร่วมโศกในโลกนี้กันต่อไป แต่ก็ยังเชื่อว่า ประชาชน จะยังให้ความเคารพ ในองค์สมเด็จพระสังฆราช อยู่เช่นเดิม"

พระราชกวี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย กล่าวว่า การที่สมเด็จพระสังฆราช ทรงไม่เข้าร่วมประชุม โดยระบุว่าอยากให้มหาเถรฯ พิจารณา เรื่องธรรมกายอย่างเต็มที่ และทรงใช้คำเรียก นายไชบูลย์ว่า อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายนั้น พระองค์ ได้ทรงแสดงจุดยืนที่ชัดเจนแล้ว และทรงเสียสละ ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยไม่ทรงคำนึงถึงว่าอะไรจะเกิดขึ้น ทรงทำหน้าที่ องค์พระประมุขสงฆ์ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ในการดูแล ปกป้องพระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่าพระองค์ยอมรับไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ไม่จำเป็น ต้องวินิจฉัยอีกต่อไป เพราะการวินิจฉัย ที่ผ่านมานั้น ถือว่าถึงที่สุดแล้ว การดำเนินการต่อไปคือกรรมการมหาเถรฯ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ อะไรจะเกิดขึ้น ดีหรือไม่ดีก็เป็นหน้าที่ของกรรมการเถรสมาคม ที่เป็นการ วัดใจกัน

"ไชยบูลย์" แหกตา "พิภพ"

นายพีรพันธ์ สารีรัฐวิภาค ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ให้ความเห็นถึงกรณีหนังสือแสดงเจตนาของนายไชยบูลย์ ที่อ้างเจตนา จะโอนที่ดิน ให้วัดพระธรรมกายว่า หนังสือแสดงเจตนาน ี้ยังไม่มีผล ทางกฎหมาย เป็นได้เพียงการบอกว่า จะหรือจะโอน แสดงว่าจะไป แต่จะไปหรือไม่ไป หรือไปเมื่อไรไม่มีการระบุชัด ไม่สามารถ นำมาใช้อ้างอิง เป็นคดีความฟ้องร้องต่อศาลได้ ซึ่งถ้าจะมีผล หนังสือแสดงเจตนาฉบับนี้ เป็นหนังสือแสดงเจตนา หลอกลวง ประชาชน เพราะไม่มีผลใด ๆ ทางกฎหมายเลย แต่ต้องการลดกระแสสังคม

"ลักษณะเช่นน ี้เป็นเรื่องของเด็กเล่นขายของ หรือไม่ก็เป็นเรื่องของเด็กเลี้ยงแกะ ไม่เข้าใจเลยว่านายพิภพ กาญจนะ เป็นถึง อธิบดีกรมการศาสนา ไปโดนหลอกได้อย่างไร หนังสือฉบับนี้ ไม่มีผลทางกฎหมาย แม้แต่จะฟ้องร้อง ต่อศาลก็ยังไม่ได้ เพราะใครจะเป็นคนฟ้อง เพราะคนที่เสียหาย ในเรื่องนี้โดยตรง คือวัดพระธรรมกาย คนที่มีอำนาจ ทำการแทนวัดก็คือเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย และเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายก็เป็นคน ๆ เดียวกับคนทำหนังสือ แสดงเจตนา ฉบับปัญหานี้ขึ้นมา ตอนนี้ต้องถามว่าใครจะเป็นคนฟ้องคดี กรมการศาสนา ฟ้องร้องไม่ได้ในเรื่องนี้"

ส่วนนายนพดล ปัทมะ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า หนังสือที่แสดงเจตนา ยังไม่ถือว่าเป็นการโอน ถ้าเป็นการโอน ต้องโอน ที่สำนักงานที่ดิน ถ้าจะนำไปอ้างอิง เพื่อขอโอน ตามที่แสดงเจตนานั้น ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะหนังสือแสดงเจตนาไม่มีผลทางกฎหมาย เท่ากับว่า กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ยังเป็นของเจ้าอาวาสวัดอยู่เหมือนเดิม จนกว่า จะมีการโอนตามกฎหมาย กรณีที่จะใช้หนังสือ แสดงเจตนา ฟ้องร้องต่อศาล คงนำมาใช้กับกรณีนี้ไม่ได้ ซึ่งผู้ที่จะนำเรื่องนี้ฟ้องร้องดำเนินคดีได้นั้น ก็ต้องเป็น วัดพระธรรมกาย และผู้ที่มีความประสงค์มอบที่ดินให้วัด แต่เจ้าอาวาส วัดกลับนำไปถือครองเอง หรือกรณี ที่มีการนำเงินของวัด ไปจัดซื้อที่ดินมาเป็นชื่อของเจ้าอาวาส โดยในสองส่วนหลัง มีผลทางกฎหมายว่าด้วยเรื่องของ การ ยักยอกทรัพย์สินได้

พระปลอมหลอก มส.ตกนรกแน่

ด้านพระมหาบุญถึง ชุตินฺธโร ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย กล่าวว่า หากหนังสือ แสดงเจตนา จะโอนที่ดินให้วัด ไม่มีผลบังคับด้านกฎหมาย ต้องมาดูด้วยว่า นายไชยบูลย์ มีเจตนา ตามที่ได้ระบุไว้ ในหนังสือหรือไม่ ถ้ามีการโอนจริงก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ถ้าไม่ยอมโอน เท่ากับเป็นการแสดงให้เห็นได้ว่า อดีตเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย จงใจหลอกลวง ไม่ใช่แต่เฉพาะประชาชนเท่านั้น แต่หลอกมหาเถรฯ ด้วย ซึ่งก็เท่ากับ หลอกสมเด็จพระสังฆราชอีกด้วย ถ้าจะให้พูดว่าการหลอกมหาเถรฯมีความผิดขั้นไหน ตอนนี้ไม่รู้ว่า จะให้รับโทษ ทางไหนได้อีกแล้ว ที่ผ่านมา ก็ขาดจากความเป็นพระไปก่อนหน้านี้แล้ว จะให้ขาดแล้วขาดอีกหรือ

"มีเรื่องเล่ากันว่า มหาโจรหลังจากทำความผิดครั้งแรก ได้ยอมรับว่ากว่าจะกระทำความผิดลงไปยังมีการคิดก่อน คือไม่กล้าลงมือทำ ในทันทีทันใด เมื่อมีเหตุให้ ต้องกระทำความผิดซ้ำสอง ก็จะลงมือทำได้รวดเร็ว กว่าครั้งแรก แล้วครั้งต่อไป ก็จะสามารถลงมือทำความผิดได้อย่างไม่เคอะเขิน อาจมีสาเหต ุให้คิดได้ว่าไหนก็ต้องตกนรกแล้ว หากทำผิดอีก ก็ยังต้องตกนรกวันยังค่ำ"

สรุปแถลงข่าวเป็นทางการ

สำหรับเอกสาร แถลงข่าวอย่างเป็นทางการ คือที่ประชุมมหาเถรฯ รับทราบตามที่อธิบดีกรมการศาสนา ร่วมกับเจ้าคณะภาค 1 เกี่ยวกับการโอน ที่ดินทั้งหมด เป็นของวัดพระธรรมกาย ตามหนังสือ แสดงเจตนา มอบที่ดิน ของเจ้าอาวาส และให้เจ้าคณะภาค 1 รายงานมหาเถรฯ โดยผ่าน เจ้าคณะใหญ่หนกลาง อีกครั้ง ส่วนกรณีอื่น ๆ ให้กรมศาสนา ร่วมกับเจ้าคณะภาค 1 ติดตาม เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป ที่ประชุมมหาเถรฯ ยังรับรอง มติคำแนะนำ การถือกรรมสิทธิ์และการถือครองที่ดินของวัด โดยกรณีที่มีผู้บริจาคที่ดินให้วัด ถ้าเป็นโฉนดหรือ นส. 3 ก. ให้เจ้าอาวาส ยื่นคำขอ รับโอนกรรมสิทธิ์เป็นของวัด ถ้าเป็น ส.ค. 1 ให้ทำบันทึกหลักฐานการให้ไว้ในเอกสาร และให้วัด เข้าครองครองทำประโยชน์

เจ้าอาวาส พระในวัด สามเณร หรือบุคคลอื่นใด ต้องไม่ถือกรรมสิทธิ์ หรือถือครองที่ดิน ที่มีผู้บริจาคให้แก่วัด หรือซื้อมาโดยเงินของวัดในฐานะส่วนตัว เพื่อจดทะเบียน ให้วัดในภายหลัง โดยเจ้าอาวาส ในฐานพระสังฆาธิการ หากไม่โอน กรรมสิทธิ์ให้วัด หรือให้พระ เณร บุคคลอื่น ถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินไว้แทนวัด มีความผิด ตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 157 ในฐานะ เจ้าพนักงานปฏิบัต ิหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือหาก เจ้าอาวาส นำเงินวัด ไปซื้อทีดิ่นโดยเจตนาเป็นของตนหรือของบุคคลอื่นถือเป็นการเบียดบังทรัพย์สินวัด มีความผิด ฐานยักยอกทรัพย์สินวัด ตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 147 ส่วนพระ สามเณร ถ้านำเงินวัดไปซื้อที่ดิน มีความผิดฐาน ยักยอกทรัพย์สินวัด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352

"อาคม"เก็บข้อมูล 10 วันฟ้องสึก

นายอาคม เอ่งฉ้วน รมช.ศึกษาธิการแถลงข่าว ที่กระทรวง หลังจากที่ได้รับทราบ มติกรณีวัดพระธรรมกายว่า ตนสั่งการ ให้นายพิภพ รับไปดำเนินการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรฯ โดยฟ้องร้อง พระไชยบูลย์ ให้นำกฎนิคหกรรมดำเนินการกับธัมมชโย โดยให้แจ้ง เพื่อรวบรวม ข้อร้องเรียน เกี่ยวกับความผิด ทางวินัยสงฆ์ รวมกับข้อมูล ที่กรมการศาสนา รวบรวมไว้ ให้เวลาผู้ร้องเรียน กล่าวโทษไม่เกิน 10 วัน นับตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค. เป็นต้นไป หากไม่มีใครนำหลักฐานมาให้ก็ให้กรมการศาสนาเป็นผู้ฟ้องร้องเอง เริ่มที่เจ้าคณะตำบล

ส่วนการปฏิบัติตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ที่ผ่านมา เรื่องการโอนที่ดินให้รีบดำเนินการเป็นที่ของวัดให้แล้วเสร็จ เมื่อดำเนินการ เสร็จแล้วให้รายงาน ครม. ทราบต่อไป เพราะเบื้องต้น เป็นการแสดง เจตจำนงเท่านั้นยังไม่มีการโอน

ผู้สื่อข่าว รายงานด้วยว่า ก่อนการแถลงข่าวของนายอาคมนั้น นายอาคมได้เข้าพบนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ประธาน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ก่อนด้วย และเรื่องดังกล่าว ประเมินว่าเรื่องธรรมกาย หากปล่อยให้ยืดเยื้อ จะกระทบเสถียรภาพรัฐบาล

กองทัพระบุภัยต่อความมั่นคง

สำหรับ ความเคลื่อนไหวในด้านอื่น ๆ นั้น แหล่งข่าวจากกองทัพบกว่า ขณะนี้ทางสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ ศูนย์รักษา ความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) และตำรวจสันติบาล ได้มีมติว่า จะนำเรื่องปัญหา วัดพระธรรมกาย เข้าที่ประชุมสภา ความมั่นคงแห่งชาติ เพราะจนถึงวันน ี้เห็นได้ว่า วัดพระธรรมกาย มีอิทธิพลสูงมาก ทั้งมีเงินเป็นหมื่นล้านบาท สามารถ ที่จะดึงใครเข้ามาอยู่ ในอาณัติได้ รวมทั้ง มีความพยายามที่จะส่งคน ของวัดพระธรรมกาย เข้าไปแทรกตัว อยู่ในหน่วยงาน ต่าง ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งถือว่าสามารถกระทำได้สำเร็จแล้วอาทิ เข้าไปใน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาฯ หรือแม้แต ่มหาเถรสมาคมเองก็ตามที

แหล่งข่าวกล่าวว่า ตอนนี้ หน่วยงานด้านข่าวกรอง ทั้งหมดวิเคราะห์แล้ว เห็นว่าหน่วยงานของรัฐ เข้ามาดำเนินการ จัดการเรื่องนี้ไม่ได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรมการศาสนา ที่ไม่สามารถทำอะไรได้เลย และที่ผ่านมามหาเถรฯ ไม่เคยคำนึง ถึงจิตใจของประชาชนเลย ไม่มีใครสนใจ ที่จะจัดการอย่างจริงจัง มิหนำซ้ำ ยังพูดออกมา แบบไม่รับผิดชอบอีก เมื่อกรมการศาสนา ทำงานไม่ได้ผลก็ต้องให้ สมช. ดำเนินการเอง เพราะเรื่องนี้ กระทบ ความมั่นคง ของชาติ และตอนนี้ ก็มีความชัดเจน แล้วว่ามีความต้องการทำลายศาสนาพุทธ สมช.ควร จะต้องมีการประชุม โดยด่วน และสรุปเรื่อง เสนอให้แก่นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีว่า จะให้หน่วยงานใด เข้ามารับผิดชอบเรื่องน ี้แทนกรมการศาสนา

"หากปล่อย เหตุการณ์ไว้เช่นนี้ เรื่องราวอาจจะลุกลามใหญ่โต ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าเลขาธิการสมช. คนใหม ่จะกระตือรือร้น กับเรื่อง วัดพระธรรมกาย ให้มากกว่านี้ เพราะ ที่ผ่านมา สมช. ไม่เคยหยิบยกเรื่องน ี้เข้ามาหารือ หรือพิจารณาเลย หลังการตัดสินของมหาเถรฯ แล้ว สมช. ควรลงมาจับเรื่องนี้โดยตรง"

แหล่งข่าว ระบุด้วยว่าเกือบจะ 100% ที่สื่อมวลชน นำเสนอข่าวไปนั้น เป็นเรื่องจริง จนตอนนี้เกิดความหมิ่นเหม่ ต่อความมั่นคง ของชาติมากขึ้น มีการเข้าไปพัวพัน กับสีกา 5-6 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การก่อสร้าง มหาธรรมกายเจดีย์ ใช้แรงงานเถื่อนจากต่างชาติ ซึ่งกองทัพ กำลังติดตามด ูอย่างใกล้ชิด คือเรื่องที่นายไชยบูลย์ เอาเงิน ไปให้กับวัดต่าง ๆ และชมรมพุทธศาสนา ทั่วประเทศ ซึ่งทางหน่วยข่าวได้มีการวิเคราะห์แล้วว่า เป็นความตั้งใจ ในการสร้างอาณาจักรใหม่ และคิดจะสร้าง นิกายใหม ่ในศาสนาพุทธ ทำให้เกิดความแตกแยก

สาวกลุ้นเครียดก่อนได้เฮทั้งวัด

ส่วน ที่วัดพระธรรมกายนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดทั้งวันได้มีผู้นำบุญระดับแกนนำสำคัญจำนวนกว่า 100 คน อาทิ นายผ่อง เล่งอี้ อดีตอธิบดี กรมป่าไม ้เดินทางเข้ามาที่วัด ซึ่งบรรยากาศโดยรอบวัดนั้นมีเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 70 นาย มาให้การรักษาความปลอดภัยวัดอย่างเต็มที่ ส่วนผู้สื่อข่าวนั้น ยังไม่ได้รับอนุญาต ให้เข้าไปทำข่าวเช่นเดิม และปากทางเข้าวัดนั้น ค่อนข้างตึงเครียดมากสำหรับผู้ที่จะเข้าออกวัด กระทั่ง มีการผลักอกกัน ระหว่างเจ้าหน้าท ี่รักษาความปลอดภัย กับสื่อมวลชนจาก สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และช่อง 7 สี นอกจากนี้ฝั่งตรงข้ามกับวัดนั้น เจ้าหน้าที่ ตำรวจปราบจลาจลจาก กก.ภ.จ. ปทุมธานี จำนวน 80 นาย มาประจำการ ในส่วนของ สภ.อ.คลองหลวง นั้น มีกำลังเจ้าหน้าที่ ตำรวจอีกกว่า 200 นาย คอยเสริมหากว่าเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้น

บรรยากาศ ช่วงเย็นยิ่งตึงเครียดมากขึ้น เจ้าหน้าที่ ของวัดส่วนใหญ่จ ับกลุ่มรอลุ้น การถ่ายทอดข่าว จากสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ถึงผล การประชุมมหาเถรฯ กระทั่งเวลา 17.45 น. ได้มีข่าว มติมหาเถรฯ ออกมาสร้างความดีใจ ให้แก่ผู้นำบุญ และเจ้าหน้าที่วัดพระธรรมกาย เห็นได้อย่างชัดเจน ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดคนหนึ่ง ได้นำข่าว มติมหาเถรฯ ไปบอกให้ "ไชยบูลย์" และพระเผด็จ ทัตตชีโวรับทราบ โดยที่ทั้ง 2 คน ไม่ได้ออกมาแถลงข่าว หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ จากนั้น ผู้ที่มาคอยให้กำลังใจ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายจึงได้เดินทางกลับ

แก๊งนรกอ้างลายพระหัตถ์ปลอม

ขณะเดียวกัน แก๊งนรก ที่สนับสนุนพระปลอมนายไชยบูลย์ ก็ยังออกใบปลิว อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้โจมต ีลายพระหัตถ์ สมเด็จพระสังฆราชว่า ถูกทำขึ้น โดยศิษย์ห้องกระจก และ ในวัดบวรฯ มีผู้ลงนาม คล้ายลายพระนามสมเด็จพระสังฆราชได้หลายคน ซึ่งม.ล.จิตติ ในฐานะศิษย์ ห้องกระจกกล่าวว่า การที่กลุ่มสนับสนุน วัดพระธรรมกาย ระบุว่า สมเด็จพระสังฆราช ลงพระนามโดยไม่รู้พระองค์ถือเป็นการจาบจ้วง ว่าพระองค์ท่าน ไม่ได้ใช้สติปัญญา ในการพิจารณาหนังสือ ก่อนลงพระนาม

นางสะอาด มากรุ่น อายุ 53 ปี อยู่บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 7 ต.คลองสาม ซึ่งอยู่ติดกับวัดพระธรรมกาย มีอาชีพทำนา ได้เข้าร้องเรียนกับ"เดลินิวส์"ว่า ได้รับความเดือดร้อน จากการ ที่วัดพระธรรมกาย ตั้งเครื่องสูบน้ำ ออกจากบริเวณที่ก่อสร้าง มหาธรรมกายเจดีย์ลงสู่คลอง เนื่องจาก ช่วงที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนัก ทำให้น้ำท่วมพื้นที่นา ได้รับความเสียหาย แม้จะพยายาม หาเครื่องสูบน้ำ มาสูบน้ำออกต่อจากวัดพระธรรมกาย ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถ ที่จะส ู้เครื่องสูบน้ำ วัดพระธรรมกายได้ และไม่รู้จะไปพึ่งพาใคร จึงร้องเรียน หนังสือพิมพ ์เผื่อวัดพระธรรมกาย จะช่วยเหลือแก้ปัญหาให้

เบื้องหลังมหาเถรฯถก"ธรรมกาย"

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า การประชุมมหาเถรฯ เพื่อพิจารณาปัญหาวัดพระธรรมกายนั้น กรมการศาสนา ได้บรรจ ุเป็นวาระ เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราช มีลายพระหัตถ์ วินิจฉัย ในเรื่องนี้ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีกรรมการ มหาเถรฯ เข้าประชุมทั้งสิ้น 16 รูป ขาดเพียง 3 รูปเท่านั้น สำหรับพิธีกรรมนั้น สมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม เป็นประธาน จากนั้นการประชุมก็เริ่มขึ้น โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ในฐานะ พระเถระ ที่มีความ อาวุโสสูงสุด ในฝ่ายมหานิกาย เป็นประธานในการประชุม เริ่มจากการประชุมวาระต่าง ๆ ก่อน จากนั้น ึงมีการประชุม ปัญหาของวัดพระธรรมกาย เป็นวาระที่ 3

รายงานข่าว แจ้งว่าในการพิจารณาวาระนี้อธิบดีกรมการศาสนาได้นำลายพระหัตถ์ทุกฉบับของสมเด็จพระสังฆราช รวมทั้งนำ หนังสือเปิดผนึกของ 207 องค์กรพุทธศาสนา เข้ามาแจกจ่ายแก่กรรมการมหาเถรฯ จากนั้น ก็ได้มีการอภิปราย กันอย่างกว้างขวาง โดยกรรมการ ฝ่ายมหานิกายรูปหนึ่ง ได้นำเสนอ ข้อคิดเห็นว่า ลายพระหัตถ ์ของสมเด็จพระสังฆราช เป็นสิ่งที่ชอบแล้วในหลักการพระธรรมวินัย แต่การลงโทษปาราชิกนั้น ถือเป็น การข้ามขั้นตอน ทางกฎหมาย ที่ประชุม จึงเห็นพ้องต้องกันว่า จะต้องนำเข้ากระบวนการสงฆ์ และให้หาโจทก์กล่าวโทษ เพื่อจะได้ดำเนินการตามกระบวนการ

นอกจากนี้ กรรมการมหาเถรฯ ได้สั่งการให้กรมการศาสนาออกไปชี้แจงว่า มหาเถรฯ เห็นชอบ ตามลายพระหัตถ์ ของสมเด็จพระสังฆราช จะได้ไม่ถูก ข้อครหาว่า มหาเถรฯ ไม่ตอบสนองตาม พระดำริของสมเด็จพระสังฆราช และขอให้ประชาชน ที่มีข้อข้องใจ นำหลักฐานมาร้องเรียน ให้ถูกต้อง ตามกระบวนการ ของทางคณะสงฆ์ มหาเถรฯ จะตัดสิน ปาราชิกไม่ได้ หากว่าไม่ได้มีการสอบสวน อย่างไรก็ดีในการประชุมครั้งนี้กรรมการมหาเถรฯ ทั้งฝ่ายธรรมยุต และฝ่ายมหานิกาย ต่างแสดงความคิดเห็น เท่าเทียมกัน แม้จะรู้อยู่ว่าไม่มีโจทก์มาร้องเรียน.