เดลินิวส์ 28/3/2542

'198 ศิษย์'ธรรมกายฝึกเพี้ยน

รุมสวดกรมศาสนา หมกพระราโชบาย สมเด็จพระสังฆราชที่ให้สะสางปัญหาธรรมกายแบบเด็ดขาด ดำรัสชัดพระรูปใดบิด เบือนพระธรรม กล่าวหาพระไตรปิฎกบกพร่องทำสงฆ์แตกแยก เป็นกรรมหนักสุด ต้องได้รับโทษหนักทั้งปัจจุบัน-อนาคต พระมีสมบัติระหว่างบวช ต้องโอนให้วัด เป็นความถูกต้อง มั่นใจถ้าเผย
แพร่พระดำรัสออกไป เหตุการณ์พลิกผันไปแล้ว พระนิสิตมหาจุฬาฯ พิมพ์หนังสือ "กรณีธรรมกาย" แจกทั่วประเทศ ให้ชาวพุทธตื่นรับ มือ มหันตภัย ธรรมกาย ทำพิธีเพี้ยนอีกส่งลูก ชาวบ้าน 198 คนฝึกโหดเขาชนไก่ ใครผ่านถึงได้บวช ถูกซัดศาสนาไม่มีบัญญัติไว้

จากกรณีที่ ม.ล.จิตติ นพวงศ์ ศิษย์และโยมอุปัฏฐาก สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ออกมาเปิดเผยว่า สมเด็จพระสังฆราช ได้ประทานพระราโชบาย ที่พิมพ์เป็นข้อความ ในกระดาษมอบให้กับกรมการศาสนาก่อนการลงมติของมหาเถร สมาคมในปัญหาธรรมกาย แยกเป็น 2 ข้อ คือ หากพระรูปใด บิดเบือนพระธรรม กล่าวหาพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำสงฆ์ให้แตกแยกเป็น 2 ฝ่ายถือเป็นกรรมหนักสุด ทางศาสนาเป็นอนันตริยกรรม มีโทษทั้งปัจจุบันและอนาคตที่หนัก ประการที่ 2 คือ พระรูปใด ได้ทรัพย์สิน ระหว่างที่บวชเพื่อความถูกต้อง ก็ต้องโอนสมบัติทั้งหมด เป็นของวัด แต่ปรากฏว่า ไม่ได้นำเอาพระราโชบายมาเผยแพร่หรือดำเนินงานนั้น

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. พระธรรมโกศาจารย์ หรือหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฏŒ กล่าวว่า การที่กรมการศาสนา นิ่งเฉยเช่นนี้ก็ไม่ทราบว่า เป็นเพราะอะไร และต้องตอบให้ได้ และจะไม่ขอแสงดความคิดเห็น เกี่ยวกับข้อเสนอ ของพระพรหมโมลี เจ้าคณะภาค 1 ที่ให้วัดพระธรรมกาย แก้ไข 4 ข้อ คือ ให้เรียนอภิธรรม, ตั้งสำนักวิปัสสนา, ปฏิบัติตามมติมหาเถรฯ และสำรวมในพระธรรมวินัย เพราะเป็นเรื่องของ พระผู้ใหญ่ที่พิจารณากันไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องคำสอนของ"ธรรมกาย" ที่กล่าวว่าถ้าทำดีจะขึ้นสวรรค์ชั้นไหน ทำชั่วตกนรกขั้นไหน ไม่สมควรพูด และในพระไตรปิฎก ไม่ได้กล่าวเรื่องนี้ เพียงแต่มีแนวทางให้คนปฏิบัติดีเป็นหลัก แม้วัดพระธรรมกาย ไม่หยุดเรื่องการเชิญชวน ให้คนบริจาคเงิน ก็ยากที่จะห้าม และได้พูดไปบ่อยครั้งจนไม่อยากพูดแล้วว่าต้องคิด ต้องพิจารณาให้ดี อย่ากลายเป็นเรื่องที่ทำบุญแล้วเดือดร้อน ต่อไปหาก "ธรรมกาย" ไม่เชื่อฟัง มหาเถรฯ ก็ต้องแตกอย่างแน่นอน

พระศรีปริยัติโมลี รองอธิการบดีมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวถึง พระดำรัส ของของสมเด็จพระสังฆราชว่า กรมการศาสนาอาจหลงลืมไปก็ได้ และปัญหา กรณี "ธรรมกาย" ต้องยอมรับว่า ประชาชนอยากจะให้มีการพิจารณา ครบทุกประเด็น เพราะ ยังมีหลายประเด็นเป็นที่สงสัยข้องใจของสาธารณชน

อย่างไรก็ตาม พระศรีปริยัติโมลีกล่าวว่าหากนำโอวาทใน 2 ประเด็นนี้ของสมเด็จพระสังฆราช เข้าที่ประชุมมหาเถรฯ แล้วมีการแจก ให้กับคณะกรรมการ ทุกรูปได้เห็น ได้คิด พระเถระ แต่ละรูปคงรู้ว่า จู่ ๆ ทำไมถึงมีบัญญัติดังกล่าวออกมา การแก้ไข ปัญหาเรื่องวัดพระธรรมกาย คงมีความชัดเจน และรับรู้ว่าในส่วนลึกของจิตใจสมเด็จพระสังฆราช ทรงมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาที่เป็นอยู่อย่างยิ่ง

"สมเด็จพระสังฆราช ท่านเป็นประมุขของสงฆ์ แต่ท่านเคารพสิทธิ์ในความเห็นคณะกรรมาการมหาเถรฯ ทุกรูป ไม่ทรงใช้อำนาจ ตามกฎหมาย หากกรมการศาสนา นำพระดำรัสนี้ไปพูดคุยหรือเผยแพร่ ทุกคนคงรู้ทิศทางแนวทางการแก้ไขปัญหาวัดพระธรรมกาย เรื่องนี้ก็จบ หรือสถานกาณ์ต่าง ๆ จะพลิกไปในทางที่ชัดเจน ดีกว่านี้เป็นแน่ ที่สำคัญสังคมจะไม่ต้องสับสนเกิดความขัดแย้งกันเหมือนที่เป็นอยู่"

พระพิศาลธรรมพาที หรือพระพยอม กัลยาโณ วัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี กล่าวถึงความหมายของคำว่า "อนันตริยกรรม" ว่า ในทางพุทธศาสนา หมายถึงกรรมที่หนักที่สุด รอลงนรกอเวจีสถานเดียว เช่นการฆ่าพ่อ, ฆ่าแม่, ฆ่าพระอรหันต์, ทำให้พระพุทธเจ้า ห้อพระโลหิต, ทำให้คณะสงฆ์เกิดความแตกแยก กรณีวัดพระธรรมกายพยายามบิดเบือนพระไตรปิฎก ทำให้คณะสงฆ์เกิดความแตกแยก ต้องเรียกว่า เป็นการฆ่าหลัก ฆ่าเกณฑ์ เป็นการทำลาย รากเหง้าของพุทธศาสนาเลยทีเดียว หนักยิ่งกว่าฆ่าพระอรหันต์เสียอีก ถือเป็นกรรมหนักอีกชั้นหนึ่งด้วยซ้ำ "ถ้าสมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระดำรัสเรื่องนี้ และยังมีบันทึกมอบให้กรมการศาสนานำไป ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมถึงเอาไปเก็บเงียบ ไว้เฉย ๆ ไม่นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในการพิจารณากรณี ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น กับพุทธศานาในขณะนี้"

ทางด้าน พระมหาบุญถึง ชุตินฺธโร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวว่า "อนันตริยกรรม" ที่สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระดำรัสนั้น ถือเป็นกรรมที่หนักที่สุด การที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย พยายามบิด เบือนพระไตรปิฎก ก็เหมือนเป็นการหักยอดเจดีย์ลงมาเหยียบย่ำ เป็นการทำลาย พระพุทธศาสนา พระไตรปิฎก หรือพระธรรมวินัย เป็นเสมือนดั่งตัวแทนขององค์พระพุทธเจ้า การมุ่งทำลาย พระไตรปิฎกก็เหมือนเป็นการมุ่งร้ายพระพุทธเจ้า

ส่วนกรณีที่กรมการศาสนา ไม่นำพระดำรัสของสมเด็จพระสังฆราชมาเผยแพร่ รวมถึงไม่มีการนำมาใช ้ในการพิจารณากรณีวัดพระธรรมกายนั้น อาจเป็นเพราะ ต้องการประนีประนอม ไม่อยากให้มีการตัดสินที่รุนแรง แต่ก็เป็นเรื่อง ไม่ถูกต้อง เพราะกรมการศาสนา มีหน้าที่ต้องสนองพระราโชบายของสมเด็จพระสังฆราช

"เรื่องถือครองที่ดิน นั้นสมเด็จพระสังฆราชก็ทรงมีดำรัสถูกต้องชัดเจน เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายต้องปฏิบัติตาม ต้องมอบคืน ให้เป็นของวัด เป็นสมบัติของพุทธศาสนา ถ้ารักพระพุทธศานา ต้องการให้พระพุทธศาสนา เจริญรุ่งเรืองจริงอย่างที่พูด ก็ต้องปฏิบัติ ต้องพิสูจน์ตัวเองในเรื่องต่าง ๆ ที่ชาวพุทธ เคลือบแคลงให้ได้"

หลังจากประชุม มหาเถรสมาคม มีมติให้ดำเนินการกับวัดพระธรรมกายตามเงื่อนไขที่พระพรหมโมลี เจ้าคณะภาค 1 เคยตกลงไว้ กับทางวัดพระธรรมกาย ก่อนหน้านี้ พระนิสิตของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนใหญ่ต่างไม่พอใจ มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาก บางส่วนเห็นว่า ที่จริงแล้วเท่ากับมหาเถรฯ ยังไม่ได้มีมติอะไรออกมาเลย เป็นการโยนเรื่อง ให้พระพรหมโมลี ไปรับผิดชอบเอาเองเท่านั้น

นอกจากวิพากษ์วิจารณ ์กันมากแล้ว ทางพระนิสิตยังได้มีการดำเนินการเพื่อให้มีการจัดพิมพ์หนังสือ "กรณีธรรมกาย" ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเขียนโดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) จำนวน 15,000 เล่ม เพื่อนำออกแจกจ่าย ให้กับชาวพุทธ ทั่วประเทศ เพื่อชาวพุทธ จะได้เข้าใจศาสนาพุทธอย่างถูกต้อง ไม่ไขว้เขวหรือหลงเชื่อในแนวทางที่ผิด ๆ

ที่กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการบันทึกรายการตามหา..แก่นธรรม โดยมีพระพิพิธธรรมสุนทร พระนักเทศน์ จากวัดสุทัศน์เทพวราราม นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและนักวิจารณ์สังคมชื่อดัง พล.ต.ท.ประเวศน์ คุ้มภัย ผช.ผบ.ตร. และพล.ต.ท.อุดม เจริญ ผบช.ศ. ร่วมเป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และ นายสุเมธ โสฬศ การบันทึกรายการดำเนินมาถึงกระทู้ถาม ของ นร.พลตำรวจ มานพ คบอุดม เรื่องปัญหา วัดพระธรรมกาย ทำไมถึงไม่มีบทลงโทษที่ชัดเจน หรือจะเป็นไปได้หรือไม ่ที่เจ้าอาวาสวัดจะพิจารณาตัวเอง

พระพิพิธธรรมสุนทรกล่าวว่า การนับถือศาสนาของคนทั่วทั้งโลก มีจุดเริ่มต้นมาจากความเชื่อในเรื่องปาฏิหาริยŒ เลือกนับถือ คนที่เหาะเหินเดินอากาศได ้ดำดินได้ ทั้งที่นกไส้เดือนมีความสามารถเช่นที่ว่านี้ ทำไมต้องไปเหมือน วิสัยของสัตว์ จุดต่อมา เมื่อมาถึงการปฏิบัติ ก็จะนึกคิดแต่อิทธิปาฏิหาริยŒเหล่านี้ เพราะตัวเองเลื่อมใสมาแบบนี้ ซึ่งเป็นการเลื่อมใส ที่ไม่บริสุทธิ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ต้องหาวิธีล้างภาพเหล่านี้ออกไป โดยการตั้งคณะสงฆ ์เข้าไปควบคุม ความประพฤติ

"อาตมาแน่ใจว่า สิ่งที่พระพรหมโมลีดำเนินการลงไปรุนแรงพอแล้ว แต่ต้องมีการควบคุมให้ทำตาม หากไม่สามารถ ควบคุมวัดพระธรรมกายได้ ไม่ใช่ว่าวัดพระธรรมกาย จะล้ม แต่จะเป็นเถรสมาคมเป็นผู้ล้มสุดท้ายพุทธศาสนาก็ล้มตาม ในที่สุดก็จะมีแต่นิพพาน เป็นอัตตา เช่นกัน หากวัดพระธรรมกาย ไม่เชื่อฟังการล้มสลายของวัดพระธรรมกายจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน"

นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ มองว่ากรณี"ธรรมกาย" ถึงเวลาแก่การเลิกระบบมหาเถรสมาคมแล้ว และให้มีพระหนุ่ม ๆ และฆราวาสเข้ามาดูแล พระพุทธองค์ สอนให้รู้จักการเกิดแก่เจ็บตายคือสูญไม่มีตัวตน แต่การสอน แบบธรรมกายเป็นอัตตาภาวะ มีการสร้างรูปเหมือน หลวงพ่อสดใหญ่โตกว่าพระพุทธเจ้า ไม่มีทางที่เจ้าอาวาสวัด จะพิจารณาตัวเอง คนที่ทำผิดคือสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ โดยมีการอ้างว่า ไปรับเงินต่างชาติมาล้มธรรมกาย

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ผู้ดำเนินรายการ เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารวมรายการแสดงความคิดเห็น ได้มีสีกาอ้างตัวว่าเป็นศิษย์วัดพระธรรมกาย แสดงความเห็นว่า วัดพระธรรมกายไม่ได้สอนผิด เป็นการสอน ตามที่หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จึงมาถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ ในขณะที่พระหนุ่มรูปหนึ่ง ได้ขอตอบโต้สีกาคนดังกล่าว โดยยืนยันว่าตนเองศึกษาเล่าเรียนมาอย่างใกล้ชิดหลวงพ่อสดไม่เคยสอนเช่นนี้ และมีอยู่หลายเรื่อง ที่เป็นเรื่องดีกลับไม่มีการนำมากล่าว

ขณะเดียวกัน สีกาจากวัดพระธรรมกายขอพูดตอบโต้บ้าง ทางพระพิพิธธรรมสุนทร จึงขอให้สีกาคนดังกล่าว ระงับอารมณ์ และสอนว่า การพูดเช่นนี้ไม่เหมาะสม เพราะสิ่งที่พูดออกไป เป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่มีความรู้แจ้ง และไม่มีใครกล่าวโทษสีกา แต่คนที่ต้องรับการกล่าวโทษ จะเป็นเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกายเอง จึงอยากให้หลังเลิกรายการแล้ว จะอธิบายให้ฟัง ซึ่งช่วงเวลานั้น ได้มีศิษย์ธรรมกาย พยายามห้ามปราม ไม่ให้สีกา แสดงความไม่ฉลาดออกมาอีก และมีลูกศิษย์ชายคนหนึ่งกล่าวยอมรับด้วยความสุขุมว่า ทางวัด และเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย น้อมรับความผิดเพี้ยน ที่เกิดขึ้น และพร้อมปฏิบัต ิตามคำแนะนำของพระพรหมโมลีทุกข้อ ถึงตรงนี้เหตุการณ์ จึงสงบลงและเริ่มเข้ากระทู้ต่อไป

ผู้สื่อข่าว รายงานอีกว่า ขณะนี้วัดพระธรรมกายส่งผู้ที่เข้าร่วมโครงการบวชธรรมทายาทภาคฤดูร้อนไปฝึกภาคสนามที่ เขาขนไก่ จ.กาญจนบุรี จำนวน 198 คน โดยนำรูปแบบทหาร มาเป็นส่วนหนึ่ง กิจกรรมของวัดโดยอ้างว่า ต้องทดสอบความเข้มแข็งของร่างกายและจิตใจ ต้องผ่านการฝึก ไม่ต่ำกว่า 1 สัปดาห์ เช่นเดียวกันกับทหาร โดยต้องผ่านการทดสอบ ไม่ต่ำกว่า 10 สถานี หลังการฝึก จะต้องเดินไปพักในวัดถ้ำพุ สาขาธรรมกายอีก 23 กิโลเมตร โดยดำเนินชีวิตในป่า หลับนอนใต้ต้นไม้ นายเสฐียรพงษ์ วรรณปก นักวิชาการศาสนา วิจารณ์การฝึกแบบนี้ ไม่ได้บัญญัติ ในศาสนาพุทธ เพราะไม่ใช่การฝึกทหาร.