ชาวพุทธมีความคิดเห็นอย่างไรในกรณีที่..(หลักฐานเอกสารมาแล้วครับ..)
เนื้อความ : สืบเนื่องจากกระทู้ "ชาวพุทธคิดอย่างไรกรณีที่เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายบอกเป็นนัยว่า
ตนเองเป็นอวตารภาคหนึ่งของ"องค์พระธรรมกายต้นธาตุ" ซึ่งหมายถึงต้นกำเนิดของ
สรรพสิ่ง (รวมทั้งพระพุทธเจ้าด้วย) "
ผมขอนำหลักฐานมาอ้างอิงเพิ่มเติม
คือเอกสารงานวิจัย เรื่อง"ศาสนทัศน์ของชุมชนเมืองสมัยใหม่ ศึกษากรณีวัดพระธรรมกาย"
โดย ดร.อภิญญา เพื่องฟูสกุล ได้รับทุนการวิจัยจากศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และพิมพ์เผยแพร่ในวารสารรายสี่เดือนของศูนย์พุทธศาส์นศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2541 ดังต่อไปนี้

หน้า 66 ต่อมาในยุคท่านธัมมชโยแห่งวัดพระธรรมกายมีการพัฒนารายละเอียดเรื่องนี้ออกไปมาก
จนกลายเป็นเรื่อง"มูลการณ์ของสรรพสิ่ง" ผู้ที่ผลิตวาทกรรมดังกล่าวคือ ท่านเจ้าอาวาส
เอง เนื้อหามีอยู่ว่า แรกเริ่มเดิมที ในห้วงจักรวาลมีแต่ความว่างเปล่า ต่อมามีธรรมกายฝ่ายที่
เรียกว่า "ฝ่ายขาว" และ "ฝ่ายดำ" เกิดขึ้นต่อมาต่างฝ่ายต่างเพิ่มจำนวนขึ้นทุกที และทำวิชชา
หักล้างกันและกัน จากนั้น พระธรรมกายฝ่ายขาว ก็ได้สร้าง "ภพ" ใหม่ และสร้าง "ต้นธาตุ
กายมนุษย์"ขึ้น ที่มีลักษณะคุณสมบัติคล้ายกายทิพย์เพื่อที่จะให้มาทำวิชชาปราบมาร แต่ต่อมา
ก็ถูกทำลายโดยฝ่ายดำ ทำให้ให้ฝ่ายขาวต้องถอยร่นลงมาอีก มาสร้างโลกมนุษย์ และ มนุษย์
หญิงชายขึ้นในโลกยุคแรกนั้นมีความอุดมสมบูรณ์พูนสุข ไม่มีฤดูต่าง ๆ ภูมิประเทศภูมิอากาศ
มีความพอดีสม่ำเสมอ และ รื่นรมย์ ต่อมาฝ่ายดำมาทำวิชชามารใส่ ทำให้จากนั้นเป็นต้นมาโลก
ก็มีทุพพิกขภัย ภัยธรรมชาติชนิดต่าง ๆ โรคระบาดและความอดอยากเกิดขึ้น ฝ่ายขาวก็ต้อง
ต่อสู้ด้วยการผลิตองค์ความรู้มาแก้ไขและสร้างพืชสมุนไพรที่สามารถแก้โรคร้ายต่าง ๆ พร้อม
กับสร้างมนุษย์ที่มีความสามารถพัฒนาวิชาการต่าง ๆ มาแก้ไข เช่นวิชาแพทย์ วิชาวิศวกรรม
ดาราศาสตร์ การช่างต่าง ๆ เป็นต้น นี่คือการอธิบายกำเนิดอารยธรรมมนุษย์ จากนั้นฝ่ายดำ
จึงหักล้างด้วยการสร้างกิเลสมาให้มนุษย์ทำลายมนุษย์ด้วยกันเอง สงครามจึงเกิดขึ้นครั้งแล้ว
ครั้งเล่า ฝ่ายขาวก็จะส่งคนดีมาปราบมารเสมอ
นี่ก็คือการอธิบายแรงผลักดันเชิงจิตวิญญาณที่อยู่เบื้องหลังพัฒนาการทางประวัติ
ศาสตร์มนุษยชาติ
ในยุคปัจจุบัน วีรบุรุษที่สำคัญของฝ่ายขาวก็คือหลวงพ่อวัดปากน้ำ และ ท่านธัมมชโย
นั้นเอง...

หน้า 67...ในยุคหลังมานี้ ภาพลักษณ์ของหลวงพ่อท่านเจ้าอาวาสพัฒนาเปลี่ยนไปจากการเป็นวีรบุรุษ
สำคัญคนหนึ่งของฝ่ายขาว มาเป็นอวตารภาคหนึ่งของ "องค์พระธรรมกายต้นธาตุ"
อันเป็นมูลการณ์แห่งสรรพสิ่งเสียเอง - ผู้วิจัย

"เรื่องมูลการณ์ของสรรพสิ่ง" ส่วนใหญ่ผู้วิจัยถอดมาจากเทปที่ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์
พระเมตตานันโทภิกขุ หนึ่งในอดีตสมาชิกของธรรมกายที่แยกตัวออกไปแล้วเพราะความ
ขัดแย้งกับผู้บริหารภายใน
ส่วนข้อมูลการอ้างตัวเองเป็นเป็นอวตารภาคหนึ่งของ"องค์พระธรรมกายต้นธาตุนั้น
เป็นบทวิเคราะห์ของผู้วิจัย ซึ่งเป็นผลงานทางวิชาการที่อ้างอิงมาจากเทปบันทึกเสียง
ท่านอาจขอฟังได้จากผู้วิจัยโดยตรง หรือ จากผู้รู้ทางพุทธศาสนาหลาย ๆ ท่านที่กำลังศึกษา
เทปเหล่านี้อยู่ เช่น อาจารย์เสถียรพงษ์ วรรณปก เป็นต้น

การปฏิบัติสมาธิของธรรมกายถือว่าปฏิบัติกสิณสมาธิอย่างหนึ่ง คือ การสร้างนิมิตลูกแก้วเพ่งไว้ในใจให้เห็น
ลูกแก้วเปล่งแสงสว่าง (อาโลกสัญญา) แล้วเล่นกับนิมิตนั้นให้เปลี่ยนแปรรูปไปเป็นพระพุทธรูปแก้ว แล้วทึกทัก
เอาเองว่าเป็นการเห็นองค์พระธรรมกาย หรือ พระนิพพาน
ดังคำสอนของหลวงพ่อสด(ต้นตำรับ) ที่ยกมาอ้างดังต่อไปนี้
"นี่กระมังทางสายกลาง จุดเล็กที่เราเพิ่งจะเห็นเดี๋ยวนี้อยู่กึ่งกลางพอดี ลองมองดูซิจะเกิดอะไร
ขึ้น" จุดนั้นค่อย ๆ ขยายขึ้น และ โตเท่ากับดวงเดิม ดวงเก่าหายไป ก็เห็นดวงใหม่ลอยขึ้น
มาแทนที่ เหมือนน้ำพุที่พุ่งขึ้นมาแทนที่กันนั่นแหละ ต่างแต่ใสยิ่งขึ้นกว่าดวงเดิม ในที่สุดจึงเห็นกาย
ต่าง ๆ ผุดซ้อนกันขึ้นมาจนถึง "ธรรมกาย" เป็นพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูมใสบริสุทธิ์ยิ่งกว่าพระพุทธรูป
บูชาองค์ใด เสียงธรรมกายกังวานขึ้นมาในความรู้สึกว่า "ถูกต้องแล้ว" เท่านั้นแหละความปีติสุขก็เกิดขึ้น
อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน "
(จากหนังสือ "ผู้ค้นพบวิชชาพระธรรมกาย" จัดพิมพ์โดย วัดพระธรรมกาย)

แต่ถ้าหากเราค้นคว้าในพระไตรปิฎก (ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีอยู่เป็นเอกสาร)
ปรากฏกว่าพระพุทธองค์ ได้เตือนไว้ว่าในการฝึกสมาธิด้วยวิธีกสิณเช่นนี้ ถ้าหากมีทิฐิที่ผิดพลาดมอง
เห็นนิมิตนั้นเป็นอัตตาเป็นตัวเป็นตนเช่นนี้ ไม่ใช่ความเห็นที่ถูกต้องเลย

(อ้างอิงสุตตันต.เล่ม 23 ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ข้อ 298 หน้า 138 บรรทัด 11)

[๒๙๘] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา
นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีกสิณ อาโป-
*กสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ
อากาสกสิณ วิญญาณกสิณ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน
ของเรา ฯ

ดังนั้นการที่หลวงพ่อสด(ต้นตำรับ)มีความรู้สึกว่าตัวเอง (ตัวตน) ได้พบกับพระธรรมกาย(ที่เป็นอัตตา)เช่นนี้
ก็เลยหลายเป็นแนวทางให้ ลูกศิษย์ลูกหาสอนเป็นไปในแนวเดียวกันหมด จวบจนกระทั่งปัจจุบัน
ดังตัวอย่างคำสอนของพระอาจารย์สายหลวงพ่อสด(ธรรมกาย) อีกท่านหนึ่งคือ
พระมหาเสริมชัย ชยมงคโล สอนลูกศิษย์ขณะปฏิบัติธรรมว่า "นิพพาน" ว่าเป็น "อัตตา" มีดังต่อไปนี้
(คัดจากงานวิจัยฯในวารสารพุทธศาสน์ศึกษา ปีที่ 5 ฉบับที่1 หน้า62-63)
ถาม "คุณโยม(ขอสงวนนาม) เห็นอายตนนิพพานไหม?
ตอบ "เห็นค่ะ"
ถาม "สัมผัสได้ไหม"
ตอบ "ได้ค่ะ"
ถาม "สัมผัสได้นี่หมายถึงว่า (พระนิพพาน และ พระธรรมกายของพระอรหันต์ และ พระพุทธเจ้า-
ข้อความในวงเล็บ คัดจากต้นฉบับ-ผู้วิจัย) มี "ตัวตน"สัมผัสได้ใช่หรือไม่?
ตอบ "ใช่ค่ะ"
ถาม "(ถ้าสัมผัสพระนิพพานและพระพุทธเจ้าได้) เย็น ร้อน อ่อน แข็ง อย่างไร สัมผัสแล้วรู้สึกอย่างไร?
โยม..(ขอสงวนนามอีกท่านหนึ่ง)
ตอบ "รู้สึกเย็นค่ะ"

ความรู้สึกว่าตัวตนของเราได้เสวยผลหรือสัมผัสนิพพานเช่นนี้ ย่อมขัดกับหลักการในพระพุทธศาสนา
ขั้นพื้นฐาน เพราะโดยปรมัตตธรรมแล้วความรู้สึกตัวตนของคนเราที่เกิดขึ้นในใจนั้น ที่แท้เป็นวิบาก
(ผลของกรรม) ที่ความไม่รู้ได้สร้างความรู้สึกขึ้นมาเป็นตัวตนขึ้นมาเองตามเหตุและปัจจัย
การปฏิบัติที่ทำให้หมดวิบากยังให้ปรากฏขึ้นซึ่งพระนิพพาน และในเมื่อหมดวิบากความรู้สึกเป็นตัวตน
ของผู้ที่เสวยนิพพานนั้นย่อมไม่มี (เพราะหมดวิบากปรุงแต่งความหลงผิดนั้นแล้ว)
ดังนั้น ตราบใดถ้ายังมีความรู้สึกว่าเป็นตัวตนได้เป็นผู้เสวยนิพพาน นั่นย่อมหมายความว่าสิ่งที่ตนสัมผัส
นั้นยังไม่ใช่นิพพานที่แท้จริงแต่อย่างใด คงจะเป็นได้แค่ "นิพพาน" หลอก ๆ ที่คิดนึกปรุงแต่งเอาเท่านั้นเอง

(อ้างหลักฐาน ในอภิธรรมปิฏก เล่ม 4 กถาวัตถุปกรณ์ ข้อ 164 หน้า 74 บรรทัด 8)

ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เพราะนิพพานมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยนิพพานจึงมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ (ไม่ถูก )
ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว

ความรู้สึกว่าตัวเองได้พบนิพพานก็ดี หรือ เห็นนิพพานว่าเป็นอัตตาก็ดี เป็น
การหลงเข้าใจผิดในขั้นทิฎฐิ หากมีการสอนอย่างนี้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง
ก็เท่ากับเป็นการบิดเบือนหลักธรรมของพระพุทธเจ้าให้ประชาชนทั่วไปเกิดความเข้าใจ
ผิดหลงทิศหลงทางไปจากพุทธศาสนา หาใช่การช่วยให้ประชาชนให้พ้นทุกข์อย่างแท้จริงไม่
ความสุขชั่วครั้งชั่วคราวจากการนั่งสมาธิ ไม่ใช่เป้าหมายทางพุทธศาสนา ความสุข
จากการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้จักพึ่งตนเอง มีความเพียรพัฒนาตนให้เป็นอิสระจากความ
เห็นแก่ตัว (อัตตา) ให้หมดความเห็นแก่ตัว (อนัตตา)ต่างหากที่เป็นแก่นสารสาระของพุทธศาสนา
ดังหลักฐานคำสอนของพระพุทธเจ้าดังต่อไปนี้

(ตามหลักฐานใน สุตตันต. เล่ม 18 ขุททกนิกาย ข้อ 383 หน้า 315)

เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น พระอริยสาวกนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็น
ทางแห่งความหมดจด
เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น พระอริยสาวกนั้นย่อมหน่ายในทุกข์
นี้เป็นทางแห่งความหมดจด
เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า "ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา"
เมื่อนั้นพระอริยสาวกนั้นย่อมหน่าย ในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด

(คาถาบทนี้ เป็นบทสวดทำวัตร ที่ทางคณะสงฆ์สายสวนโมกข์ได้ทำการแปลเป็น
ภาษาไทย และ มีการสวดอยู่ทั้วไปตามวัดที่มีการปฏิบัติธรรมต่าง ๆ )

ส่วนการที่ผู้คนสงสัยหรือเคลือบแคลงใจเกี่ยวกับแนวทางหรือนโยบายของวัดพระธรรมกาย
ที่กำลังเผยแพร่โฆษณาทางสื่อมวลชนชักชวนให้คนได้เห็นฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เพื่อชักจูงให้ประชาชน
เกิดความเลื่อมใสบริจาคทรัพย์ให้แก่ธรรมกายนั้น เป็นวิธีการที่ถูกต้องหรือไม่
จากการค้นหาหลักฐานอ้างอิงในพระไตรปิฎก พบว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการที่พระพุทธเจ้า
ติเตียนอย่างรุนแรงว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควร เช่นมีตัวอย่างพระภิกษุรูปหนึ่งที่แสดงอิทธิ
ปาฏิหาริย์เหาะได้เพื่อไปคว้าบาตร(เพราะความอยากได้ลาภ) ที่แขวนไว้บนยอดเสาเพื่อล่อให้แสดง
ปาฏิหาริย์ พระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ได้ทราบข่าว ถึงกับเรียกพระภิกษุองค์นั้นมาติเตียนด้วย
ถ้อยคำกำราบที่รุนแรง ดังต่อไปนี้

(จากพระวินัย เล่ม 7 จุลลวรรค ภาค 2 ข้อ33 หน้า 13)

... พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ภารทวาชะ การกระทำของเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน
เธอจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์
เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ (ทรัพย์) ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า
มาตุคาม(สตรี) แสดงของลับ เพราะเหตุแห่งทรัพย์ซึ่งเป็นดุจซากศพแม้ฉันใด
เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์
เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส
ดังนั้นการที่วัดพระธรรมกายเอาปาฏิหาริย์มาโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์
ต่าง ๆ ในปัจจุบัน จึงต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่ามีความต้องการอะไรในการกระทำครั้งนี้
สำหรับท่านที่อยู่วงนอก หรือ ไม่ได้เรียนรู้เรื่องหลักธรรมในพุทธศาสนาอะไร
อย่างจริงจังนัก ก็ยังมีหลักธรรมอยู่อีกชุดหนึ่งที่สามารถใช้นำมาตรวจสอบว่าวัดพระธรรมกายได้ว่า
ได้ปฏิบัติตนตามหลักพุทธศาสนาหรือไม่
หลักธรรมนี้มีชื่อว่า ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8 ประการ ที่สามารถนำเป็นเครื่องตรวจสอบ
วัดพระธรรมกาย ได้ดังต่อไปนี้
(ยึดเอาหลักตัดสินธรรมวินัย8จาก วินย.7/523/331 อง อฏธก23/143/289)
1. เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดความคลายกำหนัด ความไม่ยึดติดพัน เป็นอิสระ หรือไม่
2. เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้หมดเครื่องร้อยรัด คือ ความไม่ประกอบทุกข์ ต่าง ๆหรือไม่
3. เป็นข้อปฏิบัติที่ไม่พอกพูนกิเลสต่าง ๆ หรือไม่
4. เป็นข้อปฏิบัติที่มิใช่เพื่อความมักใหญ่ใฝ่สูง อยากใหญ่อยากโต หรือไม่
5. เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดความสันโดษ คือ ความพึงพอใจในปัจจัยสี่ที่ตนเองมีอยู่หรือไม่
6. เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้ไม่คลุกคลีตีโมง หรือไม่
7. เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้มีความเพียร ไม่ใช่เพื่อความเกียจคร้านหรือไม่
8. เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้มีความอยู่แบบง่าย ๆ (เลี้ยงง่าย) หรือไม่

ถ้าหากวัดธรรมกาย มีคำสอน หรือ มีพฤติกรรมใด ๆ ที่ผิดจากหลักการ
ทั้ง 8 ข้อนี้ไปเพียงแม้ข้อเดียว ก็ถือได้ว่า วัดพระธรรมกายนั้นยังไม่ใช่วัดในพระพุทธศาสนา
จะต้องทำการแก้ไขคำสอนและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องถูกต้องเสียก่อน ถึงจะ
สามารถอ้างตัวเองได้ว่าพอจะเป็นวัดในพระพุทธศาสนาได้ (ทำให้ได้แค่นี้ก็พอแล้ว ไม่ต้องถึงกับ
อ้างตนว่าเป็นผู้นำทางพุทธศาสนาก็ได้)
แต่ถ้าหากวัดพระธรรมกายยังจะยืนยันคำสอนและข้อวัตรปฏิบัติของตนโดยไม่คำนึงถึงหลักธรรม
ที่เป็นเกณฑ์วินิจฉัยข้างต้น นั้นก็ย่อมสามารถทำได้ แต่วัดพระธรรมกายควรจะต้องทำการสถาปนา
ศาสนาขึ้นมาใหม่อีกศาสนาหนึ่ง เพื่อทำให้เป็นศาสนาของตนเองอย่างแท้จริง ชาวพุทธไม่เคยคิดหวง
แหนวิธีการเข้าถึงสัจจะ เพราะทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นของตนเอง
แต่ไม่ใช่การเล่นวิธีตู่ใช้พุทธศาสนาเอามาเป็นเครื่องหมายการค้าอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ทั้ง ๆ ที่ตนเอง
คัดค้านหลักการใหญ่ทางพุทธศาสนา การกระท่าเช่นนี้เท่ากับว่ามีเจตนาทำลายคำสอนพระพุทธศาสนา
ในขั้นรากฐานเลยทีเดียว (นิพพานเป็นอัตตา) ในกรณีถือว่าผู้ที่สติปัญญาชาวพุทธทั้งหลายควรจะต้อง
จะต้องมาช่วยกันแสดงความคิดเห็นให้ความจริงปรากกฏ ให้การศึกษาแก่ประชาชนให้มีความเข้าใจ
ต่อพุทธศาสนาอย่างถูกต้องต่อไป


ผมเอาหลักฐานมายันแล้วนะครับ ขอเชิญแสดงความคิดเห็นกันได้อย่างกว้างขวางได้เลย แต่ขอความกรุณา
ให้แสดงความคิดเห็นในเชิงเหตุผลสักหน่อยนะครับ เพื่อเป็นการแสวงหาความรู้ร่วมกัน เพราะถ้าหากแสดง
สุตตันต.เล่ม 23 ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ข้อ 298 หน้า 138 บรรทัด 11 ความคิดเห็นในแง่ความชอบหรือไม่ชอบแล้ว (ตามอารมณ์) ก็จะมีหลาย ๆ ฝ่ายเกิดโต้เถียงทะเลากันไปทะเลาะ
กันมา เสียบรรยากาศการเรียนรู้ไปเปล่า ๆ
ขอบคุณครับ

ใหญ่

จากคุณ : ใหญ่ - [24 ต.ค. 2541 11:30:19]